กระบวนการกระจกเปียก

กระบวนการกระจกเปียก เป็นผลมาจากการทดลองใช้กระจกเป็นวัตถุรองรับในการถ่ายภาพ แทนแผ่นเพลทที่เป็นโลหะ โดยช่างแกะสลักชาวลอนดอน ชื่อ เฟรดเดอริค สก็อต อาร์เชอร์ (Frederick Scott Archer) ได้ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการทาบอลไทพ์ช่วยในการแกะสลักน้องสาวของของเขาให้เหมือนจริงมากขึ้น

โดยการทดลองใช้วัสดุที่เรียกว่า "กัน คอตตอน" ละลายในแอลกอฮอล์และอีเธอร์ ซึ่งจะได้สารละลายที่เรียกว่า "โคโลเดียน" (Collodion) มีชื่อทางเคมีว่า "เซลลูโลสไนเตรต" ซึ่งทหารนำมาใช้ในการห้ามเลือดจากบาดแผลในสงคราม ซึ่งอาร์เชอร์ได้นำสารโคโลเดียนมาฉาบลงบนกระจกและจุ่มเพลทกะจกลงในสารละลายเงินไนเตรทอีกครั้งก่อนจะนำไปถ่ายภาพในขนะที่เพลทยังเปียกอยู่ (ขั้นตอนนี้ทำในห้องมืด) อาร์เชอร์พบว่าถ้ารอให้กระจกแห้งความไวแสงจะสูญเสียไปมาก แต่ถ้าถ่ายขณะที่เพลทยังเปียกอยู่จะใช้เวลาถ่ายน้อยกว่า 3นาที จากนั้นนำไปผ่านกระบวนการสร้างภาพด้วยการนำไปล้างในน้ำยา ไพโรแกลลิกแอซิด (Pyrogallic Acid) หรือ เฟอรัสซัลเฟต (FerrousSulphate) (ขั้นตอนนี้ทำในห้องมืด) จากนั้นนำไปคงภาพด้วยน้ำยาไฮโป

เนื่องจากต้องถ่ายภาพขณะที่เพลทไวแสงยังเปียกอยู่จึงนิยมเรียกกระบวนการนี้ว่า กระบวนการกระจกเปียก (Wet Collodion Process On Glass) ซึ่งได้รับความนิยมนานถึง 30 ปี ซึ่งในการถ่ายนอกสถานที่ช่างภาพจะต้องนำกระโจมห้องมืด ขวดน้ำยาและเพลทกระจกและอุปกรณืที่จำเป็นอย่างอื่นไปด้วย