ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2551"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Patcha007 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 9:
หลัง[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550]] [[คณะกรรมการการเลือกตั้ง]]พบการทุจริต มีการให้ใบแดงและพิจารณาเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของนายมณเฑียร สงฆ์ประชา ผู้สมัครรับเลือกตั้งและรองเลขาธิการ[[พรรคชาติไทย]] กับนายสุนทร วิลาวัลย์ ผู้สมัครรับเลือกตั้งและรองหัวหน้า[[พรรคมัชฌิมาธิปไตย]]<ref name="thaipost">ไทยโพสต์, มติ กกต. 4:1 เชือด'ชท.-มฌ.', [[12 เมษายน]] 2551, หน้า 2</ref>
 
วันที่ [[16 เมษายน]] 2551 [[คณะกรรมการการเลือกตั้ง]]มีมติด้วยคะแนนเสียง 4 ต่อ 1 (มติเสียงข้างน้อย 1 เสียงในทั้งสองกรณี คือ [[สมชัย จึงประเสริฐ|นาย สมชัย จึงประเสริฐ]]) <ref name="thaipost" /> เห็นชอบตามที่นาย[[อภิชาต สุขัคคานนท์]] ประธาน กกต. ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง เสนอความเห็นให้ส่งสำนวนเรื่องการยุบ[[พรรคชาติไทย]]และ[[พรรคมัชฌิมาธิปไตย]]ให้อัยการสูงสุดพิจารณา
 
แม้ว่าคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงได้สรุปก่อนหน้านั้นว่าหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคคนอื่นในทั้งสองพรรค ไม่มีส่วนรู้เห็นต่อการกระทำผิดของนายมณเฑียร สงฆ์ประชา และนาย[[สุนทร วิลาวัลย์]] แต่การที่ทั้งสองคนต่างก็เป็นกรรมการบริหารพรรคเสียเอง กกต.จึงพิจารณาตามมาตรา 237 วรรคสอง ของ[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550]] และมาตรา 103 วรรคสอง ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]และการได้มาซึ่ง[[สมาชิกวุฒิสภา]] พ.ศ. 2550 ซึ่งบัญญัติไว้ตรงกันว่า ถ้าการกระทำดังกล่าวปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าหัวหน้าพรรคหรือกรรมการบริหารพรรคมีส่วนรู้เห็น หรือปล่อยปละละเลย หรือทราบแล้วไม่ได้ยับยั้งหรือแก้ไข เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้ถือว่าพรรคการเมืองนั้นกระทำการซึ่งให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ใน[[รัฐธรรมนูญ]]
 
ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ทำให้นายทะเบียนพรรคการเมือง (ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง) ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรา 95 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 ไม่อาจใช้ดุลยพินิจในการเลือกที่จะแจ้งหรือไม่แจ้งต่ออัยการสูงสุด
 
ส่วนกรณีที่พรรคมัชฌิมาธิปไตยแย้งว่านาย[[สุนทร วิลาวัลย์]] ได้พ้นจากตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคแล้ว เนื่องจากการลาออกของ[[ประชัย เลี่ยวไพรัตน์|นาย ประชัย เลี่ยวไพรัตน์]] ตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม 2550 ซึ่งทำให้กรรมการบริหารพรรคทั้งคณะสิ้นสุดลงพร้อมกันด้วยนั้น คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงไม่เห็นด้วย เนื่องจากพบว่าข้อบังคับพรรคข้อ 30 วรรคห้า ได้ระบุให้กรรมการบริหารพรรคอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่ากรรมการชุดใหม่จะเข้ามารับหน้าที่
 
ตามขั้นตอนทางกฎหมาย หากอัยการสูงสุดมีความเห็นสมควร อัยการสูงสุดจะยื่นคำร้องเพื่อให้[[ศาลรัฐธรรมนูญ]]มีคำสั่งยุบพรรค แต่หากอัยการสูงสุดมีความเห็นไม่ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ นายทะเบียนพรรคการเมืองจะต้องตั้งคณะทำงานโดยมีผู้แทนจากทั้งนายทะเบียนพรรคและอัยการสูงสุด รวบรวมพยานหลักฐาน และส่งให้อัยการสูงสุด เพื่อยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญต่อไป แต่หากในกรณีที่คณะทำงานดังกล่าวไม่อาจหาข้อยุติได้ภายใน 30 วัน นับแต่ที่ได้แต่งตั้งคณะทำงาน นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของ กกต. มีอำนาจยื่นคำร้องเองได้