ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดมเหยงคณ์ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ปรับปรุงสมณศักดิ์ของหลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี จากเดิม "พระครูเกษมธรรมฑัต" เป็น "พระภาวนาเขมคุณ"
Dharmadana (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 40:
วัดมเหยงคณ์ หรือ '''วัดมหิยงคณ์''' มีความหมายถึง ภูเขา หรือ เนินดิน คำว่า มเหยงคน์เป็นชื่อของพระธาตุที่มีความสำคัญของศรีลังกา เรียกว่า ''มหิยังคณ์เจดีย์'' เดิมเป็นพระอารามหลวงฝ่ายวิปัสสนาธุระ
 
==ประวัติ==
ประวัติการสร้างวัดกล่าวถึง พระนางกัลยาณี พระมเหสีของเจ้าสามพระยา เป็นผู้สร้าง หลังจากที่[[เจ้าสามพระยา]] หรือ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ทรงสร้าง[[วัดกุฎีดาว]] ก่อนจะสถาปนา[[กรุงศรีอยุธยา]]ราว 40 ปี<ref>{{cite web |title=วัดมเหยงคณ์ |url=https://thai.tourismthailand.org/Attraction/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B9%8C |publisher=การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)}}</ref> แต่กระนั้นตาม[[พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ]] กล่าวว่า ปีศักราชที่ 800 มะเมียศก หรือ ปี พ.ศ. 1981 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ทรงสร้างวัดมเหยงคณ์ วัดมีความเจริญรุ่งเรืองสืบมานานหลายร้อยปี กระทั่งมารกร้างและต้องทำการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ในสมัย[[พระเจ้าท้ายสระ]] และรุ่งเรืองสืบมาจนถึงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310 ได้ถูกทำลายและทิ้งร้างอีกครั้ง จนเมื่อ พ.ศ. 2527 พระภาวนาเขมคุณ (หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี) เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ ได้จัดตั้งสำนักกรรมฐานขึ้นที่วัดมเหยงคณ์ เพื่ออบรมวิปัสสนาให้กับบุคคลทั่วไป ปัจจุบัน[[กรมศิลปากร]]ได้ขึ้นทะเบียนวัดมเหยงคณ์เป็นโบราณสถานของชาติ ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2484 กระทรวงศึกษาธิการประกาศตั้งเป็นวัดเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2544<ref>{{cite web |title=ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ตั้งวัดในพระพุทธศาสนา (วัดมเหยงคณ์) |url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00041089.PDF |publisher=ราชกิจจานุเบกษา}}</ref>
 
==เสนาสนะ==
ส่วน[[อุโบสถ]]ที่เป็นโบราณสถาน ตั้งอยู่บนฐานสูง 2 ชั้น ความกว้าง 18 เมตร ความยาว 36 เมตร มีประตูทางเข้าด้านตะวันออก 3 ช่อง ด้านตะวันตก 2 ช่อง มี[[เจดีย์]]ฐานช้างล้อม อยู่ด้านหลังอุโบสถทางทิศตะวันตก พ้นเขตกำแพงแก้ว ลักษณะขององค์เจดีย์เป็นรูปแบบของลังกาเหนือ เหมือนเจดีย์ช้างล้อมที่สุโขทัย ภายในอุโบสถมี หลวงพ่อหินทรายศักดิ์สิทธิ พระประธานในอุโบสถ ที่ยังคงปรากฏให้เห็นคือ หักล้มลงเป็นท่อน ลานดินรูปเกือบจะสี่เหลี่ยมจัตุรัส ที่เรียกว่า ''โคกโพธิ์'' ด้านทิศตะวันออก ของเขตพุทธาวาส กว้าง 50 เมตร ยาว 58 เมตร สันนิษฐานว่า เคยเป็นพลับพลาที่ประทับของพระเจ้าหงสาวดี [[พระเจ้าตะเบ็งชเวตี้]]<ref>{{cite web |title='วัดมเหยงคณ์'เพชรงามเมืองอโยธยา ที่กลับมามีชีวิตอีก |url=https://www.dailynews.co.th/article/758034 |publisher=เดลินิวส์}}</ref>