ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุสานแต้จิ๋ว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 0 sources and tagging 1 as dead.) #IABot (v2.0.8.1
Supanut Arunoprayote (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ข้อผิด
บรรทัด 41:
 
[[ไฟล์:Teochew Cemetery (II).jpg|thumb|right|300px|ศาลาองค์ไต้ฮงกง เป็นเทพเจ้าประจำมูลนิธิแต้จิ๋ว และยังเป็นจุดหมายตาสำคัญของสุสาน]]
'''สุสานแต้จิ๋ว''' หรือที่รู้จักกันในชื่อ '''สุสานวัดดอน''' หรือ '''ป่าช้าวัดดอน''' เป็นสุสานจีนเก่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเขตชั้นในกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ประมาณ 105 ไร่ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2442 หรือประมาณปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ตั้งอยู่บนถนนจันทร์บริเวณซอยวัดปรก 1 ถนนจันทร์ แขวงทุ่งวัดดอน [[เขตสาทร]] [[กรุงเทพมหานคร]] สุสานแห่งนี้ ตั้งอยู่บนพื้นที่ดินของสมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย เดิมสุสานแห่งนี้ ไม่ใช่ของสมาคมแต้จิ๋วฯ แต่ภายหลังได้โอนการบริหารและงานดูแลรักษาแก่สมาคมเป็นผู้ดำเนินการแทนทั้งหมด และยังมีองค์กรที่เกี่ยวข้องกับสุสานอีกสององค์กร คือ มูลนิธิปอเต็กตึ้ง และสมาคมไหหลำด่านเกเต้ โดยสมาคมแต้จิ๋วฯ จะเป็นผู้ก่อสร้างหลุมฝังศพเอง และให้ถือเป็นลักษณะการเช่า ไม่ใช่การซื้อขาด ปัจจุบันสุสานแต้จิ๋วได้รับการดูแลรักษาพื้นที่โดยชมรมนักวิ่งสมาคมแต้จิ๋ว
 
ในช่วงก่อตั้งใหม่ การบริหารสุสานนำเอาต้นแบบมาจาก[[สิงคโปร์]] คือระบบ กงซีซัว (ลักษณะเป็นหลุมฮวงซุ้ย) ซึ่งไม่มีการเก็บเงิน “แบบหงี่ท่ง” (บริการฟรี) โดยในช่วงแรกของสุสาน คือในปี พ.ศ. 2449 มีรายชื่อคนที่ถูกนำมาฝังรวมแล้วกว่า 4,267 ชื่อ โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย ในช่วงวัยรุ่นและผู้ใหญ่ที่เข้ามาบุกเบิก ใช้แรงงานหนักเพื่อการพัฒนาประเทศ แล้วมาเสียชีวิตที่กรุงเทพ เนื่องจากระบบสาธารณสุขและการรักษาสุขภาพยังไม่ดี การฝังศพที่นี่มี 2 รูปแบบคือ มีศพที่ฝังในลักษณะของฮวงซุ้ย จำนวน 7,961 ศพ ศพที่บรรจุเฉพาะอัฐิอีก 1,800 กว่าศพ และศพที่ไม่มีญาติ บรรจุรวมกันไว้ อีกมากกว่าหมื่นศพ<ref>[http://advisor.anamai.moph.go.th/main.php?filename=JHealthVol20No3_09 กรมอนามัย. ''ยุทธศาสตร์เมืองน่าอยู่ กับการพัฒนาป่าช้าวัดดอน''. สืบค้นข้อมูล 19 มกราคม 2564.]</ref> มีค่าดูแลรักษาหลุมละ 800-1,000 บาทต่อปี<ref>วธิชาธร ลิมป์สุทธิรัชต์ (2557), ''โครงการสวนสาธารณะแต้จิ๋ว''. ปริญญาภูมิสถาปัตยกรรมบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.</ref>