กรีนแลนด์[6] (อังกฤษ: Greenland) หรือ กะลาลิตนูนาต[6] (กรีนแลนด์: Kalaallit Nunaat; เดนมาร์ก: Grønland, ออกเสียง: [ˈkʁɶnˌlænˀ]) เป็นดินแดนทางเหนือสุดของโลก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอาร์กติกและเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นที่ประมาณ 2,175,900 ตารางกิโลเมตร มีฐานะเป็นดินแดนปกครองตนเองของประเทศเดนมาร์ก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2499

กรีนแลนด์

Kalaallit Nunaat (กรีนแลนด์)
Grønland (เดนมาร์ก)
ตราแผ่นดินของกรีนแลนด์
ตราแผ่นดิน
เพลงชาติ"นูนาร์ปุต อูต็อกการ์ซูวังงอราวิต"
"Nunarput, utoqqarsuanngoravit" (กรีนแลนด์)
"คุณคือผืนดินเก่าแก่ของพวกเรา"

เพลงชาวกะลาลลิต:
"นูนา อาซิลาซุก"
"Nuna asiilasooq" (กรีนแลนด์)
"ดินแดนแห่งความยิ่งใหญ่"
[a]
ที่ตั้งของกรีนแลนด์
ที่ตั้งของกรีนแลนด์
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
นุก
ภาษาราชการภาษากรีนแลนด์[b]
กลุ่มชาติพันธุ์
(พ.ศ. 2563[5])
สถานะชนพื้นเมือง:[4]

ไม่ใช่ชนพื้นเมือง:

ศาสนา
คริสต์ (คริสตจักรแห่งกรีนแลนด์)
การปกครองรัฐบาลภายใต้ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและระบบรัฐสภาตามหลักการกระจายอำนาจ
สมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริกที่ 10
Múte Bourup Egede
สภานิติบัญญัติรัฐสภากรีนแลนด์
เอกราชปกครองตนเอง จากเดนมาร์ก
25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
พื้นที่
• รวม
2,166,086 ตารางกิโลเมตร (836,330 ตารางไมล์)
83.1
ประชากร
• 1 มกราคม 2562 ประมาณ
55,992 (207)
0.025 ต่อตารางกิโลเมตร (0.1 ต่อตารางไมล์) (230)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2544 (ประมาณ)
• รวม
1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (192)
20,000 ดอลลาร์สหรัฐ (52)
เอชดีไอ (2013)0.803
สูงมาก
สกุลเงินโครนเดนมาร์ก (DKK)
เขตเวลาUTC0 to -4
รหัสโทรศัพท์299
โดเมนบนสุด.gl
ปี พ.ศ. 2543: เนื้อที่ 410,449 ตารางกิโลเมตร (158,433 ตารางไมล์) ไม่มีน้ำแข็งปกคลุม ส่วนเนื้อที่ 1,755,637 ตารางกิโลเมตร (677,676 ตารางไมล์) ถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็ง

ประวัติศาสตร์ แก้

ในสมัยช่วงศตวรรษที่ 10 - 11 ได้มีพวกไวกิงจากแถบสแกนดิเนเวียอพยพถิ่นอาศัย จนกลายเป็นเมืองขึ้นของเดนมาร์ก ต่อมา กรีนแลนด์ได้รับสิทธิปกครองตนเองจากเดนมาร์กเมื่อปี 1979 โดยมีอำนาจปกครองตนเองในทุกๆ ด้านยกเว้นด้านการต่างประเทศและการทหารเช่นเดียวกับหมู่เกาะแฟโร

การเมือง แก้

ปัจจุบันกรีนแลนด์มีรัฐบาลปกครองตนเอง โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลมาตั้งแต่ ค.ศ. 1979 โดยได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลเดนมาร์ก โดยมีพระมหากษัตริย์คือ สมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริกที่ 10 แห่งเดนมาร์ก

ภูมิศาสตร์ แก้

กรีนแลนด์เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก และตั้งอยู่ทางทิศเหนือบริเวณที่แอตแลนติกพบกับมหาสมุทรอาร์ติค ซึ่งในปัจจุบันกลายเป็นน้ำแข็งไปหมดแล้ว และมีทะเลล้อมรอบเกาะอยู่ ดังนั้นชายฝั่งจะมีอุณหภูมิต่ำอยู่ตลอดเวลา และด้วยสภาพที่ตั้งจึงทำให้ภูมิอากาศของกรีนแลนด์เป็นภูมิอากาศหนาวเย็นแบบอาร์คติก

แผ่นน้ำแข็งมีอาณาเขตกว้างปกคุลุมถึง 1,833,900 ตารางกิโลเมตร เท่ากับ พื้นที่ทั้งหมด 85 เปอร์เซ็นของพื้นที่ทั้งหมดของกรีนแลนด์และขยายไปจนถึง 2,500 กิโลเมตร จากทางเหนือจรดทางใต้ และกว้างกว่า 1,000 กิโลเมตรจากทางตะวันออกไปทางตะวันตก ทางตอนกลางของเกาะ มีแผ่นน้ำแข็งที่มีความหนามากกว่า 3 กิโลเมตรและ ถือได้ว่าเป็น 10 เปอร์เซ็นของพื้นที่ทั้งหมด

การขนส่ง แก้

มีสนามบินหลักสองแห่ง คือนาร์ซาร์สวก (Mittarfik Narsarsuaq) ซึ่งอยู่ทางใต้ของประเทศ และคางเกอร์ลูสซวก (Mittarfik Kangerlussuaq) ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกกลางของประเทศ

ประชากร แก้

กรีนแลนด์มีประชากรราว 56,370 คน (ปี ค.ศ. 2013)[7] ประกอบด้วยชาวอินูอิต 88% (รวมทั้งผู้เป็นลูกผสม) และชาวยุโรป 12% ซึ่งโดยมากเป็นชาวเดนมาร์ก ภาษาหลักคือ กรีนแลนด์ (kalaallisut หรือ grønlandsk) และเดนมาร์ก (dansk) โดยประชากรส่วนใหญ่พูดได้ทั้งสองภาษา ศาสนาที่ประชากรโดยมากนับถือ คือ ศาสนาคริสต์ นิกายลูเทอแรน ถึงแม้เกาะกรีนแลนด์จะเป็นเกาะใหญ่ แต่ประชากรก็อาศัยได้เฉพาะบางพื้นที่เท่านั้น เนื่องจากเกาะนี้มีน้ำแข็งปกคลุมอยู่มาก

ศาสนา แก้

ศาสนาคริสต์ (คริสตจักรแห่งกรีนแลนด์) และความเชื่อของชาวอินูอิต

การปกครองตนเอง แก้

กรีนแลนด์ได้มีการลงประชามติเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 มีประชาชนออกมาใช้สิทธิ์ประมาณ 39,000 คน โดยผลการลงประชามติประกาศในวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ตอนเช้า ปรากฏว่าร้อยละ 75.54 เห็นด้วย ขณะที่ร้อยละ 23.57 ไม่เห็นด้วย โดยจะมีผลรับรองในวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552 โดยมีสิทธิและเสรีภาพเต็ม พ้นจากประเทศเดนมาร์ก โดยสามารถขยายอำนาจการปกครองไปยังพื้นที่ใหม่ ๆ และสามารถบริหารแหล่งทรัพยากรธรรมชาติใต้ท้องทะเล ซึ่งคาดว่ามีน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเป็นจำนวนมาก รวมถึงดูแลความรับผิดชอบด้านความยุติธรรม หน้าที่ของตำรวจและกิจการต่างประเทศ แต่ไม่มีสิทธิในการทหาร

ทั้งนี้ นายลาร์ส-เอมีล โจฮันเซน นายกรัฐมนตรีกรีนแลนด์ ซึ่งปกครองเกาะระหว่างปี 2534-2540 และพยายามให้กรีนแลนด์มีบทบาทกึ่งปกครองตนเอง เมื่อปี 2542 ให้สัมภาษณ์ว่า หากประชาชนเห็นชอบก็ถือเป็นเรื่องที่ดีต่อประเทศชาติที่ต่อไปประชาชนก็คือชาวกรีนแลนด์ มีภาษาเป็นของตนเอง มีสิทธิ์ตัดสินใจด้วยตนเอง

ดูเพิ่ม แก้

หมายเหตุ แก้

  1. นูนา อาซิลาซุก (Nuna asiilasooq) มีสถานะเท่าเทียมกันในฐานะเพลงประจำภูมิภาคแต่โดยทั่วไปจะใช้เฉพาะในกรีนแลนด์เท่านั้น[1]
  2. ภาษากรีนแลนด์เป็นภาษาราชการเพียงภาษาเดียวในกรีนแลนด์ตั้งแต่ พ.ศ. 2552[2][3]

อ้างอิง แก้

  1. "03EM/01.25.01-50 Spørgsmål til Landsstyret: Hvornår fremsætter Landsstyret beslutning om Grønlands" [03EM/01.25.01-50 Questions to the Home Rule Government: When does the Home Rule Government make a decision on Greenland]. Government of Greenland. 7 October 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 December 2014. สืบค้นเมื่อ 13 December 2014.
  2. (ในภาษาเดนมาร์ก) TV 2 Nyhederne – "Grønland går over til selvstyre" เก็บถาวร 2023-08-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน TV 2 Nyhederne (TV 2 News) – Ved overgangen til selvstyre, er grønlandsk nu det officielle sprog. Retrieved 22 January 2012.
  3. (ในภาษาเดนมาร์ก) Law of Greenlandic Selfrule เก็บถาวร 8 กุมภาพันธ์ 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (see chapter 7)
  4. "Bekendtgørelse af ILO-konvention nr. 169 af 28. juni 1989 vedrørende oprindelige folk og stammefolk i selvstændige stater". Retsinformation.dk (ภาษาเดนมาร์ก). 9 October 1997.
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ cia.gov
  6. 6.0 6.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  7. Greenland in Figures 2013 (PDF). Statistics Greenland. ISBN 978-87-986787-7-9. ISSN 1602-5709. สืบค้นเมื่อ 2 September 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้