กลุ่มชาติพันธุ์ในอินโดนีเซีย

การรวมชาติพันธุ์จำนวนมากในประเทศอินโดนีเซีย

ในประเทศอินโดนีเซีย มีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 300 ชนเผ่า โดย 95% เป็นชาวอินโดนีเซีย โดยกำเนิด ชาวชวา เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุด ในประเทศ ซึ่งมีสัดส่วนมากเกือบๆ 52% ของสัดส่วนประชากร ชาวชวามีศูนย์กลางอยู่ที่เกาะชวา แต่มีชาวชวามากกว่าล้านคน ไปตั้งถิ่นฐานตามหมู่เกาะต่างๆในประเทศอินโดนีเซีย เพราะการอพยบเคลื่อนย้าย นอกจากชาวชวาแล้ว ยังมีชาวซุนดา, มลายู และชาวมาดูรา เรียงตามลำดับสัดส่วนขอประชากร ยังมีกลุ่มชาติพันธุ์เฉพาะแยกย่อยไปอีกเป็นจำนวนมากใน เกาะกาลีมันตัน และเกาะนิวกินี มีเพียงร้อยคน ต่อสัดส่วนจำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศ

กลุ่มชาติพันธุ์ ประชากร (ล้านคน) ร้อยละของประชากรทั้งหมด ภูมิภาคที่พบเป็นหลัก
ชาวชวา 95.217[1] 42.00 จังหวัดชวากลาง, จังหวัดชวาตะวันออก, ยกยาการ์ตา, จาการ์ตา, จังหวัดสุมาตราเหนือ, จังหวัดสุมาตราใต้, จังหวัดเบิงกูลู, จังหวัดลัมปุง
ชาวซุนดา 30.978 15.41 จังหวัดชวาตะวันออก,จังหวัดบันเติน,จาการ์ตาร์,ลัมปุง
ชาวมลายู 6.946 3.45 จังหวัดสุมาตราเหนือ, จังหวัดเรียว, หมู่เกาะเรียว, จังหวัดจัมบี, จังหวัดสุมาตราใต้, หมู่เกาะบังกา-เบอลีตุง, จังหวัดกาลีมันตันตะวันตก
ชาวมาดูรา 6.772 3.37 เกาะมาดูรา, ชวาตะวันออก
ชาวบาตัก 6.076 3.02 จังหวัดสุมาตราเหนือ, จังหวัดเรียว, จาการ์ตา
มีนังกาเบา 5.475 2.72 จังหวัดสุมาตราตะวันตก, จังหวัดเรียว
ชาวเบอตาวี 5.042 2.51 จาการ์ตา, จังหวัดบันเติน, จังหวัดชวาตะวันตก
บูกิส 5.010 2.49 จังหวัดซูลาเวซีใต้, จังหวัดซูลาเวซีตะวันออกเฉียงใต้, จังหวัดซูลาเวซีกลาง, จังหวัดกาลีมันตันตะวันออก
ชาวอาเจะฮ์ 4.419 2.05 จังหวัดอาเจะฮ์
ชาวบันเติน 4.113 2.05 จังหวัดบันเติน
ชาวบันจาร์ 3.496 1.74 จังหวัดกาลีมันตันใต้, จังหวัดกาลีมันตันตะวันออก
ชาวบาหลี 3.028 1.51 จังหวัดบาหลี
Tionghoa 2.832 1.20 จังหวัดสุมาตราเหนือ, จังหวัดเรียว, หมู่เกาะเรียว, จังหวัดกาลีมันตันตะวันตก, จาการ์ตา, หมู่เกาะบังกา-เบอลีตุง
ซาซัค 2.611 1.17 จังหวัดนูซาเติงการาตะวันตก
ชาวมากัซซาร์ 1.982 0.99 จังหวัดซูลาเวซีใต้
Minahasan 1.900 0.96 จังหวัดซูลาเวซีเหนือ
ชาวจีเรอบน 1.890 0.94 จังหวัดชวาตะวันตก, จังหวัดชวากลาง

อ้างอิง แก้

  1. Kewarganegaraan, Suku Bangsa, Agama dan Bahasa Sehari-hari Penduduk Indonesia - Hasil Sensus Penduduk 2010. Badan Pusat Statistik. 2011. ISBN 978-979-064417-5.