กลุ่มอาการสต็อกโฮล์ม

กลุ่มอาการสต็อกโฮล์ม (อังกฤษ: Stockholm syndrome) เป็นคำอธิบายถึงอาการอย่างหนึ่งที่ตัวประกันเกิดความสัมพันธ์ทางใจกับผู้ลักพาตัวในระหว่างการถูกกักขัง[1] ความสัมพันธ์ทางอารมณ์นี้เกิดขึ้นระหว่างผู้จับกับเชลยในช่วงเวลาที่ได้ใกล้ชิดกัน แต่นี่อาจถือได้ว่าไม่มีสัญญาณด้านอันตรายหรือเกิดความเสี่ยงอันตรายต่อเหยื่อ กลุ่มอาการสต็อกโฮล์มไม่อยู่ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์การวินิจฉัยความผิดปกติทางจิต เนื่องจากขาดการวิจัยเชิงวิชาการ[2][3] กลุ่มอาการนี่พบเห็นได้ยาก จากข้อมูลของระบบฐานข้อมูลการจับตัวประกัน ของสำนักงานสอบสวนกลาง และ Law Enforcement Bulletin ประเมินว่าพบการลักพาตัวประเภทนี้น้อยกว่า 5%[4]

อดีตอาคารที่ทำการของธนาคารเครดิทบังเคนในจัตุรัสนอร์มัล์มสตอร์ย สต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ที่เกิดเหตุ

คำนี้มีการใช้ครั้งแรกโดยสื่อมวลชนในปี ค.ศ. 1973 เมื่อมีการจับตัวประกัน 4 คนระหว่างเหตุปล้นธนาคารเครดิทบังเคน ที่ย่านนอร์มัล์มสตอร์ยของเมืองสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ตัวประกันได้ปกป้องผู้จับตัวพวกเขาหลังถูกปล่อยตัวและยังไม่ยอมเป็นพยานต่อศาลด้วย[2]

สี่องค์ประกอบสำคัญที่แสดงคุณลักษณะของกลุ่มอาการสต็อกโฮล์ม คือ

  • ตัวประกันมีความรู้สึกที่ดีต่อผู้จับตัว
  • ไม่มีความสัมพันธ์ก่อนหน้านี้ระหว่างตัวประกันและผู้จับตัว
  • ตัวประกันไม่ให้ความช่วยเหลือต่อตำรวจและเจ้าหน้าที่รัฐบาล (เว้นแต่ผู้จับตัวจะถูกตำรวจบังคับ)
  • ตัวประกันเห็นถึงมนุษยธรรมในผู้จับตัว เพราะพวกเขาไม่ได้ถูกคุกคาม เพียงอยู่ในฐานะเป็นผู้บุกรุก[5]

อ้างอิง แก้

  1. Jameson C (2010). "The Short Step From Love to Hypnosis: A Reconsideration of the Stockholm Syndrome". Journal for Cultural Research. 14 (4): 337–355. doi:10.1080/14797581003765309.
  2. 2.0 2.1 Adorjan, Michael; Christensen, Tony; Kelly, Benjamin; Pawluch, Dorothy (2012). "Stockholm Syndrome As Vernacular Resource". The Sociological Quarterly. 53 (3): 454–74. doi:10.1111/j.1533-8525.2012.01241.x. ISSN 0038-0253. JSTOR 41679728.
  3. Robinson, Ashley (28 February 2019). "What Is Stockholm Syndrome? Is It Real?". PrepScholar.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. Fuselier GD (July 1999). "Placing the Stockholm Syndrome in Perspective". FBI Law Enforcement Bulletin. 68: 22. ISSN 0014-5688 – โดยทาง Google Books.
  5. Sundaram CS (2013). "Stockholm Syndrome". Salem Press Encyclopedia – โดยทาง Research Starters.