กระดูกเอทมอยด์ (อังกฤษ: ethmoid bone; กรีก: ethmos แปลว่า ตะแกรง) เป็นกระดูกที่ประกอบเป็นกะโหลกศีรษะซึ่งกั้นระหว่างโพรงจมูก (nasal cavity) และสมอง (brain) ตั้งอยู่ที่เพดานของจมูก ระหว่างเบ้าตาทั้งสองข้าง กระดูกชิ้นนี้มีน้ำหนักเบาเนื่องจากมีโครงสร้างเป็นกระดูกเนื้อโปร่ง

กระดูกเอทมอยด์
(Ethmoid bone)
กระดูกหุ้มสมอง
กระดูก 7 ชิ้นที่ประกอบกันเป็นเบ้าตา กระดูกเอทมอยด์เป็นหนึ่งในนั้นซึ่งแสดงด้วยสีน้ำตาล
รายละเอียด
ตัวระบุ
ภาษาละตินos ethmoidale
MeSHD005004
TA98A02.1.07.001
TA2721
FMA52740
ศัพท์ทางกายวิภาคของกระดูก

ส่วนต่างๆ ของกระดูก แก้

กระดูกเอทมอยด์ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ทั้งหมด 4 ส่วน

ข้อต่อ แก้

กระดูกเอทมอยด์เกิดข้อต่อกับกระดูกทั้งหมด 15 ชิ้น ได้แก่

การบาดเจ็บ แก้

กระดูกเอทมอยด์เป็นกระดูกที่มีความบอบบางและบาดเจ็บได้ง่ายเมื่อมีของแข็งแหลมคมแทงเข้าไปด้านบนโพรงจมูก หรือสูดหายใจเอาของแหลมคมเข้าไปในจมูกอย่างรวดเร็ว เช่นจากอุบัติเหตุทางถนน ผู้บาดเจ็บอาจสูดหายใจเอาเศษกระจกแผงหน้าปัดรถยนต์เข้าไป แรงกระแทกอาจทำให้เศษชิ้นส่วนของกระดูกทะลุผ่านแผ่นกระดูกพรุนเข้าไปในเยื่อหุ้มสมองหรือเนื้อเยื่อสมอง ซึ่งบางครั้งอาจทำให้น้ำหล่อสมองไขสันหลัง (cerebrospinal fluid) ซึมออกมาสู่โพรงจมูก หรืออาจมีของเหลวจากจมูกรั่วเข้าไปในสมอง

การบาดเจ็บดังกล่าวอาจเกิดการฉีกขาดของเส้นประสาทรับกลิ่น (olfactory nerves) ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่ผ่านกระดูกเอทมอยด์ และทำให้ภาวะเสียการรู้กลิ่น (anosmia) ซึ่งรวมถึงการสูญเสียการรับรส (ซึ่งต้องอาศัยการรับกลิ่น) ภาวะดังกล่าวไม่เฉพาะทำให้ขาดอรรถรสในการรับสัมผัส แต่ยังอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตเพราะผู้ป่วยจะไม่ได้รับกลิ่นควัน แก๊ส สารพิษ หรืออาหารที่เน่าเสีย

การแตกของกระดูกส่วนลามินา พาพีราซี (lamina papyracea) หรือแผ่นด้านข้างของแลบิรินธ์ของกระดูกเอทมอยด์ ซึ่งเป็นทางติดต่อระหว่างโพรงจมูกและเบ้าตาข้างเดียวกันอาจทำให้เกิดภาวะมีอากาศในเบ้าตา (orbital emphysema) การเพิ่มความดันภายในโพรงจมูก เช่นระหว่างการจาม อาจทำให้ตาโปน (exophthalmos) ชั่วคราว

บทบาทในการรับรู้สนามแม่เหล็ก แก้

ในนกบางชนิดและสัตว์อพยพจะมีแร่แมกนีไทต์ (แร่แม่เหล็ก) ชีวภาพอยู่ภายในกระดูกเอทมอยด์ ซึ่งช่วยในการนำทิศทางโดยอาศัยสนามแม่เหล็กโลก สำหรับในมนุษย์ก็มีแมกนีไทต์อยู่ในกะโหลกเช่นกัน แต่เชื่อว่าน่าจะเป็นเพียงโครงสร้างเหลือค้าง (vestigial structure) [1]

ภาพอื่นๆ แก้

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้