กนก วงษ์ตระหง่าน

ศาสตราจารย์ กนก วงษ์ตระหง่าน อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์[1] อดีตรองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) และคณะกรรมการขับเคลื่อนวาระประชาชนของพรรคประชาธิปัตย์ ด้านเศรษฐกิจและการศึกษา

กนก วงษ์ตระหง่าน
กนก ในปี พ.ศ. 2549
รองประธานคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
เริ่มดำรงตำแหน่ง
13 กันยายน พ.ศ. 2566
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16 มีนาคม พ.ศ. 2495 (72 ปี)
อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2545—2565)
ชาติไทยพัฒนา (2565—ปัจจุบัน)

ประวัติ แก้

ศาสตราจารย์ กนก วงษ์ตระหง่าน เกิดที่อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร จบการศึกษาระดับมัธยมที่โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก ได้เหรียญนักเรียนดีเด่น ก่อนจะสอบเข้าคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเหตุการณ์ 14 ตุลา เป็นรองเลขาธิการฝ่ายเศรษฐกิจของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.) จากนั้นจึงไปศึกษาปริญญาโทต่อที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แซนต้าบาร์บารา สหรัฐ และได้ทุนศึกษาต่อปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ และในปี พ.ศ. 2539 ได้ผ่านการศึกษาที่วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (ว.ป.อ.) รุ่นที่ 37

การทำงาน แก้

กนก เป็นอาจารย์ ระดับ 4 ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อยู่หลายปีจนได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ ระดับ 10 ในปี พ.ศ. 2534 และจากนั้นจึงโอนย้ายไปรับราชการที่ทบวงมหาวิทยาลัย โดยดำรงตำแหน่งเป็น รองปลัดทบวงมหาวิทยาลัย (นักบริหาร ระดับ 10) ในยุคที่มี ศาสตราจารย์ วิจิตร ศรีสอ้าน เป็นปลัดทบวงมหาวิทยาลัย ในวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2537[2]

จากนั้นจึงเข้าสู่แวดวงธุรกิจ ด้วยการเป็นกรรมการบริหารสายปฏิบัติการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด และได้รับการทาบทามเป็น ประธานบริหารสถานปฏิบัติการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน มีบทบาทสำคัญในการร่วมพลิกฟื้นสถานะของโรบินสัน จากนั้นจึงเข้าเป็นประธานกรรมการบริหาร บริษัท แฟมิลี่มาร์ท จำกัด ในปี พ.ศ. 2546 และเป็นประธานกรรมการ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ในปี พ.ศ. 2547-2550

งานการเมือง แก้

กนก เป็นประธานที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ และคณะกรรมการขับเคลื่อนวาระประชาชน ในช่วงการรณรงค์เลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 โดยรับผิดชอบทางด้านการศึกษาและเศรษฐกิจ

กนก ได้รับหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเงา ในการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีเงาของพรรคประชาธิปัตย์[3] ต่อมาได้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)

ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์[4] และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.อีกสมัย เช่นเดียวกับในปี พ.ศ. 2562[5] ต่อมาในวันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ศาสตราจารย์กนกได้ยื่นหนังสือลาออกจากสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์โดยมีผลทันทีทำให้ต้องพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยเตรียมย้ายไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคชาติไทยพัฒนา เพื่อทำงานด้านสิ่งแวดล้อม[6] กระทั่งวันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ศาสตราจารย์กนกได้สมัครสมาชิกพรรคชาติไทยพัฒนาแบบตลอดชีพ[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "เปิดรายชื่อกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 39 คน". bangkokbiznews. 2019-05-21.
  2. ระดับ 4 ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  3. "เว็บไซต์ ครม.เงา พรรคประชาธิปัตย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-25. สืบค้นเมื่อ 2021-08-12.
  4. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
  5. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 8 May 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 10 May 2019.
  6. "กนก" ลาออก "ปชป." ซบ "ชทพ." เตรียมทำงานด้านสิ่งแวดล้อม
  7. วราวุธ เปิดตัว"กนก วงษ์ตระหง่าน" ลั่น!ได้คลังสมองสำคัญ ก่อนเลือกตั้งปีหน้า
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
  9. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒๕, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑

แหล่งข้อมูลอื่น แก้