ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไรน์ฮาร์ท ไฮดริช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 211:
ในกรุงลอนดอน [[รัฐบาลพลัดถิ่นเชโกสโลวาเกีย]]ได้ตัดสินใจที่จะกำจัดไฮดริช Jan Kubiš และ Jozef Gabčík หัวหน้าทีมที่ถูกเลือกในการทำภารกิจครั้งนี้ ซึ่งได้รับการฝึกจาก[[ฝ่ายบริหารปฏิบัติการพิเศษ]](SOE) ของบริติช เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม ค.ศ. 1941 พวกเขาได้โดดร่มเข้าไปในรัฐในอารักขา ซึ่งพวกเขาได้อาศัยในที่หลบซ่อน เตรียมความพร้อมในการทำภารกิจครั้งนี้{{sfn|Calic|1985|p=254}}
 
วันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1942 ไฮดริชมีแผนที่จะเข้าพบกับฮิตเลอร์ในกรุงเบอร์ลิน เอกสารเยอรมันได้ระบุว่า ฮิตเลอร์ตั้งใจที่จะย้ายเขาไปยังฝรั่งเศสที่ถูกยึดครองโดยเยอรมัน ที่นั้น[[ขบวนการต่อต้านฝรั่งเศส|ฝ่ายต่อต้านฝรั่งเศส]]กำลังเป็นที่จุดสนใจ{{sfn|Bryant|2007|p=175}} เพื่อการเดินทางจากบ้านสู่สนามบิน ไฮดริชจะต้องผ่านส่วนหนึ่งที่ถนนเดรสเดิน-ปรากมาบรรจบกับถนนสู่สะพานโทรยา ทางสี่แยกไฟแดงในลิเบ็น(Libeň) ย่านชานเมืองในกรุงปรากเป็นจุดตำแหน่งที่เหมาะพอดีในการเข้าโจมตี เนื่องจากคนขับจะต้องชะลอรถในทางโค้งหักศอก ในขณะที่รถของไฮดริชได้ชะลอรถอย่างช้า ๆ Gabčík จึงเล็งด้วย[[สเตน|ปืนกลมือสเตน]]พร้อมลั่นไกยิง แต่ปืนกลับขัดลำกล้องจนยิงไม่ออก ไฮดริชได้สั่งให้คนขับรถของเขานามว่า ไคลน์ ทำการหยุดรถและพยายามที่จะเผชิญหน้ากับ Gabčík แทนที่จะรีบหนีไป Kubiš ซึ่งยังไม่ถูกพบโดยไฮดริชหรือไคลน์ ก็ได้โยนทุ่นระเบิดที่ถูกดัดแปลงมาใส่ไปยังรถยนต์ที่จอดอยู่ โดยตกลงไปที่ล้อส่วนหลัง แรงระเบิดได้ฉีกทะลุแผ่นบังโคลนด้านขวาหลังและไฮดริชก็ได้รับบาดเจ็บ โดยมีเศษโลหะและเส้นใยจากเบาะรถนั่ง ทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงกับด้านข้างซ้ายของเขา เขาได้รับบาดเจ็บอย่างสาหัสอยู่ที่[[กะบังลม]] [[ม้าม]] และปอดข้างหนึ่ง เช่นเดียวกับที่กระดูกซี่โครงหัก Kubiš ได้รับบาดเจ็บจากสะเก็ดระเบิดเพียงเล็กน้อยที่ใบหน้าของเขา{{sfn|Williams|2003|pp=145–47}}{{sfn|MacDonald|1998|pp=205, 207}} ภายหลังจากที่ Kubiš หนีไป ไฮดริชสั่งให้ไคลน์วิ่งไล่ติดตาม Gabčík ไป และ Gabčík ได้ยิงไคลน์ไปเข้าที่ขาจนได้รับบาดเจ็บ ก่อนที่ตัวเขาเองจะหลบหนีไป{{sfn|Williams|2003|pp=147, 155}}{{sfn|MacDonald|1998|pp=206, 207}}
 
มีผู้หญิงชาวเช็กคนหนึ่งเข้าไปช่วยเหลือแก่ไฮดริชและโบกรถตู้ส่งของให้พาไปส่งโรงพยาบาล เขาต้องอดทนอยู่ในด้านหลังของรถตู้และถูกนำตัวไปที่ห้องฉุกเฉินที่โรงพยาบาล Bulovka{{sfn|Williams|2003|p=155}} ซึ่งได้ทำการตัดผ่าตัดเอาม้ามออก และบาดแผลที่หน้าอก ปอดข้างซ้าย และกะบังลมได้ถูกตัดเล็มออกทั้งหมด{{sfn|Williams|2003|p=155}} ฮิมเลอร์ได้สั่งให้ Karl Gebhardt บินไปยังกรุงปรากเพื่อคอยดูแล แม้ว่าจะมีไข้ แต่การฟื้นตัวของไฮดริชดูเหมือนจะมีความคืบหน้า แพทย์ส่วนตัวของฮิตเลอร์ [[ธีโอดอร์ โมเรล]] ได้เสนอให้มีการใช้ยาต้านเชื้อแบคทีเรียตัวใหม่อย่าง[[ซัลโฟนาไมด์]] แต่ Gebhardt คิดว่าไฮดริชจะหายดีแล้ว และปฏิเสธข้อเสนอนั้นไป{{sfn|Williams|2003|p=165}} ไฮดริชได้ทำความเข้าใจกับโชคชะตาของเขาเองในวันที่ 2 มิถุนายน ในช่วงระหว่างการแวะเยี่ยมของฮิมเลอร์ โดยได้ท่องบทละครโอเปร่าของบิดาเขาบทหนึ่งว่า:
 
{{quote|<poem>โลกใบนี้เป็นเพียงหีบเพลงที่พระผู้เป็นเจ้าทรงหมุนเล่นด้วยพระองค์เอง พวกเราทุกคนตามต่างเต้นตามจังหวะเพลงบนกลองอยู่แล้ว.{{sfn|Lehrer|2000|p=86}}</poem>}}
 
วันที่ 3 มิถุนายน ภายหลังจากวันที่ฮิมเลอร์แวะเยี่ยม ไฮดริชตกอยู่ในอาหารโคม่าและไม่รู้สึกตัวขึ้นมาอีกเลย เขาได้เสียชีวิต เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ผลของการชันสูตรศพได้สรุปว่า เขาเสียชีวิตลงด้วย[[ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ|ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด]]{{sfn|Höhne|2000|p=495}} เขามีอายุเพียง 38 ปี
 
=== พิธีศพ ===
ภายหลังจากพิธีศพอันประณีตได้ถูกจัดทำขึ้นในกรุงปราก เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 1942 โลงศพของไฮดริชได้ถูกนำขึ้นรถไฟไปยังกรุงเบอร์ลิน โดยมีการจัดพิธีครั้งที่สองขึ้นใน[[ทำเนียบนายกรัฐมนตรีไรช์]]แห่งใหม่ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ฮิมเลอร์ได้กล่าวยกย่องสรรเสริญ{{โครง-ส่วน}} ฮิตเลอร์ได้เข้าร่วมและวางเครื่องอิสริยาภรณ์ของไฮดริช—รวมทั้งเครื่องอิสริยาภรณ์เยอรมัน(German Order)ระดับสูงสุด เหรียญเครื่องอิสริยาภรณ์เลือด [[เครื่องหมายบาดเจ็บ]]ด้วยสีทอง และกางเขนวีรกรรมสงคราม ชั้นที่ 1 พร้อมด้วยดาบ—บนหมอนศพของเขา แม้ว่าการเสียชีวิตของไฮดริชจะถูกนำมาใช้ในการโฆษณาชวนเชื่อในการสนับสนุนไรช์ ฮิตเลอร์ได้กล่าวตำหนิไฮดริชเป็นการส่วนตัวสำหรับความตายของเขาเอง ด้วยความประมาทเลินเล่อ:
{{quote|เนื่องจากเป็นโอกาสที่ไม่เพียงที่จะเป็นหัวขโมย แต่ยังเป็นมือสังหารอีกด้วย ท่าทางที่กล้าหาญอันบ้าบิ่น อย่างเช่น การขับขี่ยานพาหนะที่ไร้หุ้มเกราะและเปิดโล่งหรือเดินเที่ยวเตร่ไปตามถนนโดยไม่ระมัดระวังเป็นเพียงความโง่เขลาอย่างยิ่ง ซึ่งทำหน้าที่ต่อ[[ปิตุภูมิ]]ไม่ได้เลยแม้แต่นิดเดียว นั่นแหละ ชายที่ไม่สามารถเข้ามาแทนที่ดังเช่นไฮดริช สมควรที่จะเปิดเผยต่ออันตรายที่ไม่จำเป็นด้วยตัวเขาเอง ข้าพเจ้าทำได้แค่กล่าวตำหนิว่าเป็นคนโง่เง่าและปัญญาอ่อน{{sfn|MacDonald|1989|p=182}}}}
 
ศพของไฮดริชถูกฝังไว้ใน Invalidenfriedhof ในกรุงเบอร์ลิน ซึ่งเป็นสุสานทหาร จุดฝังศพที่แน่ชัดนั้นไม่เป็นที่รับรู้ของสาธารณชนอีกต่อไป—ป้ายหลุมศพไม้แบบชั่วคราวได้หายไป เมื่อกองทัพแดงได้บุกรุกเข้าเมืองใน ค.ศ. 1945 ไม่เคยถูกแทนที่อีกเลย ดังนั้น หลุมศพของไฮดริชไม่ได้กลายเป็นจุดชุมนุมของพวกนีโอนาซี อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 2019 ช่องบีบีซีรายงานว่า หลุมศพที่ปราศจากป้ายของไฮดริชถูกเปิดออกโดยบุคคลนิรนาม โดยไม่มีใครไปจับกุมเขาได้เลย ภาพถ่ายงานศพของไฮดริชได้แสดงพวงหรีดและผู้ไว้อาลัยในเขต เอ ซึ่งติดกับกำแพงด้านเหนือของ Invalidenfriedhof และ Scharnhorststraße ที่ด้านหน้าสุสาน ชีวประวัติล่าสุดของไฮดริชได้ถูกวางไว้ในหลุมฝังศพในเขต เอ ฮิตเลอร์มีแผนที่จะสร้างสุสานขนาดใหญ่ให้แก่ไฮดริช (ถูกออกแบบโดยประติมากรนามว่า อาร์โน แบร์เกอและสถาปนิกนามว่า วิลเฮล์ม ไครส์) แต่เนื่องจากความมั่นคั่งของเยอรมนีได้ตกต่ำลง จึงไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเลย
 
ลีนา ผู้เป็นภรรยาหม้ายของไฮดริชได้ชนะคดีจากการได้สิทธิ์ในการรับเงินบำนาญภายหลังจากการฟ้องร้องคดีมาหลายครั้งต่อรัฐบาล[[เยอรมนีตะวันตก]]ใน ค.ศ. 1956 และ ค.ศ. 1959 เธอได้ถูกประกาศว่ามีสิทธิ์ในการรับเงินบำนาญจำนวนมากมาย เนื่องจากสามีของเธอเป็นนายพลชาวเยอรมันที่เสียชีวิตในปฏิบัติหน้าที่ ก่อนหน้านี้ รัฐบาลได้ปฏิเสธที่จะจ่ายเนื่องจากบทบาทของไฮดริชในฮอโลคอสต์ ทั้งคู่มีบุตรทั้งสี่คน: Klaus เกิดใน ค.ศ. 1933 เสียชีวิตในอุบัติเหตุทางจราจรใน ค.ศ. 1943 Heider เกิดใน ค.ศ. 1934 Silke เกิดใน ค.ศ. 1939 และ Marte ซึ่งถือกำเนิดได้ไม่นานภายหลังจากบิดาได้เสียชีวิตลงใน ค.ศ. 1942 ลีนาได้เขียนบันทึกอนุทินที่ชื่อว่า Leben mit einem Kriegsverbrecher (มีชีวิตอยู่กับอาชญากรสงคราม) ซึ่งถูกตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1976 เธอได้แต่งงานอีกครั้งและเสียชีวิตลงใน ค.ศ. 1985
 
=== ผลสืบเนื่อง ===
{{Main|การสังหารหมู่ที่ลิดยิตแซ}}เหล่าผู้ลอบสังหารไฮดริชได้หลบซ่อนตัวอยู่ในเซฟเฮ้าส์และในท้ายที่สุดก็ได้ย้ายไปหลบซ่อนที่[[อาสนวิหารนักบุญไซริลและเมโธดิอุส]] โบสถ์นิกายออร์ทอดอกซ์ในกรุงปราก ภายหลังจากที่มีคนทรยศในขบวนการต่อต้านชาวเช็กได้บอกที่ซ่อนของพวกเขาให้เยอรมันรับรู้ โบสถ์ได้ถูกล้อมเต็มไปด้วยสมาชิกของหน่วยเอ็สเอ็สและเกสตาโพจำนวน 800 นาย ชาวเช็กหลายคนถูกสังหาร และส่วนที่เหลือได้หลบซ่อนตัวอยู่ในห้องใต้ดินของโบสถ์ เยอรมันได้พยายามต้อนพวกเขาเหล่านั้นด้วยอาวุธปืน แก๊สน้ำตา และทำให้น้ำท่วมในห้องใต้ดินของโบสถ์ ในที่สุด ในที่สุดก็สามารถบุกเข้ามาได้โดยการใช้ระเบิดมือ ฝ่ายต่อต้านชาวเช็กแทนที่จะยอมจำนน แต่พวกเขากลับเลือกที่จะปลิดชีพตัวเอง ผู้ช่วยเหลือในการลอบสังหารซึ่งได้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้ ได้แก่ บิชอฟ Gorazd ซึ่งปัจจุบันเป็นที่เคารพยกย่องนับถือในฐานะมรณสักขีของนิกายออร์ทอดอกซ์
[[ไฟล์:CyrilMethodious.JPG|left|thumb|รอยกระสุนบนหน้าต่างห้องใต้ดินของ[[อาสนวิหารนักบุญไซริลและเมโธดิอุส]] ในกรุงปราก ที่ซึ่ง Kubiš และเพื่อนร่วมชาติของเขาได้ถูกต้อนจนมุม]]ด้วยความโกรธแค้นต่อความตายของไฮดริช ฮิตเลอร์ได้ออกคำสั่งให้ทำการจับกุมและประหารชีวิตชาวเช็กโดยการสุ่มเลือกจำนวน 10,000 คน แต่ภายหลังจากได้ปรึกษาหารือกับ Karl Hermann Frank เขาได้ยกเลิกคำสั่งทันที เนื่องจากเขาได้รับคำเตือนว่า ดินแดนเช็กเป็นเขตอุตสาหกรรมที่สำคัญสำหรับกองทัพเยอรมัน และการสังหารประชาชนตามใจชอบอาจจะทำให้กำลังการผลิตของภูมิภาคได้ลดทอนลง ฮิตเลอร์ได้ออกคำสั่งให้ทำการสืบสวนโดยด่วน หน่วยข่าวกรองลับได้เชื่อมโยงแบบผิด ๆ จากมือสังหารไปยังเมืองลิดยิตแซและแลฌากี เกสตาโปได้รายงานระบุว่า ลิดยิตแซ ซึ่งอยู่ในทางตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงปราก ระยะทาง 22 กิโลเมตร(14 ไมล์) ได้ต้องสงสัยว่าเป็นที่หลบซ่อนของเหล่ามือสังหารเพราะว่าเจ้าหน้าที่นายทหารชาวเช็กหลายคนที่อยู่ในอังกฤษ ซึ่งได้มาจากที่แห่งนั่น และเกสตาโพได้ค้นพบเครื่องส่งสัญญาณวิทยุของฝ่ายต่อต้านในแลฌากี เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ภายหลังจากได้ปรึกษาหารือกับฮิมเลอร์ และ Karl Hermann Frank ฮิตเลอร์ได้ออกคำสั่งให้ทำการตอบโต้อย่างโหดเหี้ยม วันที่ 9 มิถุนายน ในหมู่บ้านของลิดยิตแซ เด็กชายและผู้ชายจำนวน 172 คนที่อยู่ในอายุระหว่าง 14 ถึง 84 ปี ถูกยิงทิ้ง และภายหลังจากนั้น ผู้ใหญ่ทั้งหมดในแลฌากีล้วนถูกสังหารจนหมด
[[ไฟล์:CyrilMethodious.JPG|left|thumb|รอยกระสุนบนหน้าต่างห้องใต้ดินของ[[อาสนวิหารนักบุญไซริลและเมโธดิอุส]] ในกรุงปราก ที่ซึ่ง Kubiš และเพื่อนร่วมชาติของเขาได้ถูกต้อนจนมุม]]
 
{{โครง-ส่วน}}
สตรีทั้งหมดยกเว้นเพียง 4 คนจากลิดยิตแซ ได้ถูกเนรเทศไปยัง[[ค่ายกักกันราเวินส์บรึค]] (สี่คนเหล่านั้นได้ตั้งครรภ์–พวกเขาถูกบีบบังคับให้ไปทำแท้งที่โรงพยาบาลเดียวกันกับที่ไฮดริชเสียชีวิต และจากนั้นผู้หญิงเหล่านั้นได้ถูกส่งไปยังค่ายกักกัน) เด็กบางคนได้ถูกเลือกให้กลายเป็นชาวเยอรมัน และ 81 คนล้วนถูกสังหารในรถตู้รมแก๊สที่ค่ายกักกันเคลมนอ ทั้งสองเมืองถูกเผาไหม้และซากปรักหักพังของลิดยิตแซได้ถูกเกลี่ยพื้นดินให้เรียบ โดยรวมแล้ว ชาวเช็กอย่างน้อย 1,300 คน รวมทั้งสตรี 200 คนล้วนถูกสังหารในการล้างแค้นจากการลอบสังหารไฮดริช
 
ไฮดริชได้ถูกเข้ามาแทนที่โดย[[แอ็นสท์ คัลเทินบรุนเนอร์]] ในฐานะหัวหน้าแห่ง [[กรมการใหญ่ความมั่นคงไรช์|RSHA]], และKarl Hermann Frank (27–28 พฤษภาคม ค.ศ. 1942) และ[[ควร์ท ดาลือเกอ]] (28 พฤษภาคม ค.ศ. 1942 – 14 ตุลาคม ค.ศ. 1943) ในฐานะผู้รักษาการณ์ในตำแหน่งผู้ว่าการรัฐไรช์ (''Reichsprotektors'') ภายหลังจากการเสียชีวิตของไฮดริช การดำเนินการของนโยบายอย่างเป็นทางการที่การประชุมที่วันเซซึ่งเขาได้เป็นประธานได้ถูกเร่งรีบมากขึ้น ค่ายมรณะที่แท้จริงสามแห่งแรก ซึ่งได้ถูกออกแบบมาเพื่อการสังหารหมู่โดยปราศจากกระบวนการทางกฏหมายหรือข้ออ้างแต่อย่างใด ได้ถูกสร้างขึ้นและดำเนินการที่แตรบลิงกา ซอบีบูร์ และแบวแชตส์ โครงการนี้ได้ถูกตั้งชื่อว่า ปฏิบัติการไรน์ฮาร์ท ตามชื่อของไฮดริช
 
== บันทึกหน่วยงาน ==