ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงครามอะแซหวุ่นกี้"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 38:
* พระยายมราช (บุญมา) เป็น เจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราชฯ เจ้าเมืองพิษณุโลก มีกำลังพล 15,000 คน
* พระยาพิชัยราชา เป็น เจ้าพระยาสวรรคโลก เจ้าเมืองสวรรคโลก มีกำลังพล 7,000 คน
* [[พระยาพิชัยดาบหัก|พระยาสีหราชเดโช (ทองดี)]] เป็น พระยาพิไชยพิชัย เจ้าเมืองพิไชยพิชัย มีกำลังพล 9,000 คน
* พระยาท้ายน้ำ (พระเชียงเงิน) เป็น พระยาสุโขทัย เจ้าเมืองสุโขทัย มีกำลังพล 5,000 คน
* [[เจ้าพระยาสุรบดินทร์สุรินทร์ฦๅไชย (บุญมี)|พระยาสุรบดินทร์ (บุญมี)]] เป็น พระยากำแพงเพชร เจ้าเมืองกำแพงเพชร มีกำลังพล 3,000 คนเศษ
บรรทัด 66:
 
==สงครามตีกรุงธนบุรี==
===สงครามปกป้องเชียงใหม่ (บุกเป็นทัพแรก)===
แผนการขั้นต่อไปของ[[อะแซหวุ่นกี้]]คือส่ง[[เนเมียวสีหบดี]] แม่ทัพใหญ่ฝ่ายเหนือเมื่อคราวมาตี [[กรุงศรีอยุธยา]] ซึ่งได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็น โปสุพลา และโปมะยุง่วน นำทัพจากเมืองเชียงแสนยกมาตีเมืองเชียงใหม่ ทางด้านพระเจ้ากรุงธนบุรีเมื่อทราบข่าวจึงได้ส่ง[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช|เจ้าพระยาจักรี]] รวมถึง[[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท|เจ้าพระยาสุรสีห์]]ที่ยกกองทัพจากหัวเมืองเหนือขึ้นไปช่วยเชียงใหม่ก่อนแล้ว ครั้นไปถึงกองทัพพม่ากลับไม่สู้ โดยแสร้งตั้งทัพดูเชิง พอทัพไทยจะสู้ก็ถอย ทำอย่างนี้อยู่หลายครั้งจากนั้นจึงถอนกำลังกลับไปยังเมืองเชียงแสน เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์จึงเตรียมทัพเพื่อหมายจะพิชิตเมืองเชียงแสน ในระหว่างที่กำลังเตรียมทัพมุ่งไปยึดเชียงแสนนั้นเองสงครามตีเมืองพิษณุโลกก็เกิดขึ้นพร้อมๆกัน โดยอะแซหวุ่นกี้นำทัพใหญ่ 30,000 นายเข้าทางด่านแม่ละเมาไปเมืองตาก มุ่งต่อไปยังเมืองสุโขทัยแล้วให้กองทัพหน้าลงมาตั้งที่บ้านกงธานี ส่วนทัพหลวงตั้งพักที่เมืองสุโขทัย เมื่อ[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช|เจ้าพระยาจักรี]] และ[[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท|เจ้าพระยาสุรสีห์]]ทราบข่าว ก็รู้ในทันทีว่าเป็นแผนของอะแซหวุ่นกี้ที่ดึงกองทัพของฝ่ายกรุงธนบุรีเอาไว้แถวเชียงใหม่ แล้วมุ่งไปยึดเมืองพิษณุโลกในขณะที่การป้องกันอ่อนแอที่สุด เจ้าพระยาจักรี และเจ้าพระยาสุรสีห์ จึงเร่งนำกองทัพที่จะไปตีเชียงแสน มุ่งหน้าสู่พิษณุโลกในทันที เพราะหากเสียเมืองพิษณุโลกอันเป็นหัวเมืองใหญ่แห่งสุดท้ายไปนั้น กองทัพมหาศาลของพม่าจะไหล่บ่าลงมาได้พร้อมๆกัน ซึ่งกรุงธนบุรีไม่มีกำแพงเมืองและปราการธรรมชาติที่เหมาะแก่การตั้งรับเท่ากรุงศรีอยุธยา <ref name=app-207>Phayre, pp. 207-208</ref><ref>Damrong Rajanubhab, pp. 491-492</ref>
 
=== อะแซหวุ่นกี้เข้าล้อมเมืองพิษณุโลก ===
===สงครามตีพิษณุโลก (บุกเป็นทัพที่ 2)===
เดือนตุลาคม พ.ศ. 2318 ทัพพม่ายกเข้ามาทางด่านแม่ละเมา กรมการเมืองตากและพระยาสุรบดินทร์เจ้าเมือง[[จังหวัดกำแพงเพชร|กำแพงเพชร]] เห็นว่าทัพฝ่ายพม่ามีจำนวนมหาศาลไม่อาจต่อกรได้ จึงละทิ้งเมืองอพยพพาผู้คนหลบหนีเข้าป่า<ref name=":1" /> และมีหนังสือบอกความถึงเจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ที่เชียงใหม่ และถวายหนังสือใบบองลงมายังกรุงธนบุรี
ในเดือน [[ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2318]] [[พระเจ้ามังระ]] ได้มีบัญชาให้อะแซหวุ่นกี้เป็นแม่ทัพใหญ่ยกลงมาตีกรุงธนบุรี ซึ่งทางอะแซ่หวุ่นกี้ได้ใช้เส้นทางด้าน[[ตำบลด่านแม่ละเมา|ด่านแม่ละเมา]] แขวง[[เมืองตาก]] ซึ่งเป็นเส้นทางเดียวกับที่ [[พระเจ้าบุเรงนอง]] เคยใช้เข้ามาตี[[กรุงศรีอยุธยา]] ถึง 2 ครั้งเข้าตีกรุงธนบุรีโดยมี [[เนเมียวสีหบดี]] แม่ทัพใหญ่ที่เคยเข้าตีกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี [[พ.ศ. 2310]] เป็นรองแม่ทัพซึ่ง[[อะแซหวุ่นกี้]]ได้ให้เนเมียวสีหบดีคุมกองทัพอีกด้านอยู่แถวเมืองเชียงแสน โดยมีจุดประสงค์เพื่อเบี่ยงเบนกองทัพของเจ้าพระยาจักรี แต่เจ้าพระยาจักรีทราบในทันทีว่าเป็นแผนลวงจึงนำทัพกลับมาป้องกันเมืองพิษณุโลกในทันที ส่วนกองทัพของอะแซหวุ่นกี้พยายามบุกเข้ายึด [[เมืองพิษณุโลก]]เพื่อใช้เป็นฐานที่มั่น แต่เจ้าพระยาจักรีซึ่งต่อมาคือ[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] และเจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราช เจ้าเมืองพิษณุโลกที่ต่อมาคือ [[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท]] เร่งนำกองทัพลงมาป้องกันเมืองพิษณุโลกได้ทันเวลา . <ref> เทปสนทนา เรื่อง วาระสุดท้ายของ [[อาณาจักรอยุธยา]]และราชวงศ์อลองพญา โดย ดร.[[สุเนตร ชุตินธรานนท์]] [[วีระ ธีรภัทร]] ([[เมษายน]] [[พ.ศ. 2544]]) ช่วงที่ 2{{อ้างอิงดีกว่า}}</ref>
 
โปสุพลาและโปมะยุง่วนยกทัพจากเชียงแสนมาเข้าประชิดตีเมืองเชียงใหม่ เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ยกทัพถึงเมืองเชียงใหม่แล้ว ฝ่ายพม่าจึงถอยออกจากเชียงใหม่กลับไปเชียงแสน เจ้าพระยาทั้งสองยกทัพติดตามพม่าไปที่เชียงแสน ในขณะนั้นหนังสือไปถึงเจ้าพระยาทั้งสอง แจ้งความว่าพม่ายกมาทางด่านแม่ละเมาจำนวนมาก เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์จึงรีบรุดยกทัพกลับมาสุโขทัย ตั้งทัพอยู่ที่วัดปากน้ำที่กลางทางใต้เมืองสุโขทัย อะแซหวุ่นกี้ยกทัพมาถึงเมืองสวรรคโลก จับกรมการมาถามว่า "''พระยาเสือเจ้าเมืองพระพิศณุโลกอยู่หรือไม่''"<ref name=":1" /> กรมการตอบว่าไม่อยู่ไปเมืองเชียงใหม่ อะแซหวุ่นกี้จึงว่า "''เจ้าของเขาไม่อยู่ อย่าเพ่อไปเหยียบเมืองพระพิศณุโลกก่อนเลย''"<ref name=":1" /> อะแซหวุ่นกี้ให้กองหน้าของทัพพม่ามาตั้งอยู่ที่[[อำเภอกงไกรลาศ|กงธานี]]
====รูปแบบการรบ====
 
ในการรบป้องกันเมืองพิษณุโลกในครั้งนี้ เป็นการต่อสู้แถวค่ายรอบเมืองเสียเป็นส่วนใหญ่ มีการโอบล้อมและต่างฝ่ายต่างหาทางตัดเสบียงกันเป็นหลัก ทางฝ่ายเจ้าพระยาจักรีที่แม้จะมีทหารน้อยกว่าแต่ก็สามารถต่อสู้กับแม่ทัพเฒ่าอย่างอะแซหวุ่นกี้ได้อย่างสูสี แต่ด้วยประสบการณ์ของแม่ทัพ[[อะแซหวุ่นกี้]]จึงเปลี่ยนแผนการรบ กล่าวคือเมื่อการรบไม่อาจหักเอาได้ด้วยกำลังอะแซหวุ่นกี้ก็ได้ใช้แผนเมื่อครั้งสยบ[[สงครามจีน-พม่า|กองทัพต้าชิง]] นั้นคือหลีกเลี่ยงการปะทะกับกองทัพที่แข็งแกร่ง ทำเพียงตรึงเอาไว้และหาทางตัดเสบียงอาหาร กล่าวคือเมื่อเจอกองทัพของเจ้าพระยาจักรี ก็ไม่ส่งทัพใหญ่เข้าปะทะด้วยตรงๆ แต่ให้ทหารเข้าปะทะเพื่อตรึงไว้เท่านั้น จากนั้นก็แต่งทัพย่อยคอยดักปล้นเสบียงอาหารและตัดกำลังเสริมที่จะเข้ามาช่วยพิษณุโลก ซึ่งในขณะนั้นพระเจ้ากรุงธนบุรีเมื่อทรงทราบว่าเจ้าพระยาทั้งสองถูกกองทัพพม่าล้อมเอาไว้ จึงทรงคุมกองทัพหนุนขึ้นไปช่วยแต่ก็ถูกตีสกัดเอาไว้หลายครั้ง ถึงอย่างนั้นกองทัพพม่าก็ไม่อาจเอาชนะกองทัพหนุนของพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ ทำให้อะแซหวุ่นกี้ถูกตรึงไว้แถวพิษณุโลก
เจ้าพระยาสุรสีห์ปรึกษากับเจ้าพระยาจักรีว่า จะยกทัพไปตีพม่าที่กงธานี เจ้าพระยาจักรีเห็นว่าควรกลับไปจัดแจงบ้านเมืองเตรียมการรับมือข้าศึกพม่าที่พิษณุโลก<ref name=":1" /> เจ้าพระยาจักรีให้กวาดผู้คนเข้าเมืองพิษณุโลก เตรียมการป้องกันเมือง และมีคำสั่งให้พระยาสุโขทัย พระยาอักษรวงศ์ผู้รั้งเมืองสวรรคโลก และพระยาพิไชยสงคราม ยกทัพไปรับพม่าที่กงธานี ส่วนเจ้าพระยาสุรสีห์นั้นยกทัพไปตั้งค่ายที่บ้านไกลป่าแฝก (ตำบลป่าแฝก อำเภอกงไกรลาศ) พม่ายกทัพมาล้อมเจ้าพระยาสุรสีห์ที่บ้านป่าแฝกอย่างรวดเร็ว เปิดแต่เพียงช่องทางลงแม่น้ำ เจ้าพระยาสุรสีห์ตั้งค่ายอยู่ได้สามวัน เห็นว่าทัพพม่ามีกำลังมากเกินกว่าจะรบได้ จึงถอยทัพออกมาทางช่องที่เปิดไว้ไปตั้งรับเมืองพิษณุโลก<ref name=":1" /> ทัพกองหน้าพม่าสามารถเอาชนะทัพไทยของพระยาสุโขทัยและพระยาอักษรวงศ์ได้ ใน'''การรบที่กงธานี''' พม่ายกเข้าตีได้[[อำเภอสวรรคโลก|เมืองสวรรคโลก]] เมือง[[จังหวัดสุโขทัย|สุโขทัย]] แล้วจัดทัพแยกไปตี[[อำเภอพิชัย|เมืองพิชัย]]
 
อะแซหวุ่นกี้ให้ปันญีตจวงนำกำลังพม่า 5,000 คน รักษาการไว้ที่กงธานีเป็นทัพหลัง แล้วทัพหลวงของอะแซหวุ่นกี้จำนวน 30,000 คน ยกมาประชิดเข้าล้อมเมืองพิษณุโลกในเดือนอ้าย (ธันวาคม) พ.ศ. 2318 ตั้งค่ายอยู่ล้อมห่างเมืองพิษณุโลกทั้งสองฟาก นำไปสู่'''การล้อมเมืองพิษณุโลก''' เจ้าพระยาทั้งสองนำเกณฑ์พลขึ้นประจำรักษาหน้าเชิงเทิน ให้ทำสะพานเรือกข้ามแม่น้ำกลางเมืองสามแห่ง ฝ่ายอะแซหวุ่นกี้มี[[ปืนคาบศิลา|ปืนนกสับ]] (Flintlock musket) แห่หน้า 3,000 คน ทหารถือทวนตามหลังอีก 1,000 คน อะแซหวุ่นกี้ขี่ม้ากั้นร่มมีระย้า ออกเลียบหน้าค่าย เจ้าพระยาสุรสีห์ยกทัพออกโจมตีทัพพม่าถึงตะลุมบอน แต่ไม่สำเร็จถอยกลับเข้าเมือง วันรุ่งขึ้นเจ้าพระยาสุรสีห์ยกทัพออกไปตีพม่าอีกครั้งแต่ไม่สำเร็จ วันที่สามเจ้าพระยาจักรีจึงนำทัพออกไปโจมตีพม่าด้วยตนเอง ฝ่ายไทยยกทัพออกไปตีพม่า เก้าวันสิบวันยังไม่สำเร็จ<ref name=":1" />
 
=== ทัพหลวงตั้งที่ปากพิง ===
เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์บอกความลงมากราบทูลฯ ณ กรุงธนบุรีว่า ทัพพม่ายกมาล้อมเมืองพิษณุโลกไว้ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2319 สมเด็จพระเจ้าตากสินตรัสถามแม่ทัพพม่าในคุก ฉับกุงโบงุยอคงหวุ่นและอุตตมสิงหจอจัว ว่าบัดนี้พม่ายกมาทำสงคราม จะให้ไปสู้กับพม่าพวกเดียวกันเองได้หรือไม่ งุยอคงหวุ่นและอุตตมสิงหจอจัว และบรรดานายทัพพม่าเชลยจากสงครามบางแก้ว ให้การตอบว่า หากให้ไปรบกับชาติอื่นจะขอทำสงครามจนสิ้นชีวีต แต่หากให้ไปรบกับพม่าด้วยกันเองแล้ว ทำไม่ได้ มีความละอายแก่ใจเข้าหน้าพวกเดียวกันไม่ติด สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงมีพระราชดำริ ว่าแม่ทัพพม่าเชลยเหล่านี้ ไม่มีความภักดีที่แท้จริง หากยกกำลังเมืองพระนครธนบุรีไปรบกับพม่าทางเหนือ เหลือกำลังรักษาเมืองอยู่น้อย บรรดานายทัพพม่าเชลยอาจก่อกบฏขึ้นได้ จึงมีพระราชโองการให้ลงพระราชอาญาประหารชีวิตงุยอคงหวุ่นและอุตตมสิงหจอจัว บรรดาแม่ทัพพม่าเชลย รวมทั้งพรรคพวกของเจ้าพระฝางที่ยังเหลืออยู่ในคุก เอาไปประหารเสียที่วัดทองคลองบางกอกน้อยทั้งสิ้น<ref name=":1" />
 
สมเด็จพระเจ้าตากสินมีพระราชโองการ ให้พระเจ้าหลานเธอ กรมขุนอนุรักษ์สงคราม ยกทัพออกไปรักษาอยู่เมือง[[จังหวัดเพชรบุรี|เพชรบุรี]] ป้องกันรับทัพพม่าที่อาจมาทาง[[ด่านสิงขร]] และให้เกณฑ์ทัพทางบกทางเรือ พร้อมด้วงช้างม้าสรรพาวุธ กำลังพลชาวไทยและชาวจีน เป็นจำนวนทั้งสิ้น 12,270 คน<ref name=":1" /> ในเดือนยี่ (มกราคม) แรมสิบเอ็ดค่ำ เสด็จเรือพระที่นั่งกราบยาว ยกพยุหยาตรานาวาทัพหลวง พร้อมด้วยข้าทูลละอองฯทั้งปวง เสด็จจากกรุงธนบุรีไปทางชลมารค หยุดประทับที่พลับพลาหน้าฉนวนน้ำพระราชวังหลวงกรุงเก่า หมื่นศักดิ์บริบาลไปสืบราชการกลับมากราบทูลว่า ทัพพระยาสุโขทัยและพระยาอักษรวงศ์ที่กงธานีพ่ายถอยลงมาแล้ว จึงเสด็จลงเรือพระที่นั่งให้เร่งรีบยกทัพขึ้นไป
 
เดือนสาม (กุมภาพันธ์) ทัพหลวงยกถึงปากพิงฝั่งตะวันออก สมเด็จพระเจ้าตากสินมีพระราชโองการ ให้ตั้งค่ายแนวเรียงยาวจากปากพิง เลียบฝั่งตะวันออกของ[[แม่น้ำน่าน]] ไปจนถึงพม่าที่ล้อมเมืองพิษณุโลกอยู่ ดังนี้<ref name=":1" />
 
* ทัพหลวง ประทับอยู่ที่ ปากพิงฝั่งตะวันออก
* พระยาราชสุภาวดี ตั้งค่ายที่บ้านบางทราย
* [[เจ้าพระยาอินทรอภัย]] ตั้งค่ายที่บ้านท่าโรง
* พระยาราชภักดี ตั้งค่ายที่บ้านกระดาษ
* จมื่นเสมอใจราช ตั้งค่ายที่[[วัดจุฬามณี (จังหวัดพิษณุโลก)|วัดจุฬามณี]]
* [[เจ้าพระยานครสวรรค์]] ตั้งค่ายที่วัดจันทร์ โอบค่ายพม่าขึ้นไปจนถึงเมืองพิษณุโลก
 
ทุกค่ายชักปีกกาถึงกัน ตระเวณถึงกันหมด ให้พระศรีไกรลาศ คุมไพร่ทำทางหลวง จากปากพิงไปจนถึงเมืองพิษณุโลก ในขณะที่ฝ่ายพม่าตั้งค่ายอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน ในคืนวันนั้น พม่าจากฝั่งตะวันตกยกข้ามแม่น้ำน่านเข้าโจมตีค่ายของเจ้าพระยาอินทรอภัยที่บ้านท่าโรง ทรงให้หลวงดำเกิงรณภพยกกองเกณฑ์หัด 200 คน ลงเรือไปช่วงเจ้าพระยาอินทรอภัย ต้านพม่าถอยกลับไป วันรุ่งขึ้นเสด็จเรือพระที่นั่งทอดพระเนตรค่ายพระโหราธิบดีที่ฝั่งตะวันตก เห็นพระโหราธิบดีตั้งค่ายริมแม่น้ำเอาต้นไม้ใหญ่ไว้นอกค่าย ข้าศึกอาจปีนต้นไม้ยิงปืนเข้ามาในค่ายได้ มีพระราชโองการให้พระโหราธิบดีตั้งค่ายใหม่โอบล้อมต้นไม้ไว้<ref name=":1" /> พระยารามัญวงศ์ (มะโดด) นำกองมอญเข้าโจมตีพม่าทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของพิษณุโลก สามารถตั้งค่ายได้
 
เจ้าพระยานครสวรรค์ ตั้งค่ายที่วัดจันทร์โอบชิดพม่าที่ล้อมเมืองพิษณุโลก พยายามที่จะเจาะทลายแนวทัพพม่าออกจากพิษณุโลกให้ได้ เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ ยกทัพออกจากเมืองพิษณุโลก มาตั้งค่ายประชิดพม่าที่นอกเมืองฝั่งตะวันออก ฝ่ายพม่ายกเข้ายึดค่ายได้ เจ้าพระยาสุรสีห์ชิงค่ายคืนได้อีก ทั้งฝ่ายพม่าและไทยขุดอุโมงค์เข้ารบกันในอุโมงค์ล้มตายจำนวนมาก สมเด็จพระเจ้าตากสินพระราชทานปืนใหญ่รางเกวียน 20 กระบอก ให้ลากขึ้นไปประชิดพม่าที่พิษณุโลก เจ้าพระยานครสวรรค์ จับเชลยพม่าสองคนให้การว่า ทัพพม่าขัดสนกำลังเสบียงอาจต้องถอยกลับ สมเด็จพระเจ้าตากสินเสด็จค่ายวัดจันทร์ มีพระราชโองการให้กองพระยายมราช (หมัด) พระยานครราชสีมา (ขุนชนะ) และพระยาพิไชยสงคราม เข้าช่วยเจ้าพระยานครสวรรค์ เดือนสามแรมสองค่ำเวลากลางคืน ฝ่ายไทยที่วัดจันทร์ยิงปืนใหญ่เข้าโจมตีทลายค่ายพม่า เพื่อที่จะเจาะเข้าหาช่วยเมืองพิษณุโลกให้ได้ แต่สู้รบกันจนรุ่งเช้าไม่สำเร็จ ไม่สามารถหักเอาค่ายพม่าได้จึงถอยออกมา<ref name=":1" />
 
สมเด็จพระเจ้าตากสินเสด็จจากค่ายวัดจันทร์มาประทับที่บางทราย มีพระราชดำริแบ่งทัพยกไปทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน ล้อมโอบหลังพม่าอีกทางหนึ่ง มีพระราชโองการให้เจ้าพระยามหามณเฑียรเป็นแม่ทัพ ยกทัพ 5,000 คน<ref name=":1" /> ให้เจ้าพระยานครสวรรค์เป็นทัพหน้า ให้หลวงดำเกิงรณภพคุมทหารกองในกองนอกและกองเกณฑ์หัด ทั้งสิ้น 3,400 คน ยกไปทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน โอบหลังพม่าที่วัดจันทร์ฝั่งตะวันตก และทรงให้พระยาราชภักดี ไปนำปืนพระยาราชปักษี และปืนฉัตรไชย จากกรุงธนบุรีมา
 
=== พม่าตีวกหลังตัดเสบียง ===
บรรดาแม่ทัพนายกองพม่า แจ้งแก่งอะแซหวุ่นกี้ว่า ฝ่ายไทยป้องกันเมืองพิษณุโลกเข็มแข็ง ไม่อาจเอาชนะได้โดยง่าย<ref name=":1" /> อีกทั้งสมเด็จพระเจ้าตากสินยังเสด็จยกทัพหลวงพร้อมรี้พลจำนวนมาก สงครามครั้งนี้มีโอกาสยืดเยื้อยาวนาน อะแซหวุ่นกี้จึงใช้ม้าเร็วไปแจ้งแก่ปันญีตจวง ทัพหลังซึ่งตั้งอยู่ที่กงธานี ให้คุมกำลังพม่า 3,000 คน<ref name=":1" /> ยกทัพลงไปทางเมืองกำแพงเพชร เมืองนครสวรรค์ แซงลงไปจนถึงเมือง[[จังหวัดอุทัยธานี|อุทัยธานี]] วกหลังตัดเสบียงฝ่ายไทย ทำให้ฝ่ายไทยต้องเผชิญศึกสองด้าน ทั้งทางพิษณุโลกและทางอุทัยธานี ส่วนกำลังอีก 2,000 คนที่เหลือ ให้มารวมกับทัพของอะแซหวุ่นกี้ที่พิษณุโลก
 
เดือนสามแรมหกค่ำ พระยาสุโขทัยซึ่งซุ่มคอยสังเกตการณ์ทัพพม่าที่กงธานี เห็นพม่าที่กงธานียกทัพออกไป ข้ามแม่น้ำไปฝั่งตะวันตกส่วนหนึ่ง และยกมาที่พิษณุโลกส่วนหนึ่ง พระยาสุโขทัยนำความมากราบทูลฯ สมเด็จพระเจ้าตากสินเมื่อทรงทราบความ ก็ทรงตระหนักได้ว่าฝ่ายพม่ากำลังจะตีวกหลังตัดเสบียง จึงมีพระราชโองการให้พระยาราชภักดี และพระยาพิพัฒโกษา ยกทัพลงไปช่วยพระยาราชาเศรษฐีจีน (ตั้งเลี้ยง) ป้องกันเมืองนครสวรรค์ ให้กองของ[[เจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช (บุญรอด บุณยรัตพันธุ์)|พระยาธรรมา (บุญรอด)]] ยกหนุนไปช่วยเจ้าพระยามหามณเฑียรและเจ้าพระยานครสวรรค์ ซึ่งไปตั้งค่ายโอบหลังพม่าอยู๋ที่วัดจันทร์ฝั่งตะวันตก และให้หลวงภักดีสงคราม พระยาเจ่ง และกรมการเมืองชัยนาท คุมพลไทยมอญจำนวน 500 คนเศษ ไปตั้งอยู่ร้านดอกไม้เมืองกำแพงเพชร คอยสังเกตการณ์ว่าทัพพม่าที่ยกมาจากกงธานีจะยกมาถึงกำแพงเพชรหรือไม่<ref name=":1" />
 
===พม่าบุกทางใต้ยึดเมืองกุย เมืองปราณ (บุกเป็นทัพที่ 3)===