กรงกรรม เป็นละครโทรทัศน์แนวชีวิตย้อนยุคสะท้อนสังคม ที่สร้างจากบทประพันธ์ของ จุฬามณี และบทโทรทัศน์โดย ยิ่งยศ ปัญญา[1] ผลิตโดย บริษัท แอคอาร์ต เจเนเรชั่น จำกัด กำกับการแสดงโดย พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง และ ธนากร โปษยานนท์ นำแสดงโดย ใหม่ เจริญปุระ, ราณี แคมเปน, จิรายุ ตั้งศรีสุข, เด่นคุณ งามเนตร, อรเณศ ดีคาบาเลส, ฐกฤต ตวันพงค์, ชนาธิป โพธิ์ทองคำ, วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์, พิชชาภา พันธุมจินดา, ปรียากานต์ ใจกันทะ, รินรดา แก้วบัวสาย, ธัญญภัสร์ ภัทรธีรชัยเจริญ ออกอากาศครั้งแรกในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562–30 เมษายน พ.ศ. 2562 ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3

กรงกรรม
บทประพันธ์จุฬามณี
บทละครโทรทัศน์ยิ่งยศ ปัญญา
กำกับโดยพงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง
นักแสดง
ประเทศแหล่งกำเนิดไทย
ภาษาต้นฉบับไทย
จำนวนตอน19 ตอน
การผลิต
ผู้จัดละครธัญญา วชิรบรรจง
ความยาวตอน150 นาที
บริษัทผู้ผลิตบริษัท แอคอาร์ต เจเนเรชั่น จำกัด
ออกอากาศ
สถานีโทรทัศน์สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
ออกอากาศ26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 –
30 เมษายน พ.ศ. 2562

นักแสดง แก้

ตัวละคร นักแสดงหลัก
ย้อย อัศวรุ่งเรืองกิจ (ม้า)​ ใหม่ เจริญปุระ
ณัฐชา โพธิสูง (วัยสาว)
เรณู อัศวรุ่งเรืองกิจ (ซ้อใหญ่/ซ้อเรณู)​ ราณี แคมเปน
ด.ญ.ปัณณรัตน์ ลาสุทธิ (วัยเด็ก)
กมล อัศวรุ่งเรืองกิจ (อาซา) จิรายุ ตั้งศรีสุข
ก้าน มากสามารถ เด่นคุณ งามเนตร
เพียงเพ็ญ ศรีฆะมัง (เพ็ญ) อรเณศ ดีคาบาเลส
ปฐม อัศวรุ่งเรืองกิจ (อาใช้) ฐกฤต ตวันพงค์
ประสงค์ อัศวรุ่งเรืองกิจ (อาตง) ชนาธิป โพธิ์ทองคำ
มงคล อัศวรุ่งเรืองกิจ (อาสี่) วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์
จันตา อัศวรุ่งเรืองกิจ ปรียากานต์ ใจกันทะ
พิไล อัศวรุ่งเรืองกิจ พิชชาภา พันธุมจินดา
วรรณา รินรดา แก้วบัวสาย
หลักเซ้ง อัศวรุ่งเรืองกิจ (เถ้าแก่เซ้ง) ปริญญ์ วิกรานต์
ปฏิภาณ มีมั่ง (วัยหนุ่ม)
มาลา การัญชิดา คุ้มสุวรรณ
เจ๊อ๋า คัคกิ่งรักส์ คิคคิคสะระณัง
ปลัดจินกร จิตรภาณุ กลมแก้ว
ป้อม อรรถพล เทศทะวงศ์
บุญปลูก อัศวรุ่งเรืองกิจ (ปลูก) ธัญญภัสร์ ภัทรธีรชัยเจริญ
อรพรรณี สิรินรัตน์ วิทยพูม
บังอร นิศาชล ต้วมสูงเนิน
ตัวละคร นักแสดงสมทบ
ติ๋ม ศรีตาคลี อริศรา วงษ์ชาลี
ป้าเม้า ปวันรัตน์ นาคสุริยะ
แจ้หมุ่ยนี้ วราพรรณ หงุ่ยตระกูล
หมอสมดี ดนัย จารุจินดา
สิทธิ์ มากสามารถ โย่ง เชิญยิ้ม
หวัง ณภัทร ชุ่มจิตตรี
กำนันศร ศรีฆะมัง กษมา นิสสัยพันธ์
สมพร ศรีฆะมัง ปริศนา กล่ำพินิจ
สมศรี ศรีฆะมัง (ศรี) จรรยา ธนาสว่างกุล
เชิด ชลัฏ ณ สงขลา
นางพิกุล ปวีณา ชารีฟสกุล
อาม่า อรสา อิศรางกูร ณ อยุธยา
นางแรม ณัฐนี สิทธิสมาน
ประนอม อ้อยใจ แดนอีสาน
หวาน ธัญชนก หงษ์ทองคำ
กุ่น มากสามารถ กุณกนิช คุ้มครอง
ตัวละคร นักแสดงรับเชิญ
แย้ม หมั่นกิจ รัดเกล้า อามระดิษ
พรนภัส วงศ์วิวัฒน์ (วัยสาว)
อาม่าลิ้ม อัศวรุ่งเรืองกิจ โฉมฉาย ฉัตรวิไล
หมอก้อน สุเชาว์ พงษ์วิไล
นางเรไร ศิรินทรา นิยากร
ป้าสายทอง แอริน ยุกตะทัต
ดำ วิศรุต หิรัญบุศย์
สุบิน โฆษวิส ปิยะสกุลแก้ว
กรองแก้ว โชติรส ชโยวรรณ
ป๊อก ด.ช.ภคพล ตัณฑ์พาณิชย์
พงศ์ทิวัตถ์ ตั้งวันเจริญ (วัยรุ่น)
ประณต อัศวรุ่งเรืองกิจ ด.ช.ภาคภูเสฏฐ์ ชาครวิโรจน์
กมลา อัศวรุ่งเรืองกิจ ด.ญ.ณัฐนรี ชูวงษ์วาน
จิตตรา อัศวรุ่งเรืองกิจ ด.ญ.ไอย์ฌิฌา กรุดนาค
เชอรี่ อัศวรุ่งเรืองกิจ ด.ญ.มาชิดา สุทธิกุลพานิช

งานสร้าง แก้

ผู้เขียนบทละครโทรทัศน์เรื่องนี้คือ ยิ่งยศ ปัญญา ที่เคยทำงานให้กับละครเรื่อง รากนครา วิธีการทำงานเริ่มต้นตั้งแต่อ่านบทประพันธ์ให้จบ แล้วจึงค่อย ๆ เรียบเรียงตามเส้นเวลาของเรื่อง เสร็จแล้วจึงทำความรู้จักกับตัวละครอย่างทะลุปรุโปร่ง และทำความเข้าใจกับบริบทสังคม ตัดรายละเอียดเหตุการณ์ที่ไม่สำคัญออกหรือแก้ไข นำมายุบรวมกับอีกเหตุการณ์ หรือบางเหตุการณ์ไม่มีความแข็งแรงพอ ก็อาจเพิ่มเติม ขณะเดียวกันก็มีการตัดบางตัวละครในนิยายออกไป[2]

การคัดเลือกนักแสดง เดิมพงษ์พัฒน์วางตัวบท อาซา ให้ธีรเดช เมธาวรายุทธ แต่เนื่องจากคิวงานไม่ลงตัวบทจึงตกมาเป็นของจิรายุ ตั้งศรีสุข และบทพิไล เดิมวางให้สาวิกา ไชยเดชแสดง แต่บทก็ตกเป็นของ พิชชาภา พันธุมจินดา[3]

ละครเริ่มถ่ายทำวันแรกเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2560[4] ฉากถ่ายทำที่ ช่อง 3 หนองแขม[5] และมีหลายฉากถ่ายทำที่​จังหวัดสุพรรณบุรี​ กาญจนบุรี​ ราชบุรี​ นครนายก​ อยุธยา​ ละครใช้เวลาถ่ายทำนาน 8 เดือน[6]

หมายเหตุ แก้

ละครมีความเกี่ยวข้องกับ สุดแค้นแสนรัก โดยเรื่องราวจะเกี่ยวกับสาวขายบริการจากอำเภอตาคลี ที่ได้พบรักกับทหารหนุ่มซึ่งมีแม่คือ นางย้อย ซึ่งเป็นพี่สาวของนางแย้มจาก สุดแค้นแสนรัก บ้านอยู่ตำบลหนองนมวัว อำเภอลาดยาว ในสุดแค้นแสนรักมีฉากหนึ่งที่นางแย้มจะเอายงยุทธมาฝากนางย้อยที่ปากน้ำโพ เพื่อหนีอัมพรกับครอบครัว ในละคร กรงกรรม มีเรื่องราวเริ่มต้นปี พ.ศ. 2510 ส่วน สุดแค้นแสนรัก เริ่มเรื่องที่ปี พ.ศ. 2515[7]

การตอบรับ แก้

คำวิจารณ์ แก้

สนุก.คอม วิจารณ์สรุปละคร กรงกรรม หลังออกฉายครบทั้ง 19 ตอนว่า "ถือเป็นละครที่ให้ข้อคิดการใช้ชีวิตในบทบาทหน้าที่ต่าง ๆ ได้อย่างดี ไม่มีใครดีทั้งหมด และไม่มีใครเลวทั้งหมดในชีวิตนั้น"[8] เดอะสแตนดาร์ด วิจารณ์การแสดงของนักแสดงเรื่องนี้ว่า "การแสดงของนักแสดงทุกคนก็นับว่าทำการบ้านกันมาอย่างหนัก โดยเฉพาะใหม่ ที่เราเชื่อเหลือเกินว่าเธอตั้งใจเล่นบทนี้อย่างมากจนโดดเด่นออกมา" และยังชื่นชมผู้เขียนบทยิ่งยศ ปัญญา ว่า "สามารถสร้างประเด็นเล็กๆ น้อยๆ เก็บรายละเอียดตัวละครได้ค่อนข้างยอดเยี่ยม" รวมถึง "โปรดักชันและงานภาพที่สวยงาม ทำให้บรรยากาศของเรื่องนั้นโดดเด่นขึ้นมา"[9]

เรตติ้ง แก้

ละครออกฉายตอนแรกด้วยเรตติ้ง 3.167[10] เมื่อออกฉายตอนที่ 19 (ตอนจบ) ทำเรตติ้งได้ 11.136 โดยทำเรตติ้งได้สูงสุดในวันนั้นในช่วงไพรม์ไทม์[11] เรตติ้งเฉลี่ยทุกตอน 6.24[12]

ตารางด้านล่างเป็นเรตติ้งเฉลี่ยทั่วประเทศของทุกตอน[12]

ตอนที่ ออกอากาศ เรตติ้งทั่วประเทศ (AGB Nielsen)
1 26/2/62 3.2
2 4/3/62 3.4
3 5/3/62 3.7
4 11/3/62 4.7
5 12/3/62 5.1
6 18/3/62 5.1
7 19/3/62 5.7
8 25/3/62 4.8
9 26/3/62 5.5
10 1/4/62 5.7
11 2/4/62 6.3
12 8/4/62 7.3
13 9/4/62 7.3
14 15/4/62 5.9
15 16/4/62 7.4
16 22/4/62 7.6
17 23/4/62 8.9
18 29/4/62 9.9
19 30/4/62 11.1

รางวัล แก้

รางวัล
ผู้มอบรางวัล สาขารางวัล ผล
รางวัลเณศไอยรา[13] รางวัลกิตติมศักดิ์ ด้านส่งเสริมการแสดงดีเด่น (ใหม่ เจริญปุระ) ชนะ
นักแสดงสมทบดีเด่น (ชาย) (ชนาธิป โพธิ์ทองคำ) ชนะ
นักแสดงสมทบดีเด่น (หญิง) (อริศรา วงศ์ชาลี) ชนะ
นักแสดงดาวรุ่งดีเด่น (หญิง) (ธัญญภัสร์ ภัทรธีรชัยเจริญ) ชนะ
บทประพันธ์ยอดเยี่ยม (นิพนธ์ เที่ยงธรรม) ชนะ
Asian Academy Creative Awards 2019[14][15] Best Actor in a Leading Role (จิรายุ ตั้งศรีสุข) เสนอชื่อเข้าชิง
Best Actor in a Supporting Role (เด่นคุณ งามเนตร) เสนอชื่อเข้าชิง
Best Actress in a Supporting Role (พิชชาภา พันธุมจินดา) เสนอชื่อเข้าชิง
Best Direction (Fiction) (พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง) เสนอชื่อเข้าชิง
Best Theme Song ได้แก่ เพลง ผิดหรือที่รักเธอ (ณรงค์วิทย์ เตชะธนะวัฒน์ และ จักรกฤษณ์ มัฆณาโส) เสนอชื่อเข้าชิง
Best Drama Series เสนอชื่อเข้าชิง
คมชัดลึก อวอร์ดส์ ครั้งที่ 16[16] นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (ใหม่ เจริญปุระ) ชนะ
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (พิชชาภา พันธุมจินดา) ชนะ
ผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม (พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง) ชนะ
ละครโทรทัศน์ยอดเยี่ยม ชนะ
บทละครโทรทัศน์ยอดเยี่ยม (ยิ่งยศ ปัญญา) ชนะ
รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 11 นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (จิรายุ ตั้งศรีสุข ) ชนะ
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (พิชชาภา พันธุมจินดา) ชนะ
ผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม (พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง) ชนะ
ละครโทรทัศน์ยอดเยี่ยม ชนะ
บทละครโทรทัศน์ยอดเยี่ยม (ยิ่งยศ ปัญญา) ชนะ
ทีมนักแสดงยอดเยี่ยม ชนะ
เพลงละครยอดเยี่ยม (เพลง ผิดหรือที่รักเธอ ร้องโดย ใหม่ เจริญปุระ) ชนะ

ภาคต่อ แก้

จุฬามณี ผู้แต่ง กรงกรรม ได้พูดถึงบทละครเรื่อง ระบำบุญ อันเป็นภาคต่อจากกรงกรรม แต่ ระบำบุญ มีฉากหลังอยู่ที่อำเภอไพศาลี แต่ยังคงมีจักรวาลวิถีชีวิตในพื้นที่ จังหวัดนครสวรรค์ อีกเช่นเคย โดยมีเรื่องราวของ มาลา ภรรยาของอาสี่ ซึ่งอาสี่ได้เสียชีวิตไปแล้ว แต่เนื่องจากมีลูกด้วยกัน มาลาเลี้ยงลูกไม่ไหว จึงเอาลูกไปทิ้งไว้ที่หน้าบ้านของแม่ย้อย ที่อำเภอชุมแสง[17]

อ้างอิง แก้

  1. "โสเภณี 2019!! เบลล่า พลิกบทสุดแซ่บ ปะทะฝีปาก ใหม่ เจริญปุระ ใน กรงกรรม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-21. สืบค้นเมื่อ 2019-03-21.
  2. "คนดู, คนเขียน และความจริง เบื้องหลังความสำเร็จของละคร จากยิ่งยศ ปัญญา". มติชนสุดสัปดาห์. 18 พฤษภาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)[ลิงก์เสีย]
  3. "จริงเหรอ!? อาเล็ก ธีรเดช – พิ้งค์กี้ สาวิกา เคยถูกวางตัวในละคร กรงกรรม". กอซซิปสตาร์. 28 พฤษภาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  4. ดราม่าเข้มข้น! ค่ายแอคอาร์ตปล่อยภาพละคร “กรงกรรม” แล้ว
  5. ""เบลล่า" เลิกขายบริการ ใช้ชีวิตร่วม "เพ็ชร-ฐกฤต" เปิดฉาก "กรงกรรม"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-21. สืบค้นเมื่อ 2019-03-21.
  6. เก้า มีนานนท์ (26 เมษายน 2562). "เอกนรี วชิรบรรจง ถอดบทเรียนความสำเร็จ 'กรงกรรม' จากสิ่งที่ 'พ่อแม่' สร้างและทำให้เห็นในกองถ่าย". เดอะสแตนดาร์ด. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  7. พลิกบทอย่างแรง!! จากนางเอกสู่สาวโสเภณี ละครใหม่ ‘เบลล่า’ ภาคต่อ‘สุดแค้นแสนรัก’?!
  8. "บทสรุปตัวละคร "กรงกรรม" บทเรียนจากการกระทำ ที่ต้องจำไปชั่วลูกชั่วหลาน". สนุก.คอม. 1 พฤษภาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  9. อรัณย์ หนองพล (27 กุมภาพันธ์ 2562). "แม่ผัวชนบทกับลูกสะใภ้ชั้นต่ำ ทำไม 'กรงกรรม' จึงเป็นละครที่น่าดูที่สุดในชั่วโมงนี้". เดอะสแตนดาร์ด. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  10. เปิดเรตติ้งตอนแรก “กรงกรรม” ผลงานชิ้นเยี่ยม “เจมส์จิ-เบลล่า”
  11. บทสรุป "กรงกรรม" VS "หลงเงาจันทร์" ส่งต่อ "แรงเงา 2" VS "กุหลาบเกราะเพชร"
  12. 12.0 12.1 "11.1 เรตติ้งปัง! "กรงกรรมตอนจบ" เจอกันใหม่ในภาคต่อ "ระบำบุญ"". ผู้จัดการออนไลน์. 2 พฤษภาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  13. ""กรงกรรม" แรงไม่หยุด! ฟาด 5 รางวัลใหญ่เวที "เณศไอยรา"". ผู้จัดการออนไลน์. 4 สิงหาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  14. "'อ๊อฟ พงษ์พัฒน์'เข้ารอบรางวัลยิ่งใหญ่ระดับเอเชีย". ไทยโพสต์. 20 ตุลาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  15. "'จิรายุ ตั้งศรีสุข' ปลื้มได้ร่วมงานประกาศรางวัลระดับเอเชีย". คมชัดลึก. 8 ธันวาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  16. ""ต่อ-ใหม่" คว้านำชาย-หญิง ละคร'กรงกรรม'กวาด 5 รางวัล "คมชัดลึกอวอร์ด"". Ch3Thailand. 4 มีนาคม 2563. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-04. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  17. "เปิดจักรวาล "กรงกรรม" สู่ละครภาคต่อ "ระบำบุญ" แฟนละครกรี๊ดหนักมาก". newtv. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้