ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชพิธีกาญจนาภิเษก พ.ศ. 2539"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Portalian (คุย | ส่วนร่วม)
Soponwit Sangsai (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 58:
 
== ตราสัญลักษณ์งานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พุทธศักราช 2539 ==
'''ตราสัญลักษณ์ งานฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี''' ออกแบบโดย [[วิยะดา เจริญสุข|นางสาววิยะดา เจริญสุข]] (เป็นแบบตราที่ชนะการประกวดตราสัญลักษณ์งานดังกล่าวโดยกรมศิลปากร และพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้พระบรมราชวินิจฉัยเพื่อแก้ไขปรับปรุงแบบตราเพิ่มเติมก่อนพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ได้) ประกอบด้วย [[พระราชลัญจกรประจำรัชกาล|พระราชลัญจกรประจำพระองค์]] พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นหลักสำคัญ มีตรา[[พระบรมราชวงศ์จักรี]] และ[[พระมหาพิชัยมงกุฎ]]อยู่ด้านบน เป็นเครื่องแสดงถึงความเป็น[[พระมหากษัตริย์]]แห่งพระมหาจักรีบรมราชวงศ์ มี[[พาน]]เครื่องสูง 2 ชั้น ที่มักอยู่ในมโนภาพของผู้คนทั่วไป เมื่อนึกถึงสัญลักษณ์ของ[[รัฐธรรมนูญ]] อันเป็นเครื่องหมายแสดงถึงการปกครองในระบอบ[[ประชาธิปไตย]] โดยมี[[ช้าง]] 2 เชือก เทินตราพระราชลัญจกร อยู่ภายใต้[[พระเศวตฉัตร]] ซึ่งสามารถแปลความหมายได้หลายทาง ดังนี้
# ช้าง เป็นพระราชพาหนะของพระเจ้าแผ่นดิน เป็นเสมือนข้าช่วงใช้ของพระมหากษัตริย์ จึงเปรียบได้กับ[[ประชาชน]] ซึ่งเสมือนเป็นข้ารับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท ในสัญลักษณ์จึงเสมือนพสกนิกรเทิดทูนและเชิดชูองค์พระมหากษัตริย์ และพระบรมราชวงศ์จักรี ขณะเดียวกัน ก็อยู่เย็นเป็นสุข ภายใต้ร่มพระมหาเศวตฉัตร
# [[ช้างเผือก]] เป็นสัตว์คู่พระบารมีขององค์พระมหากษัตริย์ อีกทั้งตามความเชื่อของ[[ศาสนาพราหมณ์]] ช้างเผือกที่มีลักษณะตรงตามตำรา จะมีส่วนช่วยเกิดทั้งแสนยานุภาพ และพระปรีชาสามารถ ความรอบรู้ แก่องค์พระมหากษัตริย์ จึงแสดงถึงความเป็นผู้มีบุญญาธิการ และทรงพระปรีชาญาณ