กรณีพิพาทเรื่องอาณาเขตซุน-เล่า

กรณีพิพาทเรื่องอาณาเขตซุน-เล่า เป็นความขัดแย้งทางการทหารระหว่างขุนศึกซุนกวนและเล่าปี่ในปี ค.ศ. 215 ในช่วงปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออกของจีน เริ่มแรกเดิมทีซุนกวนและเล่าปี่ได้เป็นพันธมิตรกันในปี ค.ศ. 208 เพื่อต้านข้าศึกคนเดียวกันคือโจโฉ ขณะเดียวกันทั้งสองฝ่ายก็เกิดข้อพิพาทในเรื่องอาณาเขตของแคว้นเกงจิ๋วทางตอนใต้ (ครอบคลุมพื้นที่มณฑลหูเป่ย์และมณฑลหูหนานในปัจจุบัน) ในช่วงต้นทศวรรษ 210 ข้อพิพาทได้สิ้นสุดลงเมื่อทั้งสองฝ่ายตกลงแบ่งดินแดนตามแนวตลอดแม่น้ำเซียงระหว่างเขตอิทธิพลของทั้งสองฝ่าย โดยซุนกวนได้พื้นที่ทางตะวันออกของแม่น้ำ ส่วนเล่าปี่ยังคงครองพื้นที่ทางตะวันตกของแม่น้ำ แต่ถึงแม้จะมีข้อตกลงสงบศึกจากกรณีพิพาทเรื่องอาณาเขต ท้ายที่สุดซุนกวนก็ส่งทัพเข้าโจมตีอาณาเขตของเล่าปี่ในการรุกรานในปี ค.ศ. 219 และยึดครองทั้งแคว้นเกงจิ๋วได้สำเร็จ

กรณีพิพาทเรื่องอาณาเขตซุน-เล่า
ส่วนหนึ่งของ สงครามในยุคสิ้นราชวงศ์ฮั่น
วันที่ป. กรกฎาคม – สิงหาคม ค.ศ. 215[a]
สถานที่
ผล สงบศึก
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
มีการตกลงแบ่งดินแดนนระหว่างซุนกวนและเล่าปี่ตลอดแม่น้ำเซียง
คู่สงคราม
ซุนกวน เล่าปี่
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ซุนกวน
โลซก
ลิบอง
เล่าปี่
กวนอู
กำลัง
อย่างน้อย 10,000 คน ประมาณ 30,000 คน (ตามคำกล่าวอ้างของกวนอู)

ภูมิหลัง แก้

ในฤดูหนาว ค.ศ. 208 ขุนศึกเล่าปี่และซุนกวนร่วมมือเป็นพันธมิตรในการต่อต้านขุนศึกโจโฉและเอาชนะได้อย่างเด็ดขาดในยุทธนาวีที่ผาแดง ต่อมาไม่นานหลังจากยุทธนาวีทีผาแดง ทัพพันธมิตรร่วมทำศึกในยุทธการที่กังเหลงและยึดได้อำเภอกังเหลงกับส่วนที่เหลือของเมืองลำกุ๋น (南郡 หนานจวิ้น; ปัจจุบันคือบริเวณเมืองจิงโจว มณฑลหูเป่ย์) จากทัพโจโฉ[2]

หลังยุทธการที่กังเหลง เมืองลำกุ๋นยังอยู่ภายใต้การควบคุมของซุนกวน ซุนกวนตั้งให้ขุนพลจิวยี่เป็นเจ้าเมืองลำกุ๋น ศูนย์การการปกครองของเมืองลำกุ๋นอยู่ที่อำเภอกังเหลง และมีอำนาจปกครองครอบคลุมอำเภอเซี่ยจวิ้น (下雋; ปัจจุบันอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอทงเฉิง มณฑลหูเป่ย์) อำเภอฮั่นชาง (漢昌; ปัจจุบันอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอำเภอผิงเจียง มณฑลหูหนาน) อำเภอหลิวหยาง และอำเภอโจวหลิง (州陵; ปัจจุบันอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองหงหู มณฑลหูเป่ย์)[3]

ในช่วงเวลานั้นนั้น เล่าปี่ตั้งให้เล่ากี๋ บุตรชายคนโตของเล่าเปียวเจ้ามณฑลคนก่อนของมณฑลเกงจิ๋ว ให้ขึ้นสืบทอดตำแหน่งเจ้ามณฑลต่อจากบิดา ในขณะเดียวกันก็ส่งทัพเข้าโจมตีและยึดเมืองสี่เมืองทางใต้ของมณฑลเกงจิ๋ว ได้แก่ บุเหลง (武陵 อู่หลิง; ปัจจุบันคือบริเวณเมืองฉางเต๋อ มณฑลหูหนาน) เตียงสา ฮุยเอี๋ยง (桂陽 กุ้ยหยาง; ปัจจุบันคือบริเวณเมืองเชินโจว มณฑลหูหนาน) และเลงเหลง (零陵 หลิงหลิง; ปัจจุบันอยู่บริเวณเมืองหย่งโจว มณฑลหูหนาน)[2]

หลังจากเล่ากี๋เสียชีวิตเมื่อปลายปี ค.ศ. 209 ซุนกวนตั้งให้เล่าปี่ขึ้นเป็นเจ้ามณฑลเกงจิ๋วคนใหม่แทนที่เล่ากี๋ เล่าปี่ให้อำเภอกังอั๋นเป็นศูนย์กลางการปกครองของดินแดนตน เล่าปี่ยังได้แต่งงานกับซุนฮูหยินน้องสาวของซุนกวนเพื่อเสริมความมั่นคงของพันธมิตรซุน-เล่า[2]

ซุนกวนให้เล่าปี่ "ยืม" มณฑลเกงจิ๋ว แก้

ในปี ค.ศ. 210 เล่าปี่เดินทางไปจิง (京; ปัจจุบันคือเมืองเจิ้งเจียง มณฑลเจียงซู) เพื่อพบซุนกวนและขอปกครองเมืองลำกุ๋น เวลานั้นจิวยี่ลอบเขียนหนังสือถึงซุนกวน เสนอให้ลวงเล่าปี่มายังเมืองง่อกุ๋น (ปัจจุบันคือบริเวณเมืองซูโจว มณฑลเจียงซู) ปรนเปรอเล่าปี่ด้วยทรัพย์สินและสตรีเพื่อแยกตัวเล่าปี่จากขุนพลกวนอูและเตียวหุย[4] แต่ซุนกวนปฏิเสธแผนของจิวยี่ เพราะเห็นว่าโจโฉยังเป็นภัยคุกคามต่อตนมากกว่าเล่าปี่ จึงเป็นการดีกว่าที่จะคงความเป็นพันธมิตรกับเล่าปี่[5]

ความขัดแย้ง แก้

ลิบองยึดสามเมือง แก้

การคุมเชิงกันที่อี้หยางระหว่างกวนอูและกำเหลง แก้

การเจรจาต่อรองระหว่างโลซกและกวนอู แก้

ตกลงสงบศึก แก้

ผลสืบเนื่อง แก้

ในนิยายสามก๊ก แก้

เชิงอรรถ แก้

  1. จือจื้อทงเจี้ยนบันทึกว่าความขัดแย้งเกิดขึ้นในเดือนหก ปีที่ยี่สิบของรัชศักเจี้ยนอัน รัชสมัยพระเจ้าเหี้ยนเต้[1] เดือนนี้ตรงกับช่วงระหว่างวันที่ 14 กรกฎาคมถึง 12 สิงหาคม ค.ศ. 215 ตามปฏิทินเกรโกเรียน

อ้างอิง แก้

  1. Sima (1084), vol. 67.
  2. 2.0 2.1 2.2 Sima (1084), vol. 65.
  3. (權拜瑜偏將軍,領南郡太守。以下雋、漢昌、瀏陽、州陵為奉邑,屯據江陵。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 54.
  4. (... 瑜上疏曰:「劉備以梟雄之姿,而有關羽、張飛熊虎之將,必非乆屈為人用者。愚謂大計宜徙備置吳,盛為築宮室,多其美女玩好,以娛其耳目,分此二人,各置一方,使如瑜者得挾與攻戰,大事可定也。今猥割土地以資業之,聚此三人,俱在疆場,恐蛟龍得雲雨,終非池中物也。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 54.
  5. (權以曹公在北方,當廣擥英雄,又恐備難卒制,故不納。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 54.
  • ตันซิ่ว (ศตวรรษที่ 3). จดหมายเหตุสามก๊ก (ซันกั๋วจื้อ).
  • de Crespigny, Rafe (2007). A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms 23-220 AD. Leiden: Brill. ISBN 9789004156050.
  • ล่อกวนตง (ศตวรรษที่ 14). สามก๊ก (ซันกั๋วเหยี่ยนอี้).
  • เผยซงจือ (ศตวรรษที่ 2). อรรถาธิบายจดหมายเหตุสามก๊ก.
  • ซือหม่ากวง (1084). จือจื้อทงเจียน