กรณีพิพาทชื่อมาซิโดเนีย

การใช้ชื่อประเทศ "มาซิโดเนีย" เป็นข้อพิพาทระหว่างประเทศกรีซกับประเทศมาซิโดเนีย (ปัจจุบันคือประเทศมาซิโดเนียเหนือ) นับตั้งแต่ปี 1991 ถึงปี 2019 ข้อพิพาทนี้นำมาสู่การเสียเสถียรภาพในภูมิภาคบอลข่านตะวันตกเป็นเวลา 25 ปี ข้อพิพาทสิ้นสุดลงภายหลังการเจรจาระหว่างรัฐบาลทั้งสองประเทศภายใต้การไกล่เกลี่ยโดยสหประชาชาติ นำไปสู่การลงนามในความตกลงเปรสปาในวันที่ 17 มิถุนายน 2018 ภูมิหลังของข้อพิพาทนี้มีย้อนกลับไปตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 ที่ซึ่งกรณีข้อคำถามมาซิโดเนียและกรณีเหตุต่อสู้มาซิโดเนียเป็นปัจจัยหนึ่งที่นำไปสู่สงครามบอลข่าน แม้ข้อพิพาทการตั้งชื่อนั้นเป็นปัญหาในความสัมพันธ์ยูโกสลาฟ–กรีกมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง แต่ข้อพิพาทได้ถูกจุดฉนวนขึ้นมาใหม่ภายหลังการล่มสลายของยูโกสลาเวีย และการได้รับเอกราชของอดีตสาธารณรัฐสังคมนิยมมาซิโดเนียในปี 1991 ภายหลังข้อพิพาทสิ้นสุดลงในการลงนามระหว่างสองประเทศ ประเทศมาซิโดเนียได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็นประเทศมาซิโดเนียเหนืออย่างเป็นทางการในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2019

การแบ่งอาณาเขตทางรัฐศาสตร์และทางภูมิศาสตร์ของมาซิโดเนีย

ข้อพิพาทนี้เกิดจากความกำกวมในการเรียกชื่อดินแดนของประเทศมาซิโดเนีย, ภูมิภาคมาซิโดเนียของประเทศกรีซ และราชอาณาจักรมาเกโดนีอา อาณาจักรโบราณของชาวกรีก ประเทศกรีซโต้เถียงในข้อพิพาทนี้โดยการอ้างข้อกังวลเรื่องอุดมการณ์เรียกร้องดินแดนใหม่ของชนชาติเดียวกัน กรีซยืนยันจุดยืนไม่เห็นด้วยกับการตั้งชื่อประเทศว่า "มาซิโดเนีย" โดยไม่มีการระบุตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน เช่น "มาซิโดเนียเหนือ" มาใช้กับชื่อที่ "ใช้โดยทุกกรณีและในทุกสถานการณ์"[1] นอกจากนี้ประเทศกรีซยังระบุข้อเท็จจริงที่ว่าชาติพันธุ์กรีกมีการเรียกชนตนเองว่าเป็นชาวมาซิโดเนีย ในขณะที่มองว่าตนไม่เกี่ยวข้องกันกับชาติพันธุ์มาซิโดเนีย เพื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องไม่ให้มีการใช้คำเรียกกลุ่มชาติพันธุ์มาซิโดเนีย และภาษามาซิโดเนียว่า "มาซิโดเนีย" เพิ่มเติมจากกรณีชื่อประเทศ นอกเหนือจากกรณีพิพาทการใช้ชื่อแล้ว ประเทศกรีซยังระบุว่าประเทศนอร์ทมาซิโดเนียไม่มีความชอบธรรมในการใช้สัญลักษณ์และตัวบุคคลสำหรับชาตินิยมมาซิโดเนียที่ซึ่งในทางประวัติศาสตร์ถือเป็นของวัฒนธรรมกรีซ เช่น การใช้สัญลักษณ์สุริยาเวอร์จินา และอะเล็กซานเดอร์มหาราช รวมถึงการที่รัฐบอลมาซิโดเนียให้การสนับสนุนแนวคิดรวมชาติใหม่ภายใต้ชื่อ สหรัฐมาซิโดเนีย ซึ่งกินพื้นที่ของประเทศกรีซ, บัลแกเรีย, แอลเบเนีย และเซอร์เบีย[2]

ข้อพิพาทดำเนินและรุนแรงไปจนถึงระดับการไกล่เกลี่ยระหว่างประเทศ ในปี 1995 ทั้งสองประเทศได้จัดตั้งความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างประเทศขึ้นอย่างเป็นทางการเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นสู่การหาทางออกและเจรจาในกรณีข้อพิพาทการตั้งชื่อ ระหว่างการเจรจาดำเนินไปภายใต้การดูแลของสหประชาชาติ หลายรัฐและองค์กรนานาชาติได้เลือกใช้ชื่อเรียกประเทศว่า "อดีตสาธารณรัฐยูโกสลาฟมาซิโดเนีย" (the former Yugoslav Republic of Macedonia; FYROM) จนกว่าจะบรรลุข้อตกลง ในขณะที่สหประชาชาติยืนยันใช้ชื่อเรียกที่เป็นผลจากข้อตกลงร่วมระหว่างสองรัฐเท่านั้น การเจรจาเป็นไปโดยการนำของทูต วัสโก นาวโมฟสกี และอะดามันติโอส วัสซิลากิส ดำเนินการไกล่เกลี่ยโดยแมทธิว นิเมตซ์ ผู้มีส่วนร่วมในการคลี่คลายปัญหานี้มาตั้งแต่ปี 1994[3]

หมายเหตุ แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  • Asani, Dorentina. "The Dynamics of the Name Issue of the Republic of Macedonia." European Journal of Social Sciences 1.1 (2018): 87-90. online
  • Heraclides, Alexis. "The settlement of the Greek-Macedonian naming dispute: the Prespa agreement." Bezbednosni dijalozi 11.2 (2020): 49-60. online in English
  • Nimetz, M. (2020). The Macedonian “Name” Dispute: The Macedonian Question—Resolved? Nationalities Papers, 48(2), 205-214.
  • Shterbani, Shefki. "The Macedonia Name Dispute: ICJ’s Decision and its Legal Approach." Acta Universitatis Danubius Juridica 14.1 (2018): 101-112. online
  • Tziampiris, Aristotle. "The Macedonian name dispute and European Union accession." Southeast European and Black Sea Studies 12.1 (2012): 153-171.

อ้างอิง แก้

  1. Greek Ministry of Foreign Affairs. "FYROM Name Issue". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 January 2018.
  2. Μακεδονικό Ονοματολογικό Ζήτημα: Μία ανάλυση με βάση την διεθνή ιστορική εμπειρία (Macedonia Naming Dispute: An Analysis Based on International Historical Experience) (in Greek). Bookstars (Athens). 2019. ISBN 978-960-571-324-9.
  3. "The man who has focused on one word for 23 years". BBC. 1 August 2017.