กลุ่มภาษากะเหรี่ยง

กลุ่มภาษากะเหรี่ยง เป็นภาษามีวรรณยุกต์ที่พูดโดยชาวกะเหรี่ยงประมาณ 4.5 ล้านคน[2] โดยเป็นภาษาที่ไม่ชัดเจนว่าอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบตหรือไม่[3] กลุ่มภาษากะเหรี่ยงเขียนด้วยอักษรกะเหรี่ยง[4] กลุ่มภาษานี้แบ่งออกเป็นสามสาขาหลักคือสะกอ, โป และปะโอ โดยภาษากะเหรี่ยงแดง (มีอีกชื่อว่ากะยา) และกะยัน (มีอีกชื่อว่าปะด่อง) เป็นสาขาในกลุ่มภาษากะเหรี่ยง กลุ่มภาษานี้กับภาษาไป๋และกลุ่มภาษาจีนเรียงลำดับคำเป็นประธาน–กริยา–กรรม ซึ่งต่างจากตระกูลภาษาจีน-ทิเบตที่เรียงลำดับคำเป็นประธาน–กรรม–กริยา[5] การเรียงลำดับคำของกลุ่มภาษานี้น่าจะได้รับอิทธิพลจากภาษามอญและกลุ่มภาษาไท[6]

กลุ่มภาษากะเหรี่ยง
กลุ่มเชื้อชาติ:ชาวกะเหรี่ยง
ภูมิภาค:ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของพม่าและภาคตะวันตกของไทย
การจําแนก
ทางภาษาศาสตร์
:
จีน-ทิเบต
  • Tibeto-Burman
    • กลุ่มภาษากะเหรี่ยง
ภาษาดั้งเดิม:กะเหรี่ยงดั้งเดิม
กลุ่มย่อย:
ISO 639-2 / 5:kar
กลอตโตลอก:kare1337[1]
{{{mapalt}}}

การจัดอันดับ แก้

กลุ่มภาษากะเหรี่ยงแบ่งเป็นภาษาย่อยได้ 8 ภาษา คือ[7]

นอกจากนี้ยังมีภาษากะเหรี่ยงสำเนียงอื่น ๆ อีก เช่น

  • ภาษากะเหรี่ยงปะโอ
  • ภาษากะยัน มีเสียงพยัญชนะต้น 22 เสียง เป็นตัวสะกดได้ 7 เสียง เสียงควบกล้ำมี 3 เสียง คือ l r w สระมี 13 เสียง และวรรณยุกต์ 4 เสียง[8]
  • ภาษากะเหรี่ยงปากู (Paku Karen; ISO 639-3: kpp) มีผู้พูดในพม่า 5,300 คน (พ.ศ. 2526) ในบริเวณเนินเขาทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐกะเหรี่ยง เขียนด้วยอักษรพม่า เรียงประโยคแบบประธาน-กริยา-กรรม
  • ภาษากะเหรี่ยงมานูมาเนา (Manumanaw Karen; ISO 639-3: kxf) มีผู้พูดทั้งหมด 10,000 คน (พ.ศ. 2543) ในบริเวณกเยโบคยีตะวันตกในรัฐกะยา
  • ภาษากะเหรี่ยงยินตาเล (Yintale Karen; ISO 639-3: kvy) หรือภาษาตาเลียก ภาษายางาตาเลต มีผู้พูดทั้งหมด 10,000 คน (พ.ศ. 2543) ในรัฐกะยา ประเทศพม่า
  • ภาษากะเหรี่ยงยินเบา (Yinbaw Karen; ISO 639-3: kvu) มีผู้พูดทั้งหมด 7,300 คน (พ.ศ. 2546) ในบริเวณที่ราบสูงทางตะวันออกของรัฐฉาน ประเทศพม่า
  • ภาษากะเหรี่ยงเบรก (Brek Karen; ISO 639-3: kvl) มีผู้พูดทั้งหมด 16,600 คน (พ.ศ. 2526) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐกะยา เขียนด้วยอักษรละติน
  • ภาษากะเหรี่ยงเฆบา (Geba Karen; ISO 639-3: kvq) หรือภาษากะเหรี่ยงขาว มีผู้พูดทั้งหมด 10,000 คน (พ.ศ. 2543) ในทางตอนเหนือของรัฐกะเหรี่ยงและทางใต้ของรัฐฉาน เขียนด้วยอักษรละตินหรืออักษรพม่า
  • ภาษากะเหรี่ยงซายีน (Zayein Karen; ISO 639-3: kxk) มีผู้พูดทั้งหมด 9,300 คน (พ.ศ. 2526) ทางใต้ของรัฐฉาน
  • ภาษากะเหรี่ยงบเว (Bwe Karen ISO 639-3: bwe) มีผู้พูดในพม่า 15,700 คนเมื่อ พ.ศ. 2526 ในรัฐกะเหรี่ยง เขียนด้วยอักษรละตินและอักษรพม่า

การเขียน แก้

อักษรที่ใช้เขียนภาษากลุ่มกะเหรี่ยงมี 3 แบบด้วยกันดังนี้[9]

  • อักษรไก่เขี่ย (Chicken-scratch; ภาษากะเหรี่ยง: lix hsau waiv หลิ ชอ แหว) เป็นอักษรพื้นเมืองที่ประดิษฐ์โดยชาวกะเหรี่ยงเอง ไม่ได้คัดลอกจากอักษรของชนชาติใด ใช้บันทึกประวัติศาสตร์และบทเพลงภาษากะเหรี่ยง ไม่เคยมีการใช้ในประเทศไทย
  • อักษรที่มาจากอักษรพม่าหรืออักษรมอญ (ภาษากะเหรี่ยง: lix wa หลิ วา) หรืออักษรขาว เป็นอักษรที่ใช้มากในพม่าและไทยทั้งกะเหรี่ยงพุทธและกะเหรี่ยงคริสต์ แต่เริ่มเป็นที่เข้าใจยากในหมู่เยาวชน ตัวอย่างเช่น อักษรกะยา
  • อักษรโรมัน (Romei โรเม) ประดิษฐ์โดยบาทหลวงเอ็ดเวิร์ด กาลมอง มิชชันนารีนิกายโปรแตสแตนท์ ที่เข้าไปเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในพม่าเมื่อราว พ.ศ. 2473 และแพร่หลายเข้าสู่ประเทศไทย บาทหลวงเซกีนอต มิชชันนารีนิกายโรมันคาทอลิกจากฝรั่งเศส นำมาเผยแพร่ต่อในประเทศไทย และเขียนแบบเรียนภาษากะเหรี่ยงด้วยอักษรนี้ ใน พ.ศ. 2497 มีการเรียนการสอนภาษากะเหรี่ยงด้วยอักษรโรมันครั้งแรกในโรงเรียนบ้านแม่ปอน อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ และมีการเผยแพร่ไปในหมู่ชาวกะเหรี่ยงคริสต์ในเขตภาคเหนือตอนบน
  • อักษรไทย มีการนำอักษรไทยไปใช้เขียนภาษากะเหรี่ยงโปสำหรับชาวกะเหรี่ยงโปในประเทศไทย โดยใช้รูปพยัญชนะไทยทั้งสิ้น 24 ตัว คือ ก ค ฆ ง จ ช ซ ย ฌ ด ต ท น บ ป พ ม ซย ย ร ล ว อ ฮ[10]

อ้างอิง แก้

  1. Nordhoff, Sebastian; Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin, บ.ก. (2013). "Karenic". Glottolog 2.2. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.
  2. 2.0 2.1 Eberhard, David M.; Simons, Gary F.; Fennig, Charles D., บ.ก. (2019). Ethnologue: Languages of the World (22nd ed.). Dallas, Texas: SIL International.
  3. Graham Thurgood, Randy J. LaPolla (2003). The Sino-Tibetan Languages. Routledge. ISBN 0-7007-1129-5.
  4. "Burmese/Myanmar script and pronunciation". Omniglot.com. สืบค้นเมื่อ 2015-05-05.
  5. "The Sino-Tibetan Language Family". Berkeley.edu. สืบค้นเมื่อ 2015-05-05.
  6. Matisoff, James A. (1991). "Sino-Tibetan Linguistics: Present State and Future Prospects". Annual Review of Anthropology. Annual Reviews Inc. 20: 469–504. doi:10.1146/annurev.an.20.100191.002345.
  7. เรืองเดช ปันเขื่อนขัติย์. ภาษาถิ่นตระกูลไทย. กทม. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชนบทมหาวิทยาลัยมหิดล. 2531.
  8. สมทรง บุรุษพัฒน์และสรินยา คำเมือง. สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์: กะเหรี่ยงกะยัน. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท. มหาวิทยาลัยมหิดล. 2542
  9. โยเซฟ เซกีมอต. พจนานุกรมปกาเกอะญอ-ไทย-ฝรั่งเศส-อังกฤษ. กทม. หน้าต่างสู่โลกกว้าง. 2549
  10. ผันพยัญชนะไทยเป็นภาษากะเหรี่ยงจุดเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้ภาษาไทย. ผู้จัดการรายวัน. (1 ตุลาคม, 2547) หน้า 43
  • George van Driem (2001) Languages of the Himalayas: An Ethnolinguistic Handbook of the Greater Himalayan Region. Brill.

อ่านเพิ่ม แก้

การสร้างคำใหม่

  • Jones, Robert B. Jr. 1961. Karen linguistic studies: Description, comparison, and texts. University of California Publications in Linguistics 25. Berkeley and Los Angeles: University of California Press.
  • Luangthongkum, Theraphan. 2013. A view on Proto-Karen phonology and lexicon. Unpublished ms. contributed to STEDT.

รายชื่อคำศัพท์

  • Shintani, Tadahiko. 2014. The Zayein language. Linguistic survey of Tay cultural area (LSTCA) no. 102. Tokyo: Research Institute for Languages and Cultures of Asia and Africa (ILCAA).
  • Shintani, Tadahiko. 2015. The Kadaw language. Linguistic survey of Tay cultural area (LSTCA) no. 106. Tokyo: Research Institute for Languages and Cultures of Asia and Africa (ILCAA).
  • Shintani, Tadahiko. 2016. The Nangki language. Linguistic survey of Tay cultural area (LSTCA) no. 109. Tokyo: Research Institute for Languages and Cultures of Asia and Africa (ILCAA).

แหล่งข้อมูลอื่น แก้