กลุ่มประเทศนอร์ดิก (อังกฤษ: Nordic countries) หรือรวมเรียกเป็นภูมิภาคนอร์ดิก (Nordic region; Norden, แปลว่า เหนือ)[2] หมายถึงภูมิภาคในยุโรปเหนือ ประกอบด้วย เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน และดินแดนปกครองตนเองในสังกัดประเทศเหล่านั้นสามแห่ง ได้แก่ กรีนแลนด์ (เดนมาร์ก) หมู่เกาะแฟโร (เดนมาร์ก) และหมู่เกาะโอลันด์ (ฟินแลนด์) ประเทศในกลุ่มนอร์ดิกมีประวัติศาสตร์ร่วมกันมายาวนาน และมีสิ่งต่าง ๆ ที่คล้ายคลึงกันในสังคม เช่น ระบบการเมืองการปกครอง กลุ่มนอร์ดิกมีประชากรรวมกันราว 24 ล้านคน

กลุ่มประเทศนอร์ดิก

ดินแดนในกลุ่มประเทศนอร์ดิก (เขียวเข้ม)
ดินแดนในกลุ่มประเทศนอร์ดิก (เขียวเข้ม)
เมืองหลวง
ภาษาราชการ
ส่วนประกอบ5 รัฐเอกราช

2 ดินแดนปกครองตนเอง


1 แคว้นปกครองตนเอง


2 พื้นที่ที่ไม่ได้ควบคุม


3 ดินแดน

ก่อตั้ง
• พิธีเปิดสภานอร์ดิก
12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1953
23 มีนาคม ค.ศ. 1962
กรกฎาคม ค.ศ. 1971
พื้นที่
• รวม
3,425,804 ตารางกิโลเมตร (1,322,710 ตารางไมล์) (อันดับที่ 7)
ประชากร
• 2019 ประมาณ
27,359,000 (อันดับที่ 49)
• สำมะโนประชากร 2000
24,221,754
7.62 ต่อตารางกิโลเมตร (19.7 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 225)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2019 (ประมาณ)
• รวม
1.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[1] (อันดับที่ 19)
58,000 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 13)
จีดีพี (ราคาตลาด) 2019 (ประมาณ)
• รวม
1.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 11)
58,000 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 10)
สกุลเงิน
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์
รายการ
  • +45 (เดนมาร์ก)
  • +46 (สวีเดน)
  • +47 (นอร์เวย์)
  • +298 (หมู่เกาะแฟโร)
  • +299 (กรีนแลนด์)
  • +354 (ไอซ์แลนด์)
  • +358 (ฟินแลนด์)
  • +358 18 (หมู่เกาะโอลันด์)

คำว่านอร์ดิก มาจากภาษาฝรั่งเศสว่า Pays Nordiques ซึ่งเทียบเท่ากับคำภาษาท้องถิ่นว่า Norden (ภาษากลุ่มสแกนดิเนเวียสวีเดน นอร์เวย์ เดนมาร์ก) Pohjola/Pohjoismaat (ภาษาฟินแลนด์) และ Norðurlönd (ภาษาไอซ์แลนด์และภาษาแฟโร) โดยมีความหมายว่า (ดินแดนทาง)ทิศเหนือ ปัจจุบัน มีการใช้คำว่าสแกนดิเนเวีย ในความหมายของกลุ่มนอร์ดิกในภาษาอังกฤษ[3] ซึ่งส่งผลมาถึงการใช้ในภาษาไทยด้วยเช่นกัน

กลุ่มนอร์ดิกมีความสัมพันธ์กันในทางการเมือง ในองค์กรที่เรียกว่าคณะมนตรีนอร์ดิก ในระยะหลัง ประเทศเอสโตเนียได้วางภาพตัวเองเป็นประเทศนอร์ดิก[4] แต่โดยทั่วไปแล้วมักถือว่าเอสโตเนียเป็นรัฐบอลติก เอสโตเนียมีความใกล้ชิดทางด้านภาษา เชื้อชาติ และวัฒนธรรมกับฟินแลนด์ และมีความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนจำนวนมากกับกลุ่มประเทศนอร์ดิก

ประวัติศาสตร์โครงสร้างทางการเมือง แก้

คริสต์ศตวรรษที่ ประวัติศาสตร์การเมืองของกลุ่มนอร์ดิก
21 เดนมาร์ก (อียู) หมู่เกาะแฟโร (เดนมาร์ก) ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน (อียู) ฟินแลนด์ (อียู)
20 เดนมาร์ก สวีเดน ฟินแลนด์
19 เดนมาร์ก สหราชอาณาจักรสวีเดน-นอร์เวย์ ราชรัฐฟินแลนด์
18 เดนมาร์ก-นอร์เวย์ สวีเดน
17
16
15 สหภาพคาลมาร์
14 เดนมาร์ก ราชอาณาจักรเก่านอร์เวย์ (Hereditary Kingdom of Norway) ราชอาณาจักรเก่านอร์เวย์

(Hereditary Kingdom of Norway)

สวีเดน
13
12 เครือจักรภพไอซ์แลนดิค
11 เดนมาร์ก
ชาวนอร์ดิก ชาวเดนมาร์ก ชาวแฟโร ชาวไอซ์แลนด์ ชาวนอร์เวย์ ชาวสวีเดน ชาวฟินแลนด์

สหภาพหนังสือเดินทางนอร์ดิก แก้

สหภาพหนังสือเดินทางนอร์ดิก (อังกฤษ: Nordic Passport Union) เริ่มตั้งในปีพ.ศ. 2497 และมีผลบังคับใช้ในปีพ.ศ. 2501 อนุญาตให้พลเมืองของประเทศกลุ่มนอร์ดิก ได้แก่ เดนมาร์ก (หมู่เกาะแฟโรเข้าร่วมปีพ.ศ. 2509 ไม่รวมกรีนแลนด์) สวีเดน นอร์เวย์ (ไม่รวมสฟาลบาร์ ยานไมเอน บูเวต ดรอนนิงเมาด์ลันด์) ฟินแลนด์ และไอซ์แลนด์ (เข้าร่วมพ.ศ. 2508) ข้ามพรมแดนโดยไม่ต้องพกหรือตรวจหนังสือเดินทาง พลเมืองชาติอื่น ๆ สามารถเดินทางข้ามพรมแดนได้โดยไม่ต้องตรวจหนังสือเดินทาง แต่ต้องพกพาหนังสือเดินทางหรือเอกสารอนุญาตอื่น ๆ

ธงนอร์ดิก แก้

 
ธงของประเทศในกลุ่มนอร์ดิก

ประเทศทั้งหมดในกลุ่มนอร์ดิก รวมถึงสองดินแดนปกครองตนเองอย่างหมู่เกาะแฟโรและหมู่เกาะโอลันด์ มีลักษณะธงที่ใกล้เคียงกัน คือเป็นธงที่มีรูปกากบาทที่มีจุดตัดเยื้องไปทางด้านเสาธง ที่เรียกว่าธงกากบาทแบบนอร์ดิก (หรือแบบสแกนดิเนเวีย) ธงของกรีนแลนด์และชาวซามิ (ชนพื้นเมืองในแลปแลนด์) ไม่ได้เป็นรูปกากบาท แต่เป็นรูปวงกลม

               
เดนมาร์ก หมู่เกาะแฟโร ฟินแลนด์ (ธง) ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน โอลันด์ สฟาลบาร์
   
กรีนแลนด์ ชาวซามิ

ผู้นำประเทศในกลุ่มนอร์ดิก แก้

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Report for Selected Countries and Subjects". www.imf.org.
  2. "The next supermodel". The Economist. 2 February 2013. ISSN 0013-0613. สืบค้นเมื่อ 15 October 2016.
  3. Nordic FAQ - 2 of 7 - NORDEN (อังกฤษ)
  4. Andrew Cave, Finding a Role in an Enlarged EU เก็บถาวร 2007-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Central Europe Review (อังกฤษ)

อ่านเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้