ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Kkaann (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 37:
}}
 
'''พระเจ้าวิลเลียมที่ 4''' ({{lang-en|William IV}}) (21 สิงหาคม ค.ศ. 1765 – 20 มิถุนายน ค.ศ. 1837) เป็น[[พระมหากษัตริย์]]แห่ง[[สหราชอาณาจักร]]และ[[ราชอาณาจักรฮันโนเฟอร์]] สมัย[[ราชวงศ์แฮโนเวอร์]] แห่งระหว่างปี ค.ศ. 1830 ถึงปี ค.ศ. 1837
 
== พระราชประวัติ ==
'''พระเจ้าวิลเลียมที่ 4''' ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1765 ณ [[พระราชวังบักกิงแฮม]] กรุง[[ลอนดอน]] เป็นพระราชโอรสลำดับที่ 3 ใน[[พระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร|พระเจ้าจอร์จที่ 3]] และ[[ชาร์ล็อทเทอแห่งเมคเลินบวร์ค-ชเตรลิทซ์|สมเด็จพระราชินีชาร์ล็อทเทอแห่งสหราชอาณาจักร]] เข้า[[พิธีบัพติศมา]]เมื่อวันที่ 18 กันยายน ทรงเสกสมรสกับ[[อาเดิลไฮด์แห่งซัคเซิน-ไมนิงเงิน|ดัชเชสแอเดเลดแห่งเมคเลินบวร์ค-ชเตรลิทซ์]] ครองราชย์ระหว่างวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 1830 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1837 ที่[[พระราชวังวินด์เซอร์]] บาร์คเชอร์ พระบรมศพประดิษฐานใน[[โบสถ์น้อยเซนต์จอร์จ พระราชวังวินด์เซอร์]]
 
พระเจ้าวิลเลียมที่ 4 เป็นพระอนุชาของ[[พระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร|พระเจ้าจอร์จที่ 4]] และเป็นพระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์แฮโนเวอร์ในสหราชอาณาจักร เมื่อยังทรงพระเยาว์ทรงทำราชการใน[[ราชนาวี]] จึงทรงได้รับพระนามเล่นว่า “พระราชากะลาสี” รัชสมัยของพระองค์มีการปฏิรูปหลายอย่างเช่นการปรับปรุง “กฎหมายประชาสงเคราะห์” (Poor Law) รัฐบาลท้องถิ่นเปลื่ยนแปลงเป็นระบอบ[[ประชาธิปไตย]] การจำกัด[[การใช้แรงงานเด็ก]]และ[[การเลิกทาส]]ทั่ว[[จักรวรรดิอังกฤษ]] การปฏิรูปที่สำคัญที่สุดในรัชสมัยของพระองค์คือ [[กฎหมายผู้แทนราษฎร ค.ศ. 1832]] (Representation of the People Act 1832) หรือ “กฎหมายปฏิรูป ค.ศ. 1832” ซึ่งเป็นกฎหมายที่เปลี่ยนแปลงระบบการเลือกตั้งของอังกฤษ พระเจ้าวิลเลียมที่ 4 มิได้เข้าไปเกี่ยวข้องทางการเมืองมากเท่าพระเจ้าจอร์จที่ 3 หรือ พระเจ้าจอร์จที่ 4 แต่ก็แต่งตั้ง[[นายกรัฐมนตรี]]ที่ไม่ตรงกับความต้องการของรัฐสภาในปี ค.ศ. 1834 พระราชทาน[[รัฐธรรมนูญ]]ต่อ[[ราชอาณาจักรฮันโนเฟอร์]]ที่เป็นอีกราชอาณาจักรหนึ่งที่ทรงเป็นประมุข