ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระอาจวิทยาคม (ยอร์ช บี. แมคฟาร์แลนด์)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
YURi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
YURi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 7:
 
==ประวัติ==
ยอร์ชเป็นชาวกรุงเทพฯ เกิดที่บ้าน[[หมอบรัดเลย์]] ปาก[[คลองบางกอกใหญ่]] เป็นบุตรของศาสนาจารย์ เอส. จี. แมคฟาร์แลนด์ และนางเจนนี แมคฟาร์แลนด์ บิดามารดาเป็นมิชชันนารีชาวอเมริกันที่ทำงานเพื่อเผยแพร่ศาสนาและพัฒนาสังคมไทยคนละ 36 ปี โดยเริ่มต้นที่เพชรบุรีในสมัยรัชกาลที่ 4 และมีบุตรธิดาสี่คนที่เกิดที่เมืองไทย รวมทั้งยอร์ชเอง และยังสอนให้บุตรธิดาทราบว่า ประเทศสยามเป็นแผ่นดินแม่ ต้องแทนบุญคุณ{{อ้างอิง}} และพี่น้องของท่าน เมื่อศึกษาจบมหาวิทยาลัย พี่ชายทั้งสองท่านกลับมาทำงานให้แก่รัฐบาลทั้งหมด รวมทั้งยอร์ชด้วย ยอร์ชได้เรียนหนังสือที่[[โรงเรียนสวนอนันต์]]ที่บิดาเป็นครูใหญ่ ตามที่รัฐบาลขอให้จัดตั้งขึ้นในช่วงหนึ่ง เมื่ออายุ 17 ปี จบการศึกษามาเป็นครูช่วยบิดาสอนหนังสืออยู่ 2 ปีจึงได้เดินทางไปศึกษาต่อที่สหรัฐเมื่อ พ.ศ. 2427 สำเร็จปริญญา พ.ศ. 2431 จากวิทยาลัยวอร์ชิงตันและเจฟเฟอร์สัน ได้ปริญญาแพทยศาสตร์ใน พ.ศ. 2433 จากวิทยาลัยเวสเทอร์นเมดิคอล แล้วเรียนศัลยแพทย์เฉพาะทาง ที่วิทยาลัยบัลติมอร์ พ.ศ. 2433 จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อด้าน[ศัลยกรรม]]และ[[ทันตกรรม]]จนได้รับปริญญาทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต D.D.S อีกปริญญาหนึ่ง จาก Chirurgical College of DentisityDentistry
 
ยอร์ชเดินทางกลับประเทศไทยใน พ.ศ. 2434 และได้รับการแต่งตั้งเป็นนายแพทย์ใหญ่ศิริราชพยาบาลในปีต่อมานั้นเอง ซึ่งในขณะนั้น แพทย์พยาบาลอีกทั้งเครื่องไม้เครื่องมือต่าง ๆ ทางการแพทย์ยังไม่พร้อม และยิ่งไปกว่านั้นคนไทยก็ยังไม่ยอมเข้ารักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันอีกด้วย ยอร์ชจึงริเริ่มเรียบเรียงตำราแพทย์และบัญญัติศัพท์แพทย์ขึ้นใช้ในการสอนและการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ยังเป็นผู้นำอุปกรณ์การสอนที่เป็นเครื่องฉายกระจกสไลด์มาใช้เป็นคนแรก ยอร์ชได้ปฏิบัติหน้าที่ทั้งการเป็นแพทย์และการเป็นครูจนคนทั่วไปเรียกว่า "หมอยอร์ช" และได้รับการยกย่องในขณะนั้นว่าเป็นบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันมีสมญาว่าเป็นอิฐก้อนแรกของโรงเรียนแพทย์อีกด้วย