กลุ่มภาษาฟินโน-เปอร์มิก

กลุ่มภาษาฟินโน-เปอร์มิก (อังกฤษ: Finno-Permic languages) เป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษายูรัล ที่ประกอบด้วยกลุ่มภาษาบอลติก-ฟินนิก กลุ่มภาษามอร์ดวินิก ภาษามารี กลุ่มภาษาซามี กลุ่มภาษาเปอร์มิก และภาษาสูญแล้วอีกจำนวนหนึ่ง คาดว่าภาษานี้แยกออกจากกลุ่มภาษาฟินโน-ยูกริก เมื่อราว 3,000–2,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช จากนั้นจึงแยกออกเป็นกลุ่มภาษาเปอร์มิกและกลุ่มภาษาฟินโน-โวลกาอิกในราว 2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช[1] ในปัจจุบันรายละเอียดของการจัดจำแนกภาษากลุ่มนี้ยังเป็นปัญหาอยู่[2][3]

กลุ่มภาษาฟินโน-เปอร์มิก
กลุ่มภาษาฟินนิก
(เสนอ)
กลุ่มเชื้อชาติ:กลุ่มชนฟินนิก
ภูมิภาค:ทางเหนือของเฟนโนสแคนเดีย, รัฐบอลติก, ภาคตะวันตกเฉียงใต้ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และเทือกเขายูรัลของรัสเซีย
การจําแนก
ทางภาษาศาสตร์
:
ยูรัล
กลุ่มย่อย:
กลอตโตลอก:None
{{{mapalt}}}
กลุ่มภาษาฟินโน-เปอร์มิก

คำว่ากลุ่มภาษาฟินนิกมักจะใช้เรียกกลุ่มภาษาฟินโน-เปอร์มิกนี้[4][1] ด้วยความเชื่อที่ว่ากลุ่มภาษาเปอร์มิกมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกลุ่มภาษาบอลติก-ฟินนิกมากกว่ากลุ่มภาษายูกริก ในขณะที่นักภาษาศาสตร์ชาวฟินแลนด์จะใช้คำว่ากลุ่มภาษาฟินนิกเมื่อกล่าวถึงกลุ่มภาษาบอลติก-ฟินนิก[5]

กลุ่มภาษาย่อย แก้

นักวิชาการจัดกลุ่มภาษาย่อยของกลุ่มภาษาฟินโน-เปอร์มิกไว้ต่างกัน โดยในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 การจัดอันดับส่วนใหญ่จัดแยกเป็นเปอร์มิกกับฟินโน-โวลกาอิก จากนั้นในคริสต์ศตวรรษที่ 21 Salminen ปฏิเสธแนวคิดฟินโน-เปอร์มิกและฟินโน-โวลกาอิกทั้งหมด[6] ส่วนการจัดแบบอื่นแบ่งกลุ่มภาษาฟินโน-เปอร์มิกออกเป็น 5 สาขา ดังนี้

Janhunen (2009)[7] Häkkinen (2007)[8] Lehtinen (2007)[9] Michalove (2002)[10] Kulonen (2002)[11]
  • เปอร์มิก
  • ฟินโน-เปอร์มิก
    • มารี
    • ฟินโน-ซามี
      • ซามี
      • ฟินโน-มอร์ดวิน
        • มอร์ดวิน
        • บัลโต-ฟินนิก และ พารา-ฟินนิก
  • มารี-เปอร์มิก
    • มารี
    • เปอร์มิก
  • ฟินโน-มอร์ดวิน
    • Finnic
    • ซามี
    • มอร์ดวิน
  • เปอร์มิก
  • ฟินโน-เปอร์มิก
    • มารี
    • มอร์ดวิน
    • ฟินโน-ซามี
      • ซามี
      • บัลโต-ฟินนิก
  • เปอร์มิก
  • มารี
  • ซามี
  • มอร์ดวิน
  • บัลโต-ฟินนิก
  • เปอร์มิก
  • มารี
  • มอร์ดวิน
  • ฟินโน-ซามี
    • ซามี
    • บัลโต-ฟินนิก


อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Taagepera, Rein (1999). The Finno-Ugric republics and the Russian state. pp. 32–33. ISBN 0-415-91977-0.
  2. Salminen, Tapani (2002). "Problems in the taxonomy of the Uralic languages in the light of modern comparative studies".
  3. Aikio, Ante (2019). "Proto-Uralic". ใน Bakró-Nagy, Marianne; Laakso, Johanna; Skribnik, Elena (บ.ก.). Oxford Guide to the Uralic Languages. Oxford, UK: Oxford University Press. pp. 1–4.
  4. "Finno-Ugric languages". Encyclopædia Britannica Online. 2013.
  5. See "The Finnic languages" by Johanna Laakso in The Circum-Baltic languages: typology and contact, p. 180.
  6. Salminen, Tapani (2007). "Europe and North Asia". ใน Christopher Moseley (บ.ก.). Encyclopedia of the world's endangered languages. London: Routlegde. pp. 211–280.
  7. Janhunen, Juha (2009). "Proto-Uralic—what, where and when?" (PDF). ใน Jussi Ylikoski (บ.ก.). The Quasquicentennial of the Finno-Ugrian Society. Suomalais-Ugrilaisen Seuran Toimituksia 258. Helsinki: Société Finno-Ougrienne. ISBN 978-952-5667-11-0. ISSN 0355-0230.
  8. Jaakko, Häkkinen (2007). Kantauralin murteutuminen vokaalivastaavuuksien valossa (วิทยานิพนธ์ Master's) (ภาษาฟินแลนด์). Helsingfors universitet. hdl:10138/19684. แม่แบบ:URN.
  9. Lehtinen, Tapani (2007). Kielen vuosituhannet. Tietolipas. Vol. 215. Suomalaisen Kirjallisuuden Seura. ISBN 978-951-746-896-1.
  10. Michalove, Peter A. (2002) The Classification of the Uralic Languages: Lexical Evidence from Finno-Ugric. In: Finnisch-Ugrische Forschungen, vol. 57
  11. Kulonen, Ulla-Maija (2002). "Kielitiede ja suomen väestön juuret". ใน Grünthal, Riho (บ.ก.). Ennen, muinoin. Miten menneisyyttämme tutkitaan. Tietolipas. Vol. 180. Suomalaisen Kirjallisuuden Seura. pp. 104–108. ISBN 978-951-746-332-4.

อ่านเพิ่ม แก้

  • Abondolo, Daniel, บ.ก. (1998). The Uralic Languages. London and New York. ISBN 0-415-08198-X.