ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศรีสุดา รัชตะวรรณ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Supawat.tiger. (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 58:
ศรีสุดาชอบร้องเพลงมาตั้งแต่เด็กแต่คุณพ่อของศรีสุดาไม่ชอบดนตรี และไม่สนับสนุนให้ลูกๆเอาดีทางด้านนี้เลย ต่างจากคุณปู่ หลวงชำนาญรักษาราษฎร์ ซึ่งรับราชการเป็นนายอำเภอที่รักชอบดนตรี จนถึงมีวงดนตรีไทยเป็นของตนเอง ซึ่งในวันเด็กศรีสุดาจะหาเพลงฟังได้ยากมากเนื่องจากอยู่นอกเมือง โดยส่วนมากจะฟังจากวิทยุ[[กรมโฆษณาการ]]โดยจะนั่งจดเนื้อเพลงจากวิทยุ บางครั้งกินข้าวอยู่ก็ทิ้งจานข้าวมาจดเพลง เมื่อคราวศึกษาอยู่ตนจะเป็นผู้นำเต้นและร้องเพลงยั่วสีอื่นเมื่อ[[แข่งกีฬาสี]]จนชนะ
 
ในปีพ.ศ. 2489-2490 ศรีสุดาได้ย้ายมาอยู่สี่[[แยกพรานนก]] โดยตั้งใจมาเรียที่วัดระฆัง แต่ใจรักการร้องเพลงจึงได้ไปสมัครเป็นนักร้อง[[วงดนตรีกรมโฆษณาการ]]หรือ[[วงดนตรีสุนทราภรณ์]]จากการชักชวนของครู[[แก้ว อัจฉริยะกุล]]เมื่อปีพ.ศ. 2491 แต่อัตรานักร้องหญิงเต็ม จึงไปสมัครงานเป็นเสมียนที่กรมไปรษณีย์กลาง และได้พบกับครู[[พจน์ จารุวณิช]] เจ้าของคณะละครวิทยุ และ[[วงดนตรีจารุกนก]] และได้มีโอกาสเล่นละครและร้องเพลงร่วมกับวง ระหว่าง พ.ศ. 2491 - 2495 ผลงานในช่วงนี้ เช่น อาวรณ์รัก พบกันด้วยเพลง ความรักที่ไม่แน่นอน น้ำตาลน้ำตา ครวญถึงคู่ รักอะไรดี เป็นต้น
 
ในปี พ.ศ. 2495 ช่วงเปลี่ยนจากกรมโฆษณาการเป็น[[กรมประชาสัมพันธ์]] ตำแหน่งนักร้องหญิงของวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ว่างลง เนื่องจาก[[มัณฑนา โมรากุล]],[[เพ็ญศรี พุ่มชูศรี]] และ[[จันทนา โอบายวาทย์]] ลาออก ศรีสุดา รัชตะวรรณจึงไปสมัครเป็นนักร้องอีกครั้ง โดยใช้เพลงทดสอบคือ ดอกไม้ใกล้มือ คนึงครวญ และ คลื่นกระทบฝั่ง ในครั้งนั้น มีผู้สอบผ่านเข้าเป็นนักร้องในคราวเดียวกัน 3 คน โดย[[วรนุช อารีย์]]สอบได้ที่ 1 ศรีสุดาได้ที่2 และ [[พูลศรี เจริญพงษ์]]ได้ที่3 <ref name="ศรีสุดา"/>
 
เมื่อมาอยู่[[วงดนตรีสุนทราภรณ์]]ได้บันทึกเสียงเพลง'''กามฤทธิ์'''เป็นเพลงแรก ตามด้วยเพลงอื่นๆอีกมากมาก ซึ่งลักษณะพิเศษของศรีสุดา รัชตะวรรณ คือ เป็นผู้มีพรสวรรค์ด้านน้ำเสียงที่เป็นอมตะเป็นสัญลักษณ์ของความสดชื่นในด้านเสียงเพลง เพราะเมื่อใดก็ตามถ้ามีงานหรือมีการแสดงหรือขับร้องเพลงในแนวของเพลงที่ให้ความสนุกสนานสดชื่นหรือเพลงปลุกใจชื่อของศรีสุดา รัชตะวรรณ จะโดดเด่นขึ้นมาทันทีอีกทั้งยังสะกดท่านผู้ฟังและผู้ชมให้สนุกสนานไปด้วยจากท่วงทํานองท่วงทำนองของเพลงในจังหวะร่าเริง ที่ใช้นํานำมาขับร้องประกอบการเต้นรําเต้นรำในจังหวะต่างๆ แม้กระทั่งในวันประเพณีสําคัญสำคัญ เช่น ปีใหม่ สงกรานต์ ลอยกระทง เป็นต้น
 
ศรีสุดาโด่งดังเป็นอย่างมากเมื่อได้ขับร้องเพลงสนุกๆคู่กับคู่ขวัญ คือ[[เลิศ ประสมทรัพย์]] โดยทั้งคู่มีผลงานร้องร่วมกันทั้งเพลงคู่ เพลงรำวง เพลงตลุง จนมีคนคิดว่าทั้งสองเป็นคู่ชีวิตกัน
บรรทัด 82:
 
===อาการเจ็บป่วย และบั้นปลายชีวิต===
วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 ได้รับการผ่าตัดทำการฉีดสี เพื่อทำบอลลูนหัวใจ แต่เธอเองก็มีความกลัวเพราะเคยแพ้ยาสลบ ในขณะที่กำลังผ่าตัดได้เกิดไฟดับขึ้น ทำให้เธอมีอาการสมองขาดเลือด ไม่รู้สึกตัวอยู่ห้องICU 2 เดือน
 
ต่อมาพี่น้องของศรีสุดานำมารักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีอาการดีขึ้นทานอาหารได้พูดได้พยุงเดินได้ แต่ไม่สามารถลืมตาเองได้ สามารถมองเห็นได้ชัดเมื่อเปิดหนังตาข้างหนึ่งแล้วปิดข้างหนึ่งไว้