ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประพาศ ศกุนตนาค"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ภาพ:21438 010.jpg|thumb|200px|right|พล.ต.ประพาศ ศกุนตนาค ขณะอ่านประกาศของคณะปฏิรูป ฯ เมื่อคืนวันที่ [[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549|19 กันยายน พ.ศ. 2549]]]]
'''พลตรีประพาศ ศกุนตนาค''' เกิดเมื่อปี [[พ.ศ. 2478]] เป็นบุตรชายของอดีตนายอำเภอที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกรณี[[กบฏบวรเดช]] ในปี [[พ.ศ. 2476]] พล.ต.ประพาศ จบ[[โรงเรียนเตรียมทหาร]] รุ่นเดียวกับ พล.ต.อ.[[ชลอ เกิดเทศ]] [[โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า]] (จปร.) รุ่นที่ 10 และนายทหารพิเศษ ประจำ กรม นนร. จปร. รุ่นเดียวกับ พล.อ.[[ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา]]
 
รับราชการอยู่ใน[[กรมการทหารสื่อสาร]]มาโดยตลอด เป็นผู้ประกาศข่าวของ[[ช่อง 7]] ยุคก่อตั้งสถานีที่ยังคงอยู่ในความดูแลของ[[ช่อง 5]] และยังออกอากาศเป็นภาพ[[ขาวดำ]]อยู่ จากนั้นในปี [[พ.ศ. 2515]] จึงได้มีโอกาสแสดงละครเวทีต่อหน้าพระที่นั่ง และละครโทรทัศน์หลายเรื่องด้วยกัน โดยเรื่องที่สร้างชื่อเสียงได้แก่ [[สี่แผ่นดิน]] ในปี [[พ.ศ. 2517]] โดยรับบทเป็น คุณเปรม ตัวเอกของเรื่องด้วย
บรรทัด 8:
หน้าที่สุดท้าย คือ เป็นที่ปรึกษาผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ช่อง 5 แต่ยังได้รับโอกาสให้เป็นผู้บรรยายงานพระราชพิธีและรัฐพิธีหลายต่อหลายครั้ง โดยงานที่ภูมิใจที่สุดคือ เป็นหัวหน้าผู้บรรยายในงาน[[งานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๔๙|พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี]] ในปี [[พ.ศ. 2549]]
 
พล.ต.ประพาศ ศกุนตนาค ได้รับฉายาว่าเป็น " โฆษกคณะปฏิวัติ " เช่นเดียวกับนาย[[อาคม มกรานนท์]] เนื่องจากมักเป็นผู้ที่อ่านประกาศของคณะรัฐประหารหรือคณะปฏิรูปหรือเหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่เกี่ยวกับสถานการณ์ความมั่นคงของชาติหลายครั้ง เช่น เป็นผู้อ่านประกาศของ[[คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ]] (รสช.) ในเหตุการณ์[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534|รัฐประหาร เมื่อปี พ.ศ. 2534]] หรือ อ่านประกาศ[[สถานการณ์ฉุกเฉิน]]ใน[[เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ]] ปี [[พ.ศ. 2535]] และ อ่านประกาศของ[[คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข]] (คปค.) ในการ[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549|รัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2549]] เป็นต้น
 
ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิก[[สภานิติบัญญัติแห่งชาติ]] พ.ศ. 2549