ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาสติปัฏฐานสูตร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tapranksan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Tapranksan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 48:
มีประเด็นว่า มหาอรรถกถา<ref>ม.อ. (ปปญฺจ.๑) [http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_th.php?B=7&A=8141&w=อิริยาปถสมฺปชญฺ สติปฏฺฐานสุตฺตวณฺณนา]</ref>ไม่ให้ปฏิบัติวิปัสสนาโดยใช้อิริยาบถใหญ่และอิริยาบถย่อย เพราะอิริยาบถไม่ใช่[[สัมมสนรูป]], แต่พระมหาสิวะได้อธิบายวิธีที่สามารถนำมาทำวิปัสสนาได้ โดยการแยก[[รูปปรมัตถ์]]ออกจากอิริยาบถที่เป็น[[อัตถบัญญัติ]] แล้วทำวิปัสสนาเฉพาะในสัมมสนรูป. อย่างไรก็ตาม เมื่อวิเคราะห์โดยหลัก[[s:เนตติ_สังคหวาระ-อุทเทสวาระ-นิทเทสวาระ#หาระสังเขป|จตุพยูหหาระ]]แล้ว วัตถุประสงค์ของบรรพะนี้ คือ การเน้นให้[[โยคี]]ทำกรรมฐานที่เรียนมาเช่นอานาปานัสสติเป็นต้นตลอดเวลาไม่ขาดช่วง, ฉะนั้น มติของ[[มหาอรรถกถา]]จึงอธิบายโครงสร้างของสูตรได้ตรงตามพุทธประสงค์มากกว่า. ส่วนมติของพระมหาสิวะนั้นก็ถูกต้องตามหลักธรรมะและช่วยอธิบายเรื่องสมถยานิกและวิปัสสนายานิกที่มาในมหาอรรถกถาด้วย แม้จะไม่เข้ากับโครงสร้างของสูตรนี้ก็ตาม. ทั้งสองมติ'''ไม่ได้ขัดแย้งกัน'''และเป็นประโยชน์ทั้งคู่ พระพุทธโฆสาจารย์จึงไม่ตัดสินถูกผิดใดๆ ในสองมตินี้ เพียงแต่ให้มติของมหาอรรถกถาเป็นมติหลัก เพราะมติของมหาอรรถกถาเข้ากับโครงสร้างของสูตรมากกว่า.
 
อิริยาบถบรรพะและ[[สัมปชัญญะบรรพะ]]บรรพะ เป็นกรรมฐานที่เหมาะกับวิปัสสนายานิก เพราะ
 
:#[http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273&p=6&h=ไม่เกิดในอิริยาบถ%20สัมปชัญญะ#สรุปความ มหาอรรถกถา] ว่าบรรพะนี้ไม่ได้แสดงอารมณ์กรรมฐานไว้โดยตรง เพราะ'''เป็นแค่บรรพะที่ย้ำให้ทำกรรมฐานใดๆ ให้ตลอดเวลาไม่มีหยุดพัก''' จึงไม่แสดงอารมณ์ของกรรมฐานไว้โดยตรง, อิริยาบถเองก็เป็นทั้งบัญญัติด้วย ซ้ำอิริยาบถยังเป็นบัญญัติแบบเดียวกับอสัมมสนรูปด้วย อรรถกถาจึงกล่าวว่าไม่ต้องเรียนกรรมฐานใน 2 บรรพะนี้. อย่างไรก็ตามเมื่อทำธาตุมนสิการบรรพะแล้วจะสามารถแยกอิริยาบถบัญญัติจากปรมัตถ์ตามคำอธิบายของพระมหาสิวะด้านล่าง ก็จะได้อารมณ์เป็นรูปปรมัตถ์ ซึ่งรูปปรมัตถ์ไม่เป็นอารมณ์ของอัปปนาฌาน, ฉะนั้น อัปปนาจึงไม่เกิดในสองบรรพะนี้, แต่สามารถทำวิปัสสนาได้. ในมหาอรรถกถาของสองบรรพะนี้จึงแสดงวิปัสสนาไว้ และกล่าวว่าบรรพะนี้เหมาะกะสมถยานิก.