ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หม่อมหลวงต่วนศรี วรวรรณ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 1 sources and tagging 0 as dead.) #IABot (v2.0.8
Dukeadinbera (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 32:
 
==ประวัติ==
หม่อมหลวงต่วนศรี วรวรรณ เป็นชาวบางกอกใหญ่ [[ธนบุรี]] เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีแรม 14 ค่ำ เดือน 9 ปีจอ ตรงกับวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2417<ref>[http://www.watsamphan.com/datawat/my08_builder/05_buider_other.html ประวัติศาสตร์ควรบันทึกไว้ สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี องค์บูรณะปฏิสังขรณ์วัดสัมพันธวงศ์] {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20180809082804/http://www.watsamphan.com/datawat/my08_builder/05_buider_other.html |date=2018-08-09 }}. สืบค้นเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2556</ref> ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นธิดาของหม่อมราชวงศ์ตาบ มนตรีกุล บุตรหม่อมเจ้าแบน โอรสใน[[สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี]] มารดาชื่อยิ้ม (สกุลเดิมศิริวันต์) สายราชสกุลมนตรีกุล ของหม่อมหลวงต่วนศรี เป็นสายที่มีความสามารถสูงในเชิงละครมาตั้งแต่[[สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรี]] ผู้เป็นต้นราชสกุลนี้
 
หม่อมหลวงต่วนศรี วรวรรณ มีศักดิ์เป็นหลาน ของ [[หม่อมราชวงค์ สนอง มนตรีกุล ณ อยุธยา|หม่อมราชวงศ์สนอง มนตรีกุล]]
บรรทัด 40:
เมื่อกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงตั้งคณะละครนฤมิตรขึ้น ท่านก็เป็นกำลังสำคัญในการแต่งเพลงในละครร้องทุกเรื่อง บทละครนั้น กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ทรงนิพนธ์อย่างรวดเร็วและท่านก็บรรจุเพลงได้อย่างรวดเร็วทันท่วงทีด้วย เรียกว่าไวกันกันทั้งคู่ วิธีการนั้นคือ ท่านจะเป็นผู้ดีดจะเข้และร้องเพลงไปพร้อมกัน รวมทั้งคิดท่ารำตีบทให้เสร็จที่ขั้นชื่อมากคือเรื่องพระลอ ละครเรื่องแรกที่ท่านมีส่วนช่วยเหลือมากคือเรื่องอาหรับราตรี ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเรื่องเป็นละครหลวงนฤมิตร จนเมื่อเกิดเป็น[[โรงละครปรีดาลัย]]ขึ้น ก็เรียกละครปรีดาลัย เพลงต่างๆ ในเรื่อง สาวเครือฟ้า ตุ๊กตายอดรัก พระเจ้าสีป๊อมินทร์ ขวดแก้วเจียรนัย ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เป็นฝีมือของท่านทั้งสิ้น ความเป็นอัจฉริยะทางดนตรีของท่านเห็นได้จากการแต่งเพลงและบรรจุเพลงลงในละครแต่ละเรื่อง เพราะปรากฏว่า ท่านแต่งเพลงเร็วมากและมีลูกเล่นยักเยื้องแพรวพราว เพลงสำเนียงลาวต่างๆ ที่ท่านนำมาบรรจุลงในละครเรื่องพระลอนั้น จริงอยู่ของเก่าก็มีอยู่บ้างแล้วเหมือนกัน แต่ท่านสามารถเปลี่ยนทำนองจนเกิดเป็นเพลงแนวใหม่ขึ้นได้อย่างฉับไว คุณสมบัติข้อนี้จะเห็นได้จากละครเรื่องพระเจ้าสิป๊อมินทร์ อีกเรื่องหนึ่ง เพราะท่านให้กำเนิดเพลงสำเนียงพม่าขึ้นมาใหม่ มีชื่อแปลกๆถึงกว่า 50 เพลง อาทิ พม่าพ้อ พม่าวอน พม่าพิโรธ พม่าตังคียก พม่าพรึม พม่าเหเฮ พม่าละห้อย และที่สำคัญคือเพลง [[พม่าประเทศ]] (ซึ่งในสมัยต่อมาสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยนำไปใช้ประกอบสัญญาณเทียบเวลา) ฯลฯ มากมายสุดจะพรรณนา ท่านมีอายุยืนมาก และความจำดีจนวาระสุดท้ายเมื่อท่านอายุเกิน 90 ปี ยังนั่งดูละครโทรศัน์ของกรมศิลปากรบ่อยๆ ท่านสามารถติชมวิจารณ์ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะถ้าเล่าเรื่องพระลอ แล้ว ท่านจะตั้งใจดูเป็นพิเศษ ถ้าเห็นผิดไปจากแนวเดิมของท่านก็แสดงความขุ่นข้องในใจทุกคราวไป<ref>[http://mulinet3.li.mahidol.ac.th/elib/cgi-bin/opacexe.exe?op=dig&db=MUSIC&pat=code&cat=aut&skin=u&lpp=16&catop=&scid=zzz&ref=A:@551&nx=1&lang=1 ต่วนศรี วรวรรณ, หม่อมหลวง (พ.ศ. 2417-2517)]. สืบค้นเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2556</ref>
 
ท่านถึงแก่กรรมด้วยโรคหัวใจวาย เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2517 รวมอายุได้ 99 ปี 4 เดือน ในการนี้[[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช]] รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานโกศราชนิกุล และพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ ในคราวพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันจันทร์ ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2517
 
==โอรส/ธิดา==