ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โจเซฟ สตาลิน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 127:
'''อีโอซิฟ วิสซารีโอโนวิช สตาลิน''' ({{lang-rus|Иосиф Виссарионович Сталин|r=Iosif Vissarionovich Stalin|p=ɪˈosʲɪf vʲɪsərʲɪˈonəvʲɪt͡ɕ ˈstalʲɪn}}) หรือ '''โจเซฟ สตาลิน''' ({{lang-en|Joseph Stalin}}) เป็นนักปฏิวัติและผู้นำทางการเมืองโซเวียต[[ชาวจอร์เจีย]]ซึ่งปกครอง[[สหภาพโซเวียต]] ตั้งแต่ ค.ศ. 1924 จนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมใน ค.ศ. 1953 เขาได้ขึ้นเถลิงอำนาจด้วยการขึ้นดำรงตำแหน่งทั้ง[[เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต]] (ค.ศ. 1922-1952) และ[[หัวหน้ารัฐบาลสหภาพโซเวียต|ประธานคณะรัฐมนตรีแห่งสหภาพโซเวียต]] (ค.ศ. 1941-1953) แม้ว่าในช่วงแรกจะปกครองประเทศด้วยการเป็นส่วนหนึ่งของ[[กลุ่มผู้นำส่วนรวมในสหภาพโซเวียต|กลุ่มผู้นำส่วนรวม]] จนในที่สุดเขาก็รวบอำนาจได้อย่างเบ็ดเสร็จจนกลายเป็น[[เผด็จการ]]แห่งสหภาพโซเวียต ใน ค.ศ. 1930 ในอุดมการณ์ของ[[ลัทธิคอมมิวนิสต์]]ที่มุ่งมั่นถึงการตีความ[[ลัทธิมากซ์]]ของ[[ลัทธิเลนิน|ฝ่ายนิยมลัทธิเลนิน]] สตาลินได้เรียกแนวคิดนี้อย่างเป็นทางการว่า [[ลัทธิมากซ์-เลนิน]] ในขณะที่นโยบายของเขาเองที่ได้เรียกกันว่า [[ลัทธิสตาลิน]]
 
เขาเกิดในครอบครัวยากจนจากเมือง[[กอรี (ประเทศจอร์เจีย)|กอรี]] ใน[[จักรวรรดิรัสเซีย]] (ปัจจุบันคือ [[ประเทศจอร์เจีย]]) สตาลินได้เข้าเรียนที่[[สำนักเสมินาร์จิตวิญญาณแห่งทิฟลิส]] (Tbilisi Spiritual Seminary) ก่อนที่จะเข้าร่วม[[พรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซีย]]ของฝ่ายนิยมลัทธิมากซ์ในที่สุด เขาได้ทำการแก้ไขหนังสือพิมพ์ประจำพรรคที่มีชื่อว่า ''[[ปราฟดา]]("ความจริง")'' และระดมเงินทุนให้กับ[[บอลเชวิค|กลุ่มบอลเชวิค]]ของ[[วลาดีมีร์ เลนิน]] ผ่านทางการโจรกรรม การลักพาตัว และเงินค่าคุ้มครอง ซึ่งถูกจับกุมมาหลายครั้งแล้ว เขาจึงถูกเนรเทศภายในประเทศมาหลายครั้งแล้วเช่นกัน ภายหลังจากที่พวกบอลเชวิคได้เข้ายึดอำนาจในช่วง[[การปฏิวัติเดือนตุลาคม]] และสร้าง[[รัฐพรรคการเมืองเดียว]]ภายใต้พรรคคอมมิวนิสต์ที่ก่อตั้งขึ้นมาใหม่ใน ค.ศ. 1917 สตาลินได้เข้าร่วมกับ[[โปลิตบูโร]]ในการปกครอง เข้าเป็นทหารใน[[สงครามกลางเมืองรัสเซีย]] ก่อนที่จะเข้าควบคุมดูแล[[สนธิสัญญาการก่อตั้งสหภาพโซเวียต|การก่อตั้งสหภาพโซเวียต]]ใน ค.ศ. 1922 สตาลิน[[การเถลิงอำนาจของโจเซฟ สตาลิน|ได้ขึ้นรับตำแหน่งเป็นผู้นำประเทศ]] ภายหลัง[[อสัญกรรมและรัฐพิธีศพของวลาดีมีร์ เลนิน|การเสียชีวิตของเลนิน]]ใน ค.ศ. 1924 ภายใต้การนำของสตาลิน [[สังคมนิยมประเทศเดียว|ลัทธิสังคมนิยมในประเทศเดียว]]กลายเป็นหลักการที่สำคัญของความเชื่อของพรรค ด้วยผลลัพธ์มาจาก[[แผนห้าปีของสหภาพโซเวียต|แผนห้าปี]]ที่ถูกดำเนินภายใต้การนำของเขา ประเทศได้ทำการรวบรวมผลผลิตทางเกษตรกรรมโดยรวม(agricultural collectivisation) และการทำให้เป็นอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว การสร้างเศรษฐกิจโดยสั่งการแบบรวมอำนาจ (a centralised command economy) สิ่งเหล่านี้นำไปสู่การหยุดชะงักของการผลิตอาหารอย่างรุนแรง ซึ่งมีส่วนทำให้เกิด[[ทุกขพิภัยโซเวียต ค.ศ. 1932-1933|ทุกขพิภัยใน ค.ศ. 1932-33]] เพื่อเป็นการกำจัดผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็น "[[ศัตรูของชนชั้นกรรมกร]]" สตาลินได้จัดตั้ง[[การกวาดล้างใหญ่|การกวาดล้างครั้งใหญ่]] ซึ่งมีผู้ที่ถูกคุมขังจำนวนมากกว่าหนึ่งล้านคนและจำนวนผู้ถูกประหารชีวิตอย่างน้อย 700,000 คน ระหว่างปี ค.ศ. 1934 และ ค.ศ. 1939 ใน ค.ศ. 1937 เขาสามารถควบคุมพรรคและรัฐบาลได้อย่างเบ็ดเสร็จ
 
สตาลินได้ส่งเสริม[[ลัทธิมากซ์-เลนิน]]จากต่างประเทศผ่านทาง[[องค์การคอมมิวนิสต์สากล]] และให้การสนับสนุนขบวนการ[[ต่อต้านฟาสซิสต์]]ในยุโรปในช่วงปี ค.ศ. 1930 โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน[[สงครามกลางเมืองสเปน]] ใน ค.ศ. 1939 ระบอบการปกครองของเขาได้ลงนามใน[[กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบินทร็อพ|กติกาสัญญาไม่รุกรานกัน]]กับ[[นาซีเยอรมนี]] ส่งผลทำให้[[การบุกครองโปแลนด์ของสหภาพโซเวียต|โซเวียตบุกครองโปแลนด์]] เยอรมนีได้ยุติกติกาสัญญาที่ได้ทำกันมาโดย[[ปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา|การรุกรานสหภาพโซเวียต]]ใน ค.ศ. 1941 แม้ว่าจะพ่ายแพ้ในช่วงแรก แต่[[กองทัพแดง]]กลับสามารถขับไล่เยอรมันผู้รุกรานไปได้และ[[ยุทธการที่เบอร์ลิน|เข้ายึดครองกรุงเบอร์ลิน]]ใน ค.ศ. 1945 ซึ่งทำให้[[สงครามโลกครั้งที่สอง]]ในยุโรปได้ยุติลง ท่ามกลางสงคราม โซเวียตได้[[การยึดครองรัฐบอลติก|ผนวกรัฐบอลติก]]และจัดตั้ง[[จักรวรรดิโซเวียต|รัฐบาลที่เป็นแนวร่วมกับโซเวียต]]ทั่วทั้งยุโรปกลางและตะวันออก [[สงครามกลางเมืองจีน|จีน]] และ[[ฝ่ายบริหารพลเมืองโซเวียต|เกาหลีเหนือ]] สหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกาได้กลายเป็น[[อภิมหาอำนาจ]]โลกและเข้าสู่ช่วงเวลาแห่งความตึงเครียด [[สงครามเย็น]] สตาลินได้เป็นผู้นำในการฟื้นฟูสภาพหลังสงครามของโซเวียตและ[[โครงการระเบิดปรมาณูของโซเวียต|การพัฒนาระเบิดปรมาณู]]ใน ค.ศ. 1949 ในช่วงปีเหล่านี้ ประเทศกำลังประสบ[[ทุกขภิกภัยในโซเวียต ค.ศ. 1946-1947|ภาวะทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ขึ้นมาอีกครั้ง]]และการณรงค์ต่อต้านชาวยิวซึ่งนำไปสู่[[แผนลับแพทย์]] (doctors' plot) ภายหลังจาก[[อสัญกรรมและรัฐพิธีศพของโจเซฟ สตาลิน|การเสียชีวิตของสตาลิน]]ใน ค.ศ. 1953 ในที่สุดเขาก็ได้รับการสืบทอดตำแหน่งโดย[[นีกีตา ครุชชอฟ]] ซึ่งต่อมาในภายหลังได้[[ว่าด้วยลัทธิบูชาบุคคลและผลลัพธ์ของมัน|กล่าวประณามถึงความโหดร้ายจากการปกครองของเขา]]และริเริ่ม[[การล้มล้างอิทธิพลของสตาลิน]]ใน[[วัฒนธรรมของสหภาพโซเวียต|สังคมโซเวียต]]