ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระอักโษภยพุทธะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[Image:Akshobhya.JPG|thumb|right|220px|ภาพวาดของ'''พระอักโษภยะพุทธะ''']]
'''พระอักโษภยะพุทธะ'''เป็น[[พระธยานิพุทธะ]] 1 ใน 5 องค์ พระนามหมายถึง"ไม่หวั่นไหว" ประทับทางทิศตะวันออกของพุทธมณฑล พระกายสีน้ำเงิน รัศมีสีขาว เป็นต้นตระกูลของพระโพธิสัตว์ตระกูลวัชระ เป็นสัญญลักษณ์แทนโพธิจิตในสรรพสัตว์ ถือดอกบัวที่เป็นสัญญลักษณ์แห่งความกรุณา และระฆังที่หมายถึงอิตถีภาวะแห่งเมตตาและขันติ ทรงช้างคู่สีน้ำเงิน อันเป็นสัญญลักษณ์แห่งพลังมหาศาล พระโพธิสัตว์ตระกูลวัชระที่รู้จักกันดีคือ[[พระวัชรปาณิโพธิสัตว์]]และ[[พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์]]
 
== ความเชื่อ ==
พระโพธิสัตว์ตระกูลวัชระที่รู้จักกันดีคือ[[พระวัชรปาณิโพธิสัตว์]]และ[[พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์]]
 
พระองค์เป็นตัวแทนของปัญญาญาณดัง[[กระจก]] คือส่องให้เห็นหมดทุกด้าน โดยไม่ปิดบังอำพราง ประจำอยู่ทิศตะวันออกในพุทธมณฑล มีลักษณะใกล้เคียงกับ[[พระไวโรจนพุทธะ]] โดยอาจสลับตำแหน่งในพุทธมณฑลกันได้ ความเชื่อในคัมภีร์มรณะของทิเบต พระอักโษภยะจะปรากฏในวันที่ 2 พร้อมด้วย[[พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์]] ตัวแทนแห่งความสมบูรณ์และความงอกงามและ[[พระเมตไตรยโพธิสัตว์]]<ref>เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช. คัมภีร์มรณศาสตร์แห่งทิเบต แปลโดย อนุสรณ์ ติปยานนท์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. มูลนิธิโกมลคีมทอง. 2536</ref>
 
== รูปลักษณ์ ==
ท่าทางประจำพระองค์คือภูมิสปรศมุทรา ซึ่งเป็นการวางพระหัตถ์ซ้ายในรูปแบบการทำสมาธิ พระหัตถ์ขวาเหยียดออก [[นิ้วชี้]]ชี้ลงสัมผัสพื้นดินเพื่อแสดงการมีชัยเหนือ[[มาร]] เสียงประจำพระองค์คือเสียง "ฮัม" ซึ่งเป็นเสียงที่เกิดจากศูนย์ลมที่[[หัวใจ]] แสดงถึงการเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ เป็นร่างแหอยู่ภายในยานเดียวกัน
 
== สัญลักษณ์ ==
สัญลักษณ์ปประจำพระองค์คือคฑาเพชร ซึ่งสื่อถึงความมั่นคง ไม่คลอนแคลนของธรรมะ และความไม่หวั่นไหวของผู้บรรลุธรรม
 
== พาหนะ ==
พาหนะของพระองค์คือช้าง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความมั่นคง ใน[[ทิเบต]]ถือว่า[[ช้าง]]เป็นสัญลักษณ์ของสติปัญญา
==อ้างอิง==
* ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ษัฏเสน. พระพุทธศาสนาแบบทิเบต. ศูนย์ไทยทิเบต. 2538
<references />
{{โครงศาสนา}}
[[หมวดหมู่:พระพุทธเจ้าตามคติมหายาน|อักโษภยะพุทธะ]]