กรดฮิวมิก (อังกฤษ: humic acid) เป็นส่วนประกอบหลักของดินสสารฮิวมิก (humic substances) ซึ่งสสารฮิวมิกเป็นสารประกอบหลักของดิน (ฮิวมัส), พีต, ถ่านหิน, แม่น้ำในที่ดอนหลายแห่ง, หนองน้ำ (dystrophic lakes), และน้ำมหาสมุทร[1] กรดฮิวมิกเกิดขึ้นโดยกระบวนการย่อยสลายในทางชีวภาพของสารอินทรีย์ที่ตายลง กรดฮิวมิกไม่ใช่กรดเดี่ยวๆ แต่เป็นการผสมของกรดหลายๆชนิดที่อยู่ในกลุ่มกรดคาร์บอกซิลิกและฟีนอล (phenol) โดยส่วนผสมนี้ (กรดฮิวมิก) จะมีลักษณะการทำงานคล้ายกับ dibasic acid หรือ บางครั้งก็คล้ายกับ tribasic acid กรดฮิวมิกสามารถจะจับตัวกับไอออนที่พบได้ทั่วไปในสิ่งแวดล้อมมาเป็นสารประกอบโคออร์ดิเนชัน (coordination complex) ได้ กรดฮิวมิกและกรดฟูลวิก (fulvic acid) ถูกใช้อย่างกว้างขวางในการช่วยปรับปรุงดินสำหรับเกษตรกรรม และแม้ไม่แพร่หลายเท่ากับการใช้ในเกษตรกรรม กรดทั้งสองนี้ยังถูกใช้เป็นอาหารเสริมสำหรับคนด้วย

การเกิดและสกัดกรดฮิวมิก แก้

สสารฮิวมิกเกิดจากการย่อยสลายทางชีวภาพของพืชที่ตายแล้ว (เช่น lignin) จากจุลินทรีย์ สสารฮิวมิกจะยากต่อการที่จะถูกย่อยสลายทางชีวภาพต่อไป คุณสมบัติและโครงสร้างโดยละเอียดของสสารฮิวมิกนี้จะขึ้นกับสภาพของแหล่ง น้ำ ดิน และวิธีการสกัดสสารฮิวมิกขึ้นมา อย่างไรก็ตามคุณสมบัติทั่วไปโดยเฉลี่ยของสสารฮิวมิกจากแหล่งต่างๆค่อนข้างจะใกล้เคียงกัน

สสารฮิวมิกในดินและตะกอนสามารถจะเป็นได้เป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ กรดฮิวมิก กรดฟูลวิก และฮิวมิน (humin) กรดฮิวมิกและฟูลวิกสกัดจากดินได้เป็นของเหลวในรูปสารแขวนลอย กรดฮิวมิกจะตกตะกอนจากสารแขวนลอยนี้โดยการปรับค่าพีเอชให้เป็น 1 โดยการใช้กรดเกลือ ส่วนกรดฟูลวิกจะยังคงแขวนลอยอยู่

ข้อมูลเพิ่มเติม แก้

  • Hessen, D.O. (1998). Tranvik, L.J. (บ.ก.). Aquatic humic substances : ecology and biogeochemistry. Berlin: Springer. ISBN 3540639101.

อ้างอิง แก้

  1. F.J. Stevenson (1994). Humus Chemistry: Genesis, Composition, Reactions. John Wiley & Sons, New York.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้