ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษามองโกเลีย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Phyblas (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Phyblas (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 21:
 
== การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์ ==
ภาษามองโกเลียเป็นภาษาประจำชาติของ[[ประเทศมองโกเลีย]] มีผู้พูดราว 2.5 ล้านคน และยังเป็นภาษาราชการใน[[เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน]]ในประเทศจีนที่มีผู้พูดประมาณ 2.7 ล้านคนหรือมากกว่า ยึดสำเนียงชาฮาร์เป็นมาตรฐาน แต่จำนวนผู้พูดภาษานี้ที่แน่นอนในจีนประเมินได้ยาก นอกจากนี้แล้วมีผู้พูดภาษามองโกเลียสำเนียงต่างๆใน[[มณฑลเหลียวหนิง]] [[มณฑลจี๋หลิน]] และ[[มณฑลเฮย์หลงเจียง]]ในบริเวณที่ติดต่อกับมองโกเลียในด้วย
== การจัดจำแนกและสำเนียง ==
ภาษามองโกเลียจัดเป็นภาษาใน[[กลุ่มภาษามองโกล]] ซึ่งสมาชิกในกลุ่มนี้รวมทั้ง[[ภาษามองโกลคามนิกัน]]และ[[ภาษาดากูร์]] ที่ใช้พูดทางตะวันออกของมองโกเลียและในซินเจียงอุยกูร์ [[ภาษาชิรายูกูร์]] [[ภาษาบอนัน]] [[ภาษาต้งเซี่ยง]] [[ภาษามองเกอร์]] และ[[ภาษากังเจีย]] ที่ใช้พูดในบริเวณชิงไห่และกานซู และอาจรวมถึง[[ภาษาโมโฆล]]ที่เป็นภาษาตายไปแล้วใน[[อัฟกานิสถาน]] เส้นแบ่งระหว่างการเป็นสำเนียงและเป็นภาษาเอกเทศภายในกลุ่มภาษามองโกลยังเป็นที่โต้เถียงกัน
 
สำเนียงฮัลฮ์ถือเป็นสำเนียงมาตรฐานของภาษามองโกเลีย แต่การกำหนดสำเนียงย่อยยังมีความเห็นต่างกัน Sanžeev (1953) เสนอว่าภาษามองโกเลียมี 3 สำเนียงคือ ฮัลฮ์ ซาชาฮาร์ และออร์ดอส ส่วนบูร์ยัตและออยรัตเป็นภาษาเอกเทศ Luvsanvandan (1959) เสนอต่างไปว่าภาษามองโกเลียประกอบไปด้วยกลุ่มสำเนียงกลาง (ฮัลฮ์ ซาชาฮาร์ ออร์ดอส) กลุ่มสำเนียงตะวันออก (ฮาร์ชิน ฮอร์ชิน) กลุ่มสำเนียงตะวันตก (ออยรัต ฮัลมิก) และกลุ่มสำเนียงเหนือ (ภาษาบูร์ยัตทั้งสองสำเนียง) นักวิชาการตะวันตกบางกลุ่มแยกภาษาออร์ดอสออกมาเป็นภาษาเอกเทศ ในมองโกเลียใน แบ่งภาษามองโกเลียเป็น 3 สำเนียงคือ สำเนียงมองโกเลียใต้ สำเนียงออยรัต และสำเนียงบาร์ฆู-บูร์ยัต
 
== คำยืม ==