กรรตุการก (อังกฤษ: nominative case อ่านได้ทั้ง กันตุการก หรือ กัดตุการก[1]) คือการกของคำนามหรือวจีวิภาคอื่น ๆ ที่จะมีการบ่งชี้ประธานของคำกริยาหรือนามภาคแสดงหรือคำคุณศัพท์ภาคแสดง โดยทั่วไปแล้ว คำนาม "ที่กระทำบางอย่าง" คือกรรตุการก และกรรตุการกมักจะเป็นรูปที่อยู่ในพจนานุกรม

รากศัพท์ แก้

กรรตุการกมาจากคำว่า "กรรตุ" รวมกับ "การก" โดยกรรตุแปลว่าผู้ทํา มาจากภาษาสันสกฤต कर्तु กรฺตุ (ภาษาบาลี กตฺตุ, จาก กรฺ ธาตุ + -ตุ ปัจจัย) และการก มาจากภาษาบาลี การก[1] ซึ่งแปลได้เป็น การกของผู้กระทำ, ผู้กระทำ , จาก การ (จาก กรฺ ธาตุ (ทำ) + -ณ ปัจจัย) + -ณฺวุ ปัจจัย → -อก (ผู้...)

กรฺ ธาตุ + -ณฺวุ ปัจจัย => : กรฺ ธาตุ + -วุ => การฺ ธาตุ + -วุ (ทีฆะสระ, พฤทธิ์ อ เป็น อา) => การฺ ธาตุ + -อก => การก

ตัวอย่าง แก้

คำนาม แก้

กรรตุการกบ่งชี้ประธานของกริยา เมื่อกริยามีการกระทำ กรรตุการกคือคนหรือสิ่งของที่กระทำนั้น เมื่อเป็นกริยาอยู่ในรูปกรรมวาจก กรรตุการกคือคนที่ได้รับการกระทำ

  • เขาเห็นต้นไม้
  • ต้นไม้ถูกเห็นโดยเขา

ภาคแสดง แก้

ในประโยค copular หรือประโยคที่ในภาษาอังกฤษเชื่อมด้วย verb to be กรรตุการกใช้ทั้งประธานและภาคแสดง

  • เขาเป็นคนดี
  • เขาดี (ในภาษาอังกฤษจะมีการเชื่อมด้วย verb to be ซึ่งคำว่าดีซึ่งเป็นคุณศัพท์ภาคแสดงจะถือว่าเป็นกรรตุการกด้วย

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 ราชบัณฑิตยสถานพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556. 1,544 หน้า. ISBN 978-616-7073-80-4

ลิงค์อื่น ๆ แก้