ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เวิ้งนาครเขษม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว
บรรทัด 14:
ถึงยุคปัจจุบัน บริเวณแห่งนี้เป็นสมบัติกองมรดกรวมของตระกูล 5 ตระกูล ประกอบด้วย กิติยากร สวัสดิวัตน์ เทวกุล โสณกุล และบุณยะปานะ ซึ่งสืบสายจากพระธิดาทั้ง 5 ของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต และได้โอนกรรมสิทธิ์ขายที่ดินให้บริษัท ทีซีซี เวิ้งนาครเขษม จำกัด บริหารจัดการ ด้วยราคาประมาณ 4,800 ล้านบาท โดยทำการโอนเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555<ref>[http://www.thairath.co.th/content/280520 'เวิ้งนาครเขษม' ตอนที่ 1 : เจ้าสัวเจริญตั้งโจทย์ขอ 300 ล้าน!!!]</ref>
 
บริเวณที่ดินแปลงนี้ ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครฉบับปัจจุบัน และร่างฉบับใหม่ที่จะประกาศเดือนพฤษภาคม 2556 ได้กำหนดเป็นพื้นที่สีแดง "พ.3" หรือที่ดินประเภทพาณิชยกรรม สามารถพัฒนาได้ทั้งที่อยู่อาศัยและเชิงพาณิชย์ แต่มีพื้นที่ไม่เกิน 1 หมื่นตารางเมตร หากจะสร้างเกินจะต้องอยู่ในเขตทางมีความกว้างไม่น้อยกว่า 10, 16 และ 30 เมตร หรือรัศมี 500 เมตร จากสถานีรถไฟฟ้า MRT สถานีสามยอด มีมูลค่าพุ่งไปถึงกว่า 8.2 พันล้านบาท ตามรายงานแจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยของ AWC ที่วางแผนซื้อที่ดินแปลงนี้ผ่านการเข้าซื้อหุ้นสามัญทั้งหมดของบริษัท ทีซีซี เวิ้งนาครเขษม จำกัด ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ TCC ของเจ้าสัวเจริญ
 
ราคาดังกล่าวถือว่าพุ่งแรงถึง 84% หรือเกือบเท่าตัว และเป็นการสร้าง Benchmark ใหม่ให้กับราคาที่ดินย่านเจริญกรุง-เยาวราชที่ตารางวาละ 1.42 ล้านบาท หลังจากไม่มีการซื้อขายที่ดินในย่านนี้มานาน
 
ขณะที่ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินของกรมธนารักษ์รอบปี 2559-2562 บริเวณถนนเจริญกรุง ขยับขึ้นเพียง 10% จากรอบก่อนในปี 2555-2558 เท่านั้น
 
โดยแปลงนี้ที่มีโฉนดเลขที่ 3105 เลขที่ดิน 679 หน้าสำรวจ 880 มีราคาประเมินอยู่ที่ 435,000 บาทต่อตารางวา รวมมูลค่า 2,519,085,000 บาท ซึ่งราคาดังกล่าวจะทำให้ที่ดินแปลงนี้ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในอัตรา 0.6% หรือ 15.11 ล้านบาทต่อปี
 
===พัฒนาเป็นโครงการมิกซ์ยูส===
นอกจากเงินลงทุนจำนวน 8,265 ล้านบาทในการซื้อที่ดินเวิ้งนาครเขษม AWC มีแผนใช้เงินอีก 8,247.8 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงการมิกซ์ยูสบนที่ดินแปลงดังกล่าว โดยมีพื้นที่ก่อสร้างรวม 162,148 ตารางเมตร
 
โครงการเวิ้งนาครเขษมจะประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่
 
*โรงแรมระดับลักชัวรีอินเตอร์คอนติเนนตัล (ของ IHG Hotels & Resorts)
*โรงแรมแบบบูติก
*Branded Residence หรือคอนโดมิเนียมที่บริหารโดยแบรนด์โรงแรมลักชัวรี
*Branded Residence ที่บริหารโดยแบรนด์โรงแรมบูติก
*พื้นที่ค้าปลีก โดยจะมีเจดีย์จีนสูงไม่เกิน 8 ชั้นที่จะโดดเด่นเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ของเยาวราชหรือไชน่าทาวน์ของไทย
 
สำหรับพื้นที่ค้าปลีกจะมีการสร้างพื้นที่ชั้นใต้ดินที่ AWC ตั้งใจพัฒนาให้เป็นพื้นที่ค้าปลีกใต้ดินขนาดใหญ่สุดในกรุงเทพฯ เพื่อเปิดประสบการณ์การช้อปปิ้งในรูปแบบใหม่ ซึ่งหากสามารถต่อเชื่อมพื้นที่ค้าปลีกชั้นใต้ดินนี้ไปยังชั้นแพลตฟอร์มของรถไฟฟ้า MRT สถานีสามยอดที่อยู่ไม่ไกลจากโครงการ กรุงเทพฯ ก็จะได้มีย่านช้อปปิ้งในสถานีรถไฟฟ้าเหมือนสถานีโตเกียวแน่นอน
 
ตามไทม์ไลน์การพัฒนาที่จะทยอยเปิดตัวในไตรมาส 1 ถึง 3 ปี 2570 โดยที่จอดรถสามารถเปิดให้บริการก่อนในไตรมาส 3/69 ทาง AWC เชื่อว่า โครงการจะแล้วเสร็จในช่วงที่ตลาดท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวต่างชาติกลับมาบูมอีกครั้ง
 
ก่อนหน้านี้ วัลลภา ไตรโสรัส ซีอีโอ AWC และลูกสาวคนกลางของเจ้าสัวเจริญ เคยกล่าวถึงแผนพัฒนาโครงการเวิ้งนาครเขษม ซึ่งอยู่ระหว่างการออกแบบไว้ว่า จะอนุรักษ์เรื่องราวประวัติศาสตร์ของทำเลและจุดกำเนิดของเวิ้งนาครเขษมไว้เป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวเฉกเช่นที่เคยพัฒนา Asiatique ที่ยังคงกลิ่นอายประวัติศาสตร์ท่าเรือริมน้ำและโกดังเก่าเอาไว้
 
โครงการเวิ้งนาครเขษมจะประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ โรงแรมระดับลักชัวรี, โรงแรมแบบบูติก, Branded Residence หรือคอนโดมิเนียมที่บริหารโดยแบรนด์โรงแรมลักชัวรี, Branded Residence ที่บริหารโดยแบรนด์โรงแรมบูติก และพื้นที่ค้าปลีก โดยจะมีเจดีย์จีนสูงไม่เกิน 8 ชั้น ที่จะโดดเด่นเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ของเยาวราชหรือไชน่าทาวน์ของไทย
 
ล่าสุดได้มีการเปิดเผยแล้วจาก IHG Hotels & Resorts ว่าได้ลงนามกับ ​AWC สำหรับการบริหารโรงแรมทั้ง 3 แห่งในประเทศไทย ประกอบไปด้วยโรงแรมแห่งใหม่ อินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ ไชน่าทาวน์ ซึ่งเป็นโรงแรมแนวลักชัวรีแห่งแรกในย่านไชน่าทาวน์ และอีกสองโครงการที่จะสร้างในย่านไชน่าทาวน์และพัทยา ซึ่งรวมแล้วกว่า 629 ห้องพัก
 
สำหรับโรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ ไชน่าทาวน์ นั้น มีการระบุว่า จะถูกตั้งอยู่อย่างกลมกลืนท่ามกลางย่านประวัติศาสตร์อย่างเวิ้งนาครเขษม โดยมีห้องพักกว่า 332 ห้อง และมีกำหนดการจะเปิดบริการในปี 2569 นอกจากนี้ยังมีโรงแรมแนวไลฟ์สไตล์-บูติก ซึ่งมีจำนวนห้องพักทั้งหมด 63 ห้อง โดยโรงแรมดัดแปลงมาจากอาคารพาณิชย์แบบดั้งเดิมขนาด 4 ชั้น แต่ยังไม่ได้รับการเปิดเผยว่าจะเปิดช่วงไหน
 
ตามข้อมูลจาก IHG Hotels & Resorts ระบุด้วยว่า ภายใต้โครงการเวิ้งนาครเขษมจะมีร้านค้าปลีกใต้ดินที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งใหม่อย่างเจดีย์ทองคำ ที่กำลังอยู่ในแผนพัฒนา
 
ขณะที่อีกหนึ่งโรงแรมสไตล์บูติกภายใต้ข้อตกลงนี้ มีแผนจะเปิดให้บริการในช่วงต้นปี 2567 โดยโรงแรมตั้งอยู่ในโครงการอควอทีค (Aquatique) ที่ตั้งอยู่ในพัทยา ซึ่งประกอบไปด้วยโรงแรมที่มีห้องพักและห้องสวีท 234 ห้อง ห้างร้าน ร้านอาหาร และพื้นที่จัดการประชุม
 
“AWC ยังคงเชื่อมั่นในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย และเดินหน้าลงทุนสร้างโครงการคุณภาพ เสริมความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย” วัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ AWC กล่าว พร้อมเสริมว่า “การขยายความร่วมมือของเรากับ IHG ในครั้งนี้ นับเป็นการเพิ่มความหลากหลายให้กับพอร์ตด้านธุรกิจโรงแรมและการบริการของเรา ซึ่งจะสามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้หลากหลายกลุ่มมากยิ่งขึ้น”
 
ด้าน ราจิต สุขุมารัน กรรมการบริหาร อินเตอร์คอนติเนนตัล โฮเต็ลส์ กรุ๊ป (IHG) ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเกาหลี ระบุว่า ทางบริษัทมีแผนที่จะขยายพอร์ตโฟลิโอในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอีกเป็น 2 เท่าตัว ในอีก 3-5 ปีข้างหน้า
 
== การค้า ==