ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สะพานควาย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mr.BuriramCN (คุย | ส่วนร่วม)
Dharmadana (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 19:
 
==ประวัติ==
===ทุ่งศุภราช===
ชื่อ "สะพานควาย" มาจากพื้นที่แถบนี้ในอดีต มีสภาพเป็น[[ทุ่งนา]]และป่า รวมถึงคูคลองและสวนผัก พื้นที่นี้เรียกว่า ''ทุ่งศุภราช'' ที่มีนายฮ้อย หรือพ่อค้าวัวควายจากภาคอีสานเดินทางมาขายยังภาคกลาง และมาไกลถึงยังพื้นที่นี้ด้วย โดยที่กลางทุ่งนานั้นจะมีสะพานไม้สร้างไว้เพื่อให้ฝูงวัวและควายเดินข้ามคูส่งน้ำได้สะดวก โดยเฉพาะในช่วงหัวค่ำ
 
===ยุครุ่งเรือง===
สี่แยกสะพานควายสร้างเมื่อ พ.ศ. 2479 ตลาดจอมมาลีเป็นตลาดที่เก่าแก่ที่สุดในย่านนี้ ยังมีตลาดศรีไทยซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของย่านนี้ ปัจจุบันได้กลายเป็นห้าง[[บิ๊กซี]] สะพานควาย สำหรับตลาดศรีศุภราช ในช่วงต่อมากลายเป็นห้างสรรพสินค้าโยฮัน หลังจากนั้นห้างได้เลิกกิจการและกลายเป็นศรีศุภราชอาเขตและห้าง[[เมอร์รี่คิงส์]] สะพานควาย ที่เปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2528 และเกิดเหตุ[[เพลิงไหม้]]เมื่อปี พ.ศ. 2529<ref>{{cite web|url=https://www.finnomena.com/longtunman/merry-king/|title=ตำนาน เมอร์รี่คิงส์|work=FINNOMENA|author=ลงทุนแมน|date=2017-09-17|accessdate=2018-03-03}}</ref> ถูกปิดตายกลายเป็นอาคารร้าง และปิดอย่างเป็นทางการเมื่อกลางปี พ.ศ. 2563 ก่อนที่จะทุบทิ้งแล้วกลายมาเป็นโครงการ เดอะไรซ์บายศรีศุภราช เป็นอาคารสูง 26 ชั้น รูปเมล็ดข้าว ได้แรงบันดาลใจจากอัตลักษณ์ดั้งเดิมของทำเลนี้ที่เดิมเป็นทุ่งศุภราช<ref>{{cite web |author1=ประเสริฐ จารึก |title=‘บิ๊กอสังหาฯ’ ลุยทุบห้าง โรงหนัง พลิกโฉม ‘สะพานควาย-ประดิพัทธ์’ ย่านธุรกิจ ที่อยู่อาศัยแห่งใหม่ |url=https://www.matichon.co.th/prachachuen/prachachuen-scoop/news_3036963 |publisher=มติชน}}</ref>
 
เส้น 27 ⟶ 29:
ฝั่งตรงข้าม[[ธนาคารออมสิน]] สำนักงานใหญ่ เดิมเป็นที่โล่ง มีโรงแรมแคปปิตอล ในย่านดังกล่าวยังเคยมีโรงเรียนดารณี สอนระดับอนุบาลถึงประถมปลาย ทางเข้าอยู่ในซอยพหลโยธิน 13
 
===ปัจจุบัน===
ปัจจุบัน บริเวณสะพานควายเป็นย่านที่คึกคัก เต็มไปด้วยตลาดและร้านค้า มีคอนโดมิเนียมมากมาย เป็นที่ตั้งของธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ โรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียล และ[[รถไฟฟ้าบีทีเอส|สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส]] [[สถานีสะพานควาย|สะพานควาย]]<ref>{{cite web|url=http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9520000044630|work=[[ผู้จัดการออนไลน์]]|title=ส่อง(ย่าน)สรรพสัตว์ สืบประวัติอดีต กทม.|author=หนุ่มลูกทุ่ง|date=2009-04-21|accessdate=2018-03-03}}</ref>
 
==อ้างอิง==