กฎหมายอวกาศ (อังกฤษ: space law) เป็นของเขตของกฎหมายซึ่งครอบคลุมกฎหมายประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมในอวกาศ นักกฎหมายระหว่างประเทศยังไม่สามารถตกลงเพื่อกำหนดคำจำกัดความของ "อวกาศ" ได้ ถึงแม้ว่านักกฎหมายส่วนใหญ่จะเห็นด้วยว่าอวกาศโดยทั่วไปเริ่มต้นจากความสูงที่ต่ำที่สุดที่วัตถุสามารถโคจรรอบโลกได้ คือ ประมาณ 100 กิโลเมตรจากระดับน้ำทะเล

สนธิสัญญาห้ามการทดสอบบางส่วน (1963) เป็นสนธิสัญญากฎหมายอวกาศนานาชาติฉบับแรก

การก่อตั้งขอบเขตของกฎหมายอวกาศเริ่มขึ้นเมื่อมีการส่งดาวเทียมดวงแรกของโลก สปุตนิก โดยสหภาพโซเวียตในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1957 ดาวเทียมที่ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศนั้นเป็นส่วนหนึ่งของปีธรณีฟิสิกส์สากล นับตั้งแต่นั้น กฎหมายอวกาศได้มีการพัฒนาและมีความสำคัญมากขึ้นเมื่อมนุษยชาติมีการใช้และพึ่งพาทรัพยากรในอวกาศเพิ่มมากขึ้น

ประวัติ แก้

ผลงานที่เก่าแก่ที่สุดชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับกฎหมายอวกาศ คือ Das Weltraum-Recht: Ein Problem der Raumfahrt (แปล: "กฎหมายอวกาศ: ปัญหาการเดินทางในอวกาศ") ของ Vladimír Mandl นักนิติศาสตร์ชาวเช็กเกีย เขียนเป็นภาษาเยอรมันและตีพิมพ์ในปี 1932 ซึ่งเป็นเวลา 35 ปีก่อนที่ดาวเทียมสปุตนิก 1 จะขึ้นสู่อวกาศ[1]

เริ่มต้นแต่ ค.ศ. 1957 ชาติต่าง ๆ ได้เริ่มปรึกษากันถึงระบบที่จะรับประกันการใช้อวกาศอย่างสันติ[2][3] การเจรจาสองฝ่ายระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1958 ส่งผลให้มีการนำเสนอประเด็นดังกล่าวต่อสหประชาชาติเพื่อทำการอภิปราย[2][4][5] ในปี ค.ศ. 1959 สหประชาชาติได้ก่อตั้งคณะกรรมการว่าด้วยการใช้อวกาศในทางสันติ (COPUOS)[6] ซึ่งสามารถแบ่งย่อยออกได้เป็นสองคณะกรรมการย่อย คือ คณะกรรมการย่อยด้านวิทยาศาสตร์และเทคนิค กับด้านกฎหมาย ซึ่งคณะกรรมการย่อยด้านกฎหมายของ COPUOS นี้เป็นที่พูดคุยหลักสำหรับการอภิปรายและการเจรจาเกี่ยวกับข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับอวกาศ

สนธิสัญญาระหว่างประเทศ แก้

ปัจจุบัน มีสนธิสัญญาระหว่างประเทศ 5 ฉบับ โดย COPUOS

สนธิสัญญาอวกาศเป็นสนธิสัญญาที่ได้รับการบังคับใช้อย่างกว้างขวางที่สุด โดยมีสมาชิกถึง 98 ประเทศ ข้อตกลงช่วยเหลือ อนุสัญญาความรับผิด และอนุสัญญาจดทะเบียน เป็นการอธิบายเพิ่มเติมจากข้อกฎหมายของสนธิสัญญาอวกาศ ผู้แทนสหประชาชาติมีเจตนาอย่างชัดเจนให้สนธิสัญญาจันทราถูกใช้เป็นสนธิสัญญญาที่ครอบคลุมฉบับใหม่ซึ่งสามารถเข้าแทนที่หรือเสริมสนธิสัญญาอวกาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โดยการอธิบายเพิ่มเติมจากข้อกฎหมายของสนธิสัญญาอวกาศว่าด้วยการจัดสรรทรัพยากรและการห้ามอ้างสิทธิ์ของรัฐเหนืออวกาศ สนธิสัญญาจันทรามีสมาชิกเพียง 12 ประเทศ และหลายฝ่ายเห็นว่าเป็นสนธิสัญญาที่ล้มเหลวเนื่องจากได้รับการยอมรับในวงจำกัด อินเดียเป็นเพียงประเทศเดียวที่ทั้งลงนามในสนธิสัญญาจันทราและประกาศว่าตนมีความสนใจที่จะไปดวงจันทร์ อินเดียยังมิได้ให้สัตยาบันในสนธิสัญญาดังกล่าว จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์สนธิสัญญาเพื่อทำความเข้าใจว่าจะส่งผลต่อกฎหมายของอินเดียอย่างไร

นอกเหนือจากนี้ สนธิสัญญาห้ามการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ในชั้นบรรยากาศ ในอวกาศ และใต้น้ำ ("สนธิสัญญาห้ามการทดลองนิวเคลียร์บางส่วน") ค.ศ. 1963 ยังห้ามการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ในอวกาศด้วยเช่นกัน

 
การประชุมคณะกรรมการกลุ่มผลประโยชน์ ค.ศ. 2014 ของสมาคมกฎหมายอวกาศระหว่างประเทศแห่งอเมริกา

อ้างอิง แก้

  1. Kopal, V. The Life and Work of Professor Vladimir Mandl – A Pioneer of Space Law. New Perspectives of Space Law - Proceedings of the 53rd IISL Colloquium on The Law of Outer Space. Paris: International Institute of Space Law, 2011, available online at http://www.iislweb.org/docs/NewPerspectivesonSpaceLaw.pdf เก็บถาวร 21 เมษายน 2021 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน German text of Vladmír Mandl's book is available online at https://www.law.csuohio.edu/sites/default/files/lawlibrary/mandldasweltraum-recht.pdf เก็บถาวร 21 เมษายน 2021 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน English translation is available online at https://ntrs.nasa.gov/api/citations/19850008388/downloads/19850008388.pdf เก็บถาวร 21 เมษายน 2021 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. 2.0 2.1 Hans-Joachim Heintze (3–5 มีนาคม 1999). Peaceful Uses of Outer Space and International Law. Space Use and Ethics. inesap.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 มีนาคม 2008.
  3. "Resolutions adopted on the reports of the first committee 1148 (XII)" (PDF). UN General Assembly Twelfth Session. pp. 3–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-06-24. สืบค้นเมื่อ 2023-06-24.
  4. N.Singh; E. WcWhinney. Nuclear Weapons and Contemporary International Law. p. 289.
  5. "Resolutions adopted on the reports of the first committee 1348 (XIII)" (PDF). UN General Assembly Thirteenth Session. pp. 5–6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-06-24. สืบค้นเมื่อ 2023-06-24.
  6. "United Nations Committee on the Peaceful Uses of Outer Space". United Nations Office for Outer Space Affairs.