ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงครามอะแซหวุ่นกี้"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 6:
| caption = เส้นทางการเดินทัพของพม่าทั้ง3ทาง
| date = [[ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2318]] - [[กันยายน]] [[พ.ศ. 2319]]
| place = ตอนหัวเมืองเหนือและตอนภาคกลางของ [[สยาม]]
| territory =
| territory = สยามได้ [[เชียงใหม่]], [[ลำปาง]], [[ลำพูน]]
| result = สยามเสียเมืองพิษณุโลก พม่าถอยกลับไป สยามได้รับชัยชนะ
| result = สยามได้ชัยชนะ พม่าสูญเสีย [[อาณาจักรล้านนา]] ทำให้การปกครองในล้านนาที่มีมายาวนานกว่า 200 ปีของพม่าสิ้นสุดลง
| combatant1 = [[ไฟล์:Flag of the Alaungpaya Dynasty of Myanmar.svg|20px|border]] [[ราชวงศ์คองบอง]]
| combatant2 = [[ไฟล์:Flag of Thailand (Ayutthaya period).svg|20px|border]] [[กรุงธนบุรี]]
| commander1 = [[ไฟล์:Flag of the Alaungpaya Dynasty of Myanmar.svg|20px|border]] [[พระเจ้ามังระ]] <br> [[ไฟล์:Flag of the Alaungpaya Dynasty of Myanmar.svg|20px|border]] [[อะแซหวุ่นกี้]] <br> [[ไฟล์:Flag of the Alaungpaya Dynasty of Myanmar.svg|20px|border]] ตะแคงมระหน่อง <br> [[เนเมียวสีหบดีไฟล์:Flag of the Alaungpaya Dynasty of Myanmar.svg|20px|border]] แมงแยยางู <br> [[ไฟล์:Flag of the Alaungpaya Dynasty of Myanmar.svg|20px|border]] กละโบ่ (ปะกันโบ) <br> [[ไฟล์:Flag of the Alaungpaya Dynasty of Myanmar.svg|20px|border]] ปันญีเยข่องจอ <br> [[ไฟล์:Flag of the Alaungpaya Dynasty of Myanmar.svg|20px|border]] ปันญีตจวง <br> [[ไฟล์:Flag of the Alaungpaya Dynasty of Myanmar.svg|20px|border]] เจ้าเมืองตองอู
| commander2 = [[ไฟล์:Flag of Thailand (Ayutthaya period).svg|20px|border]] [[สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี]] <br> [[ไฟล์:Flag of Thailand (Ayutthaya period).svg|20px|border]] พระเจ้าหลานเธอ [[กรมขุนอนุรักษ์สงคราม]]<br> [[ไฟล์:Flag of Thailand (Ayutthaya period).svg|20px|border]] [[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช|เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง)]] <br> [[ไฟล์:Flag of Thailand (Ayutthaya period).svg|20px|border]] [[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท|เจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราช (บุญมา)]] <br> [[ไฟล์:Flag of Thailand (Ayutthaya period).svg|20px|border]] [[เจ้าพระยานครสวรรค์]] <br> [[ไฟล์:Flag of Thailand (Ayutthaya period).svg|20px|border]] [[พระยายมราช (หมัด)]] <br> [[ไฟล์:Flag of Thailand (Ayutthaya period).svg|20px|border]] [[พระยานครราชสีมา (ขุนชนะ)]] <br> [[ไฟล์:Flag of Thailand (Ayutthaya period).svg|20px|border]] [[พระยารามัญวงศ์ (มะโดด)]] <br> [[ไฟล์:Flag of Thailand (Ayutthaya period).svg|20px|border]] [[ขุนพิพิธวาที|พระยาราชาเศรษฐี (ตั้งเลี้ยง)]]
| strength1 = [[ไฟล์:Flag of the Alaungpaya Dynasty of Myanmar.svg|20px|border]] [[กองทัพหลวงพม่า]] <br>[[ไฟล์:Flag of the Alaungpaya Dynasty of Myanmar.svg|20px|border]] กองทหารมอญ <br>
รวม 50,000 นาย
บรรทัด 24:
 
=== สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงปราบชุมนุม ===
ในเดือนมกราคมพ.ศ. 2310<ref name=":0">ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๕ [[พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)|พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)]]</ref> ประมาณสามเดือนก่อน[[การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง]] พระยาตาก (สิน) ได้นำกองกำลังฝ่าวงล้อมของพม่าออกมาจากอยุธยา เดินทางไปตั้งมั่นที่ระยอง หลังจากการเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่าในเดือนเมษายน พ.ศ. 2310 ฝ่ายพม่าจำต้องดึงกองกำลังส่วนใหญ่ในสยามไปรบกับจีนทางเหนือ ใน[[สงครามจีน–พม่า|สงครามจีน-พม่า]] (Sino-Burmese War) เหลือกองกำลังพม่ารักษาการอยู่ในสยามจำนวนหนึ่ง มีสุกี้พระนายกองหรือ[[นายทองสุก]]ชาวมอญเป็นผู้รักษาการอยู่ที่[[ค่ายโพธิ์สามต้น|ค่ายโพธิ๋สามต้น]] อาณาจักรสยามแยกแบ่งออกเป็นชุมนุมต่างๆ พระยาตากเข้ายึดเมือง[[จังหวัดจันทบุรี|จันทบุรี]]ได้สำเร็จในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2310<ref name=":0">ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๕ [[พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)|พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)]]</ref> แล้วยกทัพกลับเข้ามาอยุธยาเข้าตีค่ายพม่าโพธิ์สามต้นได้สำเร็จในเดือนพฤศจิกายน ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็น[[สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี]] เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 ปีต่อมาในพ.ศ. 2311 เสด็จไปรบกับพม่าใน[[สงครามบางกุ้ง]]ได้รับชัยชนะ จากนั้นเสด็จไปปราบชุมนุมต่างๆ
 
ในพ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้าตากสินเสด็จยกทัพไปปราบ[[ชุมนุมเจ้าพระฝาง]] มีพระราชโองการให้[[เจ้าพระยาพิชัยราชา|พระยาพิชัยราชา]] และ[[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท|พระยายมราช (บุญมา)]] เป็นทัพหน้า<ref name=":0">ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๕ [[พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)|พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)]]</ref> เข้าตียึดเมือง[[จังหวัดพิษณุโลก|พิษณุโลก]]ได้สำเร็จในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2313 ปราบชุมนุมเจ้าพระฝางลงได้สำเร็จ รวบรวมอาณาเขตขัณฑสีมาของอยุธยาไว้ได้ทั้งหมดแล้ว จึงมีพระราชโองการแต่งตั้งข้าหลวงเดิมซึ่งมีความชอบในการสงครามให้อยู่ครองหัวเมืองเหนือ พร้อมจัดสรรกองกำลังไว้รับมือการรุกรานของพม่าไว้ดังนี้;<ref name=":1">พระราชพงษาวดารกรุงเก่า (ฉบับหมอบรัดเล).</ref>
บรรทัด 36:
 
=== กบฏมอญต่อพม่า พ.ศ. 2317 ===
เมื่อพ.ศ. 2315 หลังจากเสร็จสิ้นสงครามจีน-พม่าแล้ว [[พระเจ้ามังระ]]แห่ง[[ราชวงศ์โก้นบอง|ราชวงศ์คองบอง]]มีพระราชดำริว่า ฝ่ายสยามหลังจากการเสียกรุงศรีอุยธยาครั้งที่สองแล้ว กลับสามารถตั้งตนขึ้นใหม่ภายใต้การนำของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ สมควรจัดทัพเข้าโจมตีสยามเพื่อมิให้เป็นเสี้ยนหนามในอนาคต<ref name=":0">ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๕ [[พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)|พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)]]</ref><ref name=":1">พระราชพงษาวดารกรุงเก่า (ฉบับหมอบรัดเล).</ref><ref name=":2">Phraison Salarak (Thien Subindu), Luang. Intercourse between Burma and Siam as recorded in Hmannan Yazawindawgyi. Bangkok; July 25, 1919.</ref> จึงมีพระราชโองการให้[[เนเมียวสีหบดี]]หรือโปสุพลายกทัพไปเชียงใหม่ล้านนา และทรงแต่งตั้งปะกันหวุ่นหรือแมงยีกามะนีจันทา<ref name=":2">Phraison Salarak (Thien Subindu), Luang. Intercourse between Burma and Siam as recorded in Hmannan Yazawindawgyi. Bangkok; July 25, 1919.</ref> (Mingyi Kamani Sanda) เป็นเจ้าเมือง[[เมาะตะมะ]]คนใหม่ จัดเกณฑ์ทัพเข้ารุกรานสยาม ในพ.ศ. 2317 แมงยีกามะนีจันทาเจ้าเมืองเมาะตะมะ สั่งให้หัวหน้าชาวมอญได้แก่[[เจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง คชเสนี)|พระยาเจ่ง]] (Binnya Sein) ตละเสี้ยง ตละเกล็บ ยกทัพหน้าชาวมอญเข้ารุกรานสยาม ปรากฏว่าเจ้าเมืองเมาะตะมะได้ขูดรีดทรัพย์สินจากชาวมอญเมืองเมาะตะมะ<ref name=":1">พระราชพงษาวดารกรุงเก่า (ฉบับหมอบรัดเล).</ref><ref name=":2">Phraison Salarak (Thien Subindu), Luang. Intercourse between Burma and Siam as recorded in Hmannan Yazawindawgyi. Bangkok; July 25, 1919.</ref> ได้รับความเดือดร้อน ความรู้ไปถึงพระยาเจ่งและบรรดาหัวหน้าชาวมอญ มีความขุ่นเคืองต่อพม่า จึงกบฏขึ้นต่อมายกทัพกลับมายึดเมืองเมาะตะมะและยกทัพต่อไปยึดเมือง[[ย่างกุ้ง]]ได้ ฝ่ายพม่ายึดเมืองย่างกุ้งกลับคืนได้ ทำให้พระยาเจ่ง ตละเกล็บ และผู้นำชาวมอญทั้งหลายรวมทั้งชาวมอญจำนวนมาก ต่างอพยพลี้ภัยเข้าในสยามมาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ผ่านทาง[[ด่านเจดีย์สามองค์]]และ[[ตำบลด่านแม่ละเมา|ด่านแม่ละเมา]]
 
ในพ.ศ. 2317 พระเจ้ามังระมีพระราชโองการให้[[อะแซหวุ่นกี้]] (Athi Wungyi) หรือหวุ่นยีมหาสีหสุระ (Wungyi Maha Thiha Thura) แม่ทัพผู้มีบทบาทสำคัญในสงครามจีน-พม่า ยกทัพพม่าจำนวน 35,000 คน<ref name=":0">ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๕ [[พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)|พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)]]</ref> จากอังวะมาตั้งที่เมืองเมาะตะมะ เพื่อตามจับชาวมอญที่หลบหนีและยกทัพเข้ารุกรานสยามกรุงธนบุรี
 
=== สงครามบางแก้ว ===