ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nattanan49 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
Nattanan49 (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มรายละเอียด 2
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 30:
มารศรี เริ่มเข้าสู่วงการบันเทิงจากการเป็นนักเเสดงตลกจำอวดขณะอายุได้ 17 ปี ร่วมกับอบ บุญติด, ดอกดิน กัญญามาลย์, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม และ สมควร กระจ่างศาสตร์ ในยุคละครเวทีสมัยเฟื่องฟู ในช่วง[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] ต่อมาสมรสกับหม่อมหลวงรุจิรา อิศรางกูร และได้ทำงานเป็นนักพากย์ภาพยนตร์ในชื่อ "รุจิรา - มารศรี" เป็นคู่นักพากย์ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมของผู้ชมภาพยนตร์มายาวนานร่วมครึ่งศตวรรษ ก่อนจะมาผันตัวเป็นนักเเสดงในภาพยนตร์เเละละครโทรทัศน์ในเวลาต่อมา
 
สำหรับละครเวทีที่สร้างชื่อให้กับ มารศรี มากที่สุดคือ ละครเวทีเรื่อง "[[วนิดา]]" (2486) โดยเป็นนักเเสดงหญิงคนเเรกที่รับบทเป็น "วนิดา วงศ์วิบูลย์" หญิงสาวที่ถูกบิดาสั่งจับแต่งงานกับ พันตรีประจักษ์ มหศักดิ์ นายทหารม้าที่ต้องมารับเคราะห์กรรมแทนน้องชาย ที่ติดหนี้กู้เงินจากบิดาของวนิดา จนต้องเกือบถูกฟ้องล้มละลาย ชีวิตของสองหนุ่มสาวต้องตกอยู่ในสภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก โดยเฉพาะฝ่ายชายที่มีคนรักและมารดาที่คอยหวงแหนดุจจงอางหวงไข่ ดีว่าหญิงสาวมีกำลังใจที่เข้มแข็งในการพยายามหาข้อเท็จจริง เพื่อลบล้างมลทินย่าของเธอ คือ "คุณหญิงมณฑา" ที่ถูกใส่ร้ายป้ายสีว่าคบชู้ จนต้องระเห็จออกจากบ้านมหศักดิ์ โดยมีประจักษณ์คอยช่วยเหลือด้วยใจยุติธรรมเป็นที่ตั้ง เมื่อละครเวทีได้รับความนิยมลดลง จึงได้ผันตัวจากนักเเสดงละครเวทีเป็นนักเเสดงในภาพยนตร์ เเละละครโทรทัศน์ในเวลาต่อมา โดยเป็นทั้งนักเเสดงนำ นางเอก นางร้าย เเละนักเเสดงสมทบ
 
โดยผลงานภาพยนตร์ที่สร้างชื่อเสียงได้เเก่ บาปทรมาน (2493), วนิดา (2496), สายโลหิต (2500), เงิน เงิน เงิน (2508), โสนน้อยเรือนงาม (2509), ล่าพยาบาท (2510), เกาะสวาทหาดสวรรค์ (2512), พิษพยาบาท (2516), มัจจุราชสีน้ำผึ้ง (2517), พจมาน สว่างวงศ์ (2523), สุดปรารถนา (2524) เเละ สุริโยไท (2544) เเละละครโทรทัศน์ เช่น เเผลเก่า (2507), พระเจ้าอชาตศัตรู (2510), คมพยาบาท (2512), ริษยา (2516,2525), ดวงตาสวรรค์ (2521), สามีตีตรา (2531) เป็นต้น
 
มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา ได้รางวัลต่างๆ เช่น ศิลปินเเห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์และละคร นักแสดง-นักพากย์) ประจำปี 2542 ก่อนที่จะหยุดพักออกจากการเเสดงเนื่องด้วยอายุเเละสุขภาพ ในปี 2555
 
== ประวัติ ==