ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การทับศัพท์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 5:
 
นอกจากนี้ ไม่ควรสับสนระหว่างการทับศัพท์กับ[[การแปล]] ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนหรือเลือกคำในภาษาเพื่อสงวนความหมายดั้งเดิมเอาไว้ ในขณะที่การทับศัพท์เป็นการแปลงตัวอักษรเท่านั้น
 
== การทับศัพท์ในภาษาไทย ==
[[ราชบัณฑิตยสถาน]]ได้ประกาศหลักการทับศัพท์ไว้อย่างเป็นทางการ ทั้งจากภาษาอังกฤษไปเป็นภาษาไทย ซึ่งเป็นการทับศัพท์แบบผสมทั้งถอดอักษรและถอดเสียง <ref>[http://www.royin.go.th/th/profile/index.php?SystemModuleKey=127&SystemMenuID=1&SystemMenuIDS= หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ] ราชบัณฑิตยสถาน</ref> และจากอักษรไทยไปเป็นอักษรโรมัน ซึ่งเป็นการถอดเสียงเท่านั้น <ref>[http://www.royin.go.th/upload/246/FileUpload/416_2157.pdf หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถอดเสียง] ราชบัณฑิตยสถาน</ref>
 
ในการทับศัพท์จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย อักษรโรมันหลายตัวสามารถถอดด้วยอักษรไทยแบบหนึ่งต่อหนึ่ง เช่น d=ด, r=ร, l=ล, f=ฟ เป็นต้น และสามารถแปลงกลับได้ตัวเดิม แต่ก็มีอักษรโรมันบางตัวที่สามารถอ่านได้หลายเสียงในภาษาอังกฤษ หรือไม่มีเสียงที่เหมือนกันในอักษรไทย ส่วนนี้จึงต้องใช้การถอดเสียงเข้าช่วย โดยเฉพาะกับอักษรที่เป็น[[สระ]] เช่น a อาจเทียบเท่ากับเสียง เออะ อะ อา เอ แอ ออ หรือ[[ทวิอักษร]] [[Th (ทวิอักษร)|th]] ที่ออกเสียงเป็น {{IPA|/θ/, /ð/}} ก็ต้องดูว่าต้นฉบับอ่านอย่างไรจึงจะสามารถทับศัพท์ได้ใกล้เคียงที่สุด ส่วนนี้จึงมักจะเป็นปัญหาอันเนื่องจากแต่ละคนอ่านไม่เหมือนกันหรืออ่านด้วยต่าง[[สำเนียง]] ตัวอย่างเช่น ''tube'' [[ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน]]อ่านว่า {{IPA|/tub/}} จึงทับศัพท์ว่า ''ทูบ'' ส่วน[[ภาษาอังกฤษแบบบริเตน]]อ่านว่า {{IPA|/tyub/}} จึงทับศัพท์ว่า ''ทิวบ์'' หรือในกรณีที่ยึดถือหลักการทับศัพท์ต่างกัน เช่น ''theta'' อาจทับศัพท์เป็น ''ทีตา, ธีตา, เธตา, ซีตา, เซตา'' ซึ่งเป็นการทับศัพท์ตามใจและไม่มีหลักที่แน่นอน อย่างไรก็ตาม คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษบางคำก็ได้รับการบรรจุลงใน[[พจนานุกรม]]ภาษาไทย เพื่อกำหนดการสะกดคำในภาษาให้ตรงตามพจนานุกรมอย่างถาวร และถือว่าเป็น[[คำยืม]]ในภาษาไทย
 
ส่วนการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน ถึงแม้อักษรไทยบางตัวจะสามารถแทนได้ด้วยอักษรโรมันแบบหนึ่งต่อหนึ่งได้เช่นกัน แต่ก็มีอักษรไทยจำนวนมากที่กำหนดให้แทนด้วยอักษรตัวเดียวกัน หรือต้องใช้อักษรโรมันมากกว่าหนึ่งตัวเข้ามาประกอบ เช่น ฐ-ฑ-ฒ-ถ-ท-ธ=th, ง=ng, สระเอือ=uea บางครั้งพยัญชนะต้นและพยัญชนะสะกดก็ใช้อักษรโรมันต่างกันด้วย เช่น บ ถ้าเป็นพยัญชนะต้นใช้ b ถ้าเป็นพยัญชนะสะกดใช้ p เมื่อแปลงอักษรไปทั้งหมดแล้วทำให้ไม่สามารถถอดกลับมาเป็นอักษรไทยอย่างเดิมได้ และอาจทำให้คำอ่านเพี้ยนไปบ้าง ตัวอย่างเช่น ''บางกอก'' ทับศัพท์ได้เป็น ''Bangkok'' แต่ชาวต่างประเทศอาจจะอ่านว่า ''แบงค็อก'' ซึ่งก็เป็นเพียงเสียงอ่านที่ใกล้เคียงเท่านั้น ไม่ใช่เสียงที่แท้จริง
 
นอกจากนี้ยังมีมาตรฐาน [[ISO 11940]] สำหรับการถอดอักษรจากอักษรไทยไปเป็นอักษรโรมัน แต่ระบบนี้ก็ไม่เป็นที่นิยมใช้ เนื่องจากไม่เป็นไปตาม[[อักขรวิธี]] คือเมื่อถอดอักษรไปแล้วอาจจะอ่านไม่ออกไปเลย เช่น ''เครื่อง'' เมื่อถอดอักษรด้วยระบบนี้จะได้ ''{{unicode|ekhrụ̄̀xng}}'' ซึ่งสามารถแปลงกลับเป็นคำเดิมได้แต่อ่านไม่ได้ ในขณะที่หลักของราชบัณฑิตยสถานทับศัพท์ได้ว่า ''khrueang'' ซึ่งพออ่านได้บ้าง
 
== อ้างอิง ==