ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลัทธิขงจื๊อแบบเกาหลี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Espeerasin (คุย | ส่วนร่วม)
ชาวไทย (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 6:
 
== ต้นกำเนิดแนวคิดของขงจื่อ ==
[[ขงจื๊อ|ขงจื่อ]] (''孔夫子 KǒngFūzǐ'', l"ปรมาจารย์ขงจื่อ") โดยทั่วไปคิดว่าเกิดในปี 551 ก่อนคริสตศักราชและได้รับการเลี้ยงดูจากมารดาของท่านหลังจากการตายของบิดาเมื่อขงจื่ออายุได้สามขวบ ชื่อในภาษาละติน คือ "Cinfucius" ซึ่งชาวตะวันตกส่วนใหญ่รู้จักเขาโดยผ่านจากคำว่า " ''ข่งฟูจื่อ'' " ซึ่งอาจเป็นคำประกาศเกียรติคุณครั้งแรกโดยมิชชันนารีนิกายเยซูอิตที่เผยแผ่ศาสนาในประเทศจีนในศตวรรษที่ 16 [[หลุน-อฺวี่|คัมภีร์หลุนอวี่]] (論語; " คำสอนคัดสรร ") ซึ่งเป็นชุดคำพูดและแนวคิดที่เกิดจากนักปรัชญาชาวจีนและผู้ที่มีชีวิตร่วมสมัยกับท่าน เชื่อกันว่าเขียนโดยสาวกของขงจื่อใน[[ยุครณรัฐ|ยุคจ้านกว๋อ]] (475 ปีก่อนคริสตกาล - 221 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งได้จัดระบบแนวคิดให้สมบูรณ์ใน[[ราชวงศ์ฮั่น|สมัยราชวงศ์ฮั่น]] (206 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 220) ขงจื่อถือกำเนิดในชนชั้น''[[สี่อาชีพ|นักรบ]]'' (士) ระหว่างชนชั้นสูงและสามัญชน ชีวิตสาธารณะของท่านรวมถึงการแต่งงานเมื่ออายุ 19 ปีซึ่งมีลูกชายคนหนึ่งและมีอาชีพหลากหลายในฐานะคนงานในไร่ เสมียน และผู้ดูแลหนังสือ ในชีวิตส่วนตัวของท่านนั้น ท่านได้ศึกษาและไตร่ตรองถึงความถูกต้อง ความประพฤติที่เหมาะสม และลักษณะของการปกครองเมื่ออายุ 50 ปี ท่านก็ได้สร้างชื่อเสียง อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ไม่เพียงพอสำหรับความสำเร็จของเขาในการสนับสนุนรัฐบาลกลางที่เข้มแข็งและนิยมใช้การทูตมากกว่าการทำสงครามอันเป็นอุดมคติสำหรับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ กล่าวกันว่าท่านใช้เวลาหลายปีในช่วงบั้นปลายชีวิตในการสอนกลุ่มลูกศิษย์ที่กระตือรือร้นเกี่ยวกับค่านิยมที่จะได้รับการชื่นชมในชดงานเขียนโบราณที่ระบุว่าเป็น [[ห้าคลาสสิก|คัมภีร์ห้าเล่ม]] คาดว่าขงจื่อเสียชีวิตในปี 479 ก่อนคริสตศักราช
 
ความคิดของขงจื่อได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางมากขึ้นในสมัยราชวงศ์ฮั่นและ[[ราชวงศ์ถัง]]จนเกิดความคิดที่เป็นระบบและประสบความสำเร็จ ใน[[ราชวงศ์ซ่ง|สมัยราชวงศ์ซ่ง]] นักวิชาการขงจื่ออย่าง[[จู ซี|จูซี]] (ค.ศ. 1130–1200) ได้เพิ่มแนวคิดจาก[[ลัทธิเต๋า]]และ[[ศาสนาพุทธ|พุทธศาสนา]]เข้าไปในลัทธิขงจื่อ ในขณะที่จูซียังมีชีวิตอยู่ เขามักถูกมองข้ามเป็นส่วนใหญ่ แต่หลังจากที่เขาเสียชีวิตได้ไม่นาน ความคิดของเขากลับกลายเป็นมุมมองดั้งเดิมของความหมายในตำราขงจื่อที่ได้รับการฟื้นฟูใหม่ นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่มองว่า จูซีเป็นผู้สร้างบางสิ่งที่ค่อนข้างแตกต่างจากเดิม และเรียกแนวคิดของเขาว่าเป็น[[ลัทธิขงจื๊อใหม่|ลัทธิขงจื่อใหม่]] ลัทธิขงจื่อใหม่มีอิทธิพลในจีน ญี่ปุ่น เกาหลี และเวียดนาม จนกระทั่งศตวรรษที่ 19