ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงครามอะแซหวุ่นกี้"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Patcha007 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
เหตุการณ์นำ
บรรทัด 29:
'''สงครามอะแซหวุ่นกี้''' เป็นความขัดแย้งทางทหารที่สำคัญระหว่าง [[ราชวงศ์โก้นบอง]] ของพม่าและ [[อาณาจักรธนบุรี]] ของสยาม หลัง [[การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2|การล่มสลายของอยุธยา]] เมื่อ 8 ปีก่อน [[สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช]] และผู้ติดตามของพระองค์ได้สร้างสยามขึ้นใหม่โดย [[การสงครามสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี|การรวมรัฐที่แตกแยกหลังจากการล่มสลายของอยุธยา]] กองทัพพม่าต้องเผชิญกับการต่อต้านอย่างหนักจากกองทัพสยาม และสุดท้ายก็ถอนตัวจากสยามหลังจากการสวรรคตของ [[พระเจ้ามังระ]] เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ปี พ.ศ. 2319 สงครามครั้งนี้พม่าเสีย [[ล้านนา]] ให้กับสยาม ซึ่งเป็นการสิ้นสุดการปกครองของพม่ากว่า 200 ปีในล้านนา
 
== เหตุการณ์นำ ==
==สงครามตีกรุงธนบุรี==
===สงครามบางแก้ว===
สงครามครั้งนี้เป็นสงครามที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันเริ่มจากสงครามบางแก้ว ที่[[เมืองราชบุรี]] เมื่อปี [[พ.ศ. 2317]] หลังจากที่ทัพของ [[พระเจ้ากรุงธนบุรี]] นำทัพ 15,000 นายไปป้องกันกองทัพพม่าด้วยพระองค์เอง ทรงสามารถล้อมทัพของงุยอคงหวุ่น หรือฉับกุงโบ่ หนึ่งในแม่ทัพที่เคยมาตี [[กรุงศรีอยุธยา]] เมื่อปี [[พ.ศ. 2310]] ไว้ได้นานถึง 47 วันก่อนที่งุยอคงหวุ่นจะยอมแพ้ทำให้ทางฝั่งกรุงธนบุรีสามารถจับเชลยได้มากตามที่ [[พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)]] ได้บันทึกเอาไว้ว่าทางกรุงธนบุรีได้เชลยมากถึง 1,328 คนจากทหารทั้งหมด 3,000 คน ทางด้านอะแซ่หวุ่นกี้ที่อยู่ [[เมืองเมาะตะมะ]] เมื่อทราบข่าวว่าทัพหน้าที่ส่งไปพ่ายแพ้ก็มิได้ส่งกองทัพลงไปช่วย เนื่องจากเห็นว่าจะทำให้สูญเสียกำลังไพร่พลไปมากกว่านี้ โดยกองทัพนี้เป็นกองทัพที่อะแซหวุ่นกี้แบ่งมาเพื่อกวาดต้อนผู้คนเสบียง รวมไปถึงหยั่งเชิงดูการป้องกันของฝ่ายกรุงธนบุรีในเส้นทางนี้ และสร้างความสับสนในเส้นทางการบุก ส่วนอะแซหวุ่นกี้นำทัพใหญ่ 30,000 นายยังรั้งรออยู่ไม่มีความเคลื่อนไหว
 
=== สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงปราบชุมนุม ===
ในเดือนมกราคมพ.ศ. 2310<ref name=":0">ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๕ [[พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)|พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)]]</ref> ประมาณสามเดือนก่อน[[การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง]] พระยาตาก (สิน) ได้นำกองกำลังฝ่าวงล้อมของพม่าออกมาจากอยุธยา เดินทางไปตั้งมั่นที่เมืองระยอง หลังจากการเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่าในเดือนเมษายน พ.ศ. 2310 ฝ่ายพม่าจำต้องดึงกองกำลังส่วนใหญ่ในสยามไปรบกับจีนทางเหนือ ใน[[สงครามจีน–พม่า|สงครามจีน-พม่า]] (Sino-Burmese War) เหลือกองกำลังพม่ารักษาการอยู่ในสยามจำนวนหนึ่ง มีสุกี้พระนายกองหรือ[[นายทองสุก]]ชาวมอญเป็นผู้รักษาการอยู่ที่[[ค่ายโพธิ์สามต้น|ค่ายโพธิ๋สามต้น]] อาณาจักรสยามแยกแบ่งออกเป็นชุมนุมต่างๆ พระยาตากเข้ายึดเมืองจันทบุรีได้สำเร็จในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2310<ref name=":0">ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๕ [[พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)|พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)]]</ref> แล้วยกทัพเรือกลับเข้ามาอยุธยาเข้าตีค่ายพม่าโพธิ์สามต้นได้สำเร็จในเดือนพฤศจิกายน ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็น[[สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี]] เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 ปีต่อมาในพ.ศ. 2311 เสด็จไปรบกับพม่าใน[[สงครามบางกุ้ง]]ได้รับชัยชนะ จากนั้นเสด็จไปปราบชุมนุมต่างๆ
 
ในพ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้าตากสินเสด็จยกทัพไปปราบ[[ชุมนุมเจ้าพระฝาง]] มีพระราชโองการให้[[เจ้าพระยาพิชัยราชา|พระยาพิชัยราชา]] และ[[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท|พระยายมราช (บุญมา)]] เป็นทัพหน้า<ref name=":0">ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๕ [[พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)|พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)]]</ref> เข้าตียึดเมืองพิษณุโลกได้สำเร็จในเดือนกรกฏาคม พ.ศ. 2313 ปราบชุมนุมเจ้าพระฝางลงได้สำเร็จ รวบรวมอาณาเขตขัณฑสีมาของอยุธยาไว้ได้ทั้งหมดแล้ว จึงมีพระราชโองการแต่งตั้งข้าหลวงเดิมซึ่งมีความชอบในการสงครามให้อยู่ครองหัวเมืองเหนือ พร้อมจัดสรรกองกำลังไว้รับมือการรุกรานของพม่าไว้ดังนี้;<ref name=":1">พระราชพงษาวดารกรุงเก่า (ฉบับหมอบรัดเล).</ref>
 
* พระยายมราช (บุญมา) เป็น เจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราชฯ เจ้าเมืองพิษณุโลก มีกองกำลัง 15,000 คน
* พระยาพิชัยราชา เป็น เจ้าพระยาสวรรคโลก เจ้าเมืองสวรรคโลก มีกองกำลัง 7,000 คน
* [[พระยาพิชัยดาบหัก|พระยาสีหราชเดโช (ทองดี)]] เป็น พระยาพิไชย เจ้าเมืองพิไชย มีกองกำลัง 9,000 คน
* พระยาท้ายน้ำ (พระเชียงเงิน) เป็น พระยาสุโขทัย เจ้าเมืองสุโขทัย มีกองกำลัง 5,000 คน
* [[เจ้าพระยาสุรบดินทร์สุรินทร์ฦๅไชย (บุญมี)|พระยาสุรบดินทร์ (บุญมี)]] เป็น พระยากำแพงเพชร เจ้าเมืองกำแพงเพชร มีกองกำลัง 3,000 คนเศษ
* พระยาอนุรักษ์ภูธร เป็น [[เจ้าพระยานครสวรรค์]] เจ้าเมืองนครสวรรค์ มีกองกำลัง 3.000 คนเศษ
 
=== กบฏมอญต่อพม่า พ.ศ. 2317 ===
เมื่อพ.ศ. 2315 หลังจากเสร็จสิ้นสงครามจีน-พม่าแล้ว [[พระเจ้ามังระ]]แห่ง[[ราชวงศ์โก้นบอง|ราชวงศ์คองบอง]]มีพระราชดำริว่า ฝ่ายสยามหลังจากการเสียกรุงศรีอุยธยาครั้งที่สองแล้ว กลับสามารถตั้งตนขึ้นใหม่ภายใต้การนำของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ สมควรจัดทัพเข้าโจมตีสยามเพื่อมิให้เป็นเสี้ยนหนามในอนาคต<ref name=":0">ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๕ [[พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)|พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)]]</ref><ref name=":1">พระราชพงษาวดารกรุงเก่า (ฉบับหมอบรัดเล).</ref><ref name=":2">Phraison Salarak (Thien Subindu), Luang. Intercourse between Burma and Siam as recorded in Hmannan Yazawindawgyi. Bangkok; July 25, 1919.</ref> จึงมีพระราชโองการให้[[เนเมียวสีหบดี]]หรือโปสุพลายกทัพไปเชียงใหม่ล้านนา และทรงแต่งตั้งปะกันหวุ่นหรือแมงยีกามะนีจันทา<ref name=":2">Phraison Salarak (Thien Subindu), Luang. Intercourse between Burma and Siam as recorded in Hmannan Yazawindawgyi. Bangkok; July 25, 1919.</ref> (Mingyi Kamani Sanda) เป็นเจ้าเมือง[[เมาะตะมะ]]คนใหม่ จัดเกณฑ์ทัพเข้ารุกรานสยาม ในพ.ศ. 2317 แมงยีกามะนีจันทาเจ้าเมืองเมาะตะมะ สั่งให้หัวหน้าชาวมอญได้แก่[[เจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง คชเสนี)|พระยาเจ่ง]] (Binnya Sein) ตละเสี้ยง ตละเกล็บ ยกทัพหน้าชาวมอญเข้ารุกรานสยาม ปรากฏว่าเจ้าเมืองเมาะตะมะได้ขูดรีดทรัพย์สินจากชาวมอญเมืองเมาะตะมะ<ref name=":1">พระราชพงษาวดารกรุงเก่า (ฉบับหมอบรัดเล).</ref><ref name=":2">Phraison Salarak (Thien Subindu), Luang. Intercourse between Burma and Siam as recorded in Hmannan Yazawindawgyi. Bangkok; July 25, 1919.</ref> ได้รับความเดือดร้อน ความรู้ไปถึงพระยาเจ่งและบรรดาหัวหน้าชาวมอญ มีความขุ่นเคืองต่อพม่า จึงกบฏขึ้นต่อมายกทัพกลับมายึดเมืองเมาะตะมะและยกทัพต่อไปยึดเมืองย่างกุ้งได้ ฝ่ายพม่ายึดเมืองย่างกุ้งกลับคืนได้ ทำให้พระยาเจ่ง ตละเกล็บ และผู้นำชาวมอญทั้งหลายรวมทั้งชาวมอญจำนวนมาก ต่างอพยพลี้ภัยเข้าในสยามมาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ผ่านทาง[[ด่านเจดีย์สามองค์]]และ[[ตำบลด่านแม่ละเมา|ด่านแม่ละเมา]]
 
ในพ.ศ. 2317 พระเจ้ามังระมีพระราชโองการให้[[อะแซหวุ่นกี้]] (Athi Wungyi) หรือมหาสีหสุระ (Maha Thiha Thura) แม่ทัพผู้มีบทบาทสำคัญในสงครามจีน-พม่า ยกทัพพม่าจำนวน 35,000 คน<ref name=":0">ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๕ [[พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)|พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)]]</ref> จากอังวะมาตั้งที่เมืองเมาะตะมะ เพื่อตามจับชาวมอญที่หลบหนีและยกทัพเข้ารุกรานสยามกรุงธนบุรี
 
=== สงครามบางแก้ว ===
{{main|สงครามบางแก้ว}}
อะแซหวุ่นกี้ตั้งทัพที่เมืองเมาะตะมะแล้ว มีคำสั่งให้แมงเยรานนอง<ref name=":2">Phraison Salarak (Thien Subindu), Luang. Intercourse between Burma and Siam as recorded in Hmannan Yazawindawgyi. Bangkok; July 25, 1919.</ref> (Minye Yannaung) หรือพงศาวดารไทยเรียกว่า ตะแคงมระหน่อง พร้อมทั้งฉับกุงโบ หรือฉัพพะกุงโบ<ref>ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๑๔: คำให้การชาวอังวะ</ref> (Satpagyon Bo) ในพงศาวดารไทยเรียกว่า งุยอคงหวุ่น ยกทัพพม่าจำนวน 8,000 คน ผ่านด่านเจดีย์สามองค์เข้ารุกรานกาญจนบุรีในเดือนกุมภาพันธ์พ.ศ. 2318 ฝ่ายพม่ายกทัพเข้ายึดเมืองกาญจนบุรีได้ ฉับกุงโบยกทัพมาตั้งค่ายที่บางแก้ว นำไปสู่[[สงครามบางแก้ว|'''สงครามบางแก้ว''']] ฝ่ายสยามกองกำลังส่วนใหญ่อยู่ระหว่างสงครามตีเมืองเชียงใหม่ สมเด็จพระเจ้าตากสินมีพระราชโองการให้เรียกทัพจากทางเหนือมาตั้งรับพม่าทางด่านตะวันตกอย่างเร่งด่วน มีพระราชโองการให้[[สมเด็จพระมหาอุปราช เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์|พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าจุ้ย]] และ[[พระเจ้าหลานเธอ เจ้ารามลักษณ์]] เสด็จยกทัพไปตั้งรับพม่าที่บางแก้ว ฉับกุงโบเป็นแม่ทัพพม่าซึ่งเคยติดตามเนเมียวสีหบดีเข้าร่วมสงครามเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยา มีความประมาทต่อกองทัพสยามถือตนว่าเคยมีประสบการณ์ในการรบกับไทย<ref name=":1">พระราชพงษาวดารกรุงเก่า (ฉบับหมอบรัดเล).</ref><ref name=":2">Phraison Salarak (Thien Subindu), Luang. Intercourse between Burma and Siam as recorded in Hmannan Yazawindawgyi. Bangkok; July 25, 1919.</ref> ปล่อยให้ฝ่ายสยามเข้าล้อมไว้ถึงสามชั้น สมเด็จพระเจ้าตากสินเสด็จยกพยุหยาตราทางนาวาจากธนบุรีไปบางแก้วราชบุรี มีพระราชโองการให้ล้อมพม่าบางแก้วไว้ให้มิดชิดจนกว่าจะขาดเสบียงและหิวโหย
 
สมเด็จพระเจ้าตากสินมีพระราชโองการให้[[พระยายมราช (หมัด)]] ไปตั้งที่ดงรังหนองขาว ทางตะวันออกของกาญจนบุรี รับศึกกับตะแคงมระหน่องที่กาญจนบุรี และให้[[พระยารามัญวงศ์ (มะโดด)]] ไปตั้งที่เขาชะงุ้ม ตะแคงมระหน่องส่งทัพพม่ามาตีเขาชะงุ้มเข้ายึดได้สำเร็จ พระยารามัญวงศ์เสียค่ายเขาชะงุ่มให้แก่พม่า ต่อมา[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช|เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง)]] เจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) เจ้าพระยานครสวรรค์ และ[[พระยานครราชสีมา (ขุนชนะ)]] ยกทัพหัวเมืองเหนือและตะวันออกเข้ามาสมทบ<ref name=":1">พระราชพงษาวดารกรุงเก่า (ฉบับหมอบรัดเล).</ref> ทำให้ฝ่ายสยามมีกองกำลังเพิ่มพูนมากขึ้น รวมทั้งสิ้นประมาณ 20,000 คน<ref name=":2">Phraison Salarak (Thien Subindu), Luang. Intercourse between Burma and Siam as recorded in Hmannan Yazawindawgyi. Bangkok; July 25, 1919.</ref> ฝ่ายฉับกุงโบแม่ทัพพม่าที่บางแก้ว ถูกฝ่ายไทยล้อมไว้นาน 47 วัน ขาดแคลนเสบียงมีความอดอยากและขาดน้ำ สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงให้ขุนนางชาวมอญเข้าไปเกลี้ยกล่อม จนกระทั่งฉับกุงโบงุยอคงหวุ่น และอุตตมสิงหจอจัว แม่ทัพพม่าทั้งสอง ยอมจำนนพ่ายแพ้และเข้าสวามิภักดิ์ต่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีในที่สุด เจ้าพระยาจักรียกทัพเข้ายึดเขาชะงุ้มคืนจากพม่าได้สำเร็จ<ref name=":1">พระราชพงษาวดารกรุงเก่า (ฉบับหมอบรัดเล).</ref> ตะแคงมาระหน่องแม่ทัพพม่าที่กาญจนบุรีจึงถอยกลับไปเมาะตะมะ ฉับกุงโบและอุตตมสิงหจอจัวรวมทั้งเชลยศึกชาวพม่าจำนวนทั้งสิ้นพันกว่าคนถูกนำตัวมาไว้ที่ธนบุรี
 
แม่ทัพพม่าให้การว่า อะแซหวุ่นกี้ที่เมืองเมาะตะมะเตรียมการยกทัพใหญ่เข้าโจมตีสยาม สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงมีท้องตราให้เกณฑ์ทัพจากหัวเมือง'ปากใต้'ได้แก่ [[จังหวัดจันทบุรี|จันทบุรี]] [[อำเภอไชยา|ไชยา]] [[จังหวัดนครศรีธรรมราช|นครศรีธรรมราช]] และ[[จังหวัดพัทลุง|พัทลุง]] มาร่วมรบกับพม่า เจ้าพระยาจักรีทูลว่า ทัพหัวเมืองฝ่ายใต้อาจเกณฑ์มาไม่ทันรบกับพม่า ทัพในพระนครธนบุรีและหัวเมืองเหนือ ยังเพียงพอในการต้านทัพพม่า<ref name=":1">พระราชพงษาวดารกรุงเก่า (ฉบับหมอบรัดเล).</ref> สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงเห็นชอบด้วย จึงมีพระราชโองการให้หัวเมืองปากใต้เหล่านั้นส่งข้าวมาเป็นเสบียงแทน นครศรีธรรมราชส่งข้าว 600 เกวียน จันทบุรี ไชยา และพัทลุง ส่งข้าวเมืองละ 400 เกวียน<ref name=":1">พระราชพงษาวดารกรุงเก่า (ฉบับหมอบรัดเล).</ref>
 
=== การจัดเตรียมทัพของพม่า ===
ในเดือนกันยายนพ.ศ. 2318 [[พระยาวิเชียรปราการ (บุญมา)|พระยาวชิรปราการ (บุญมา)]] เจ้าเมืองเชียงใหม่ มีหนังสือลงมายังธนบุรีบอกว่า ฝ่ายโปสุพลาเนเมียวสีหบดี และ[[โป่มะยุง่วน|โปมะยุง่วน]] ซึ่งพ่ายแพ้ถอยไปอยู่ที่เมือง[[อำเภอเชียงแสน|เชียงแสน]]นั้น ได้ข่าวว่ากำลังเตรียมการยกทัพจากเชียงแสนมาตีเมืองเชียงใหม่อีกครั้ง สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงมีพระราชโองการให้เจ้าพระยาจักรี และเจ้าพระยาสุรสีห์ ยกทัพเมืองพิษณุโลกและหัวเมืองเหนือไปเตรียมป้องกันเมืองเชียงใหม่ และยกไปตีเมืองเชียงแสนให้สำเร็จ
 
ฝ่ายพระเจ้ามังระ เสด็จจากเมืองอังวะมายกฉัตรพระมหาเจดีย์เกตุธาตุ ([[เจดีย์ชเวดากอง]]) ที่เมืองย่างกุ้งตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2318<ref name=":2">Phraison Salarak (Thien Subindu), Luang. Intercourse between Burma and Siam as recorded in Hmannan Yazawindawgyi. Bangkok; July 25, 1919.</ref> อะแซหวุ่นกี้มีหนังสือขึ้นไปกราบทูลว่า ทัพฝ่ายพม่าพ่ายแพ้ที่บางแก้ว สูญเสียรี้พลไปจำนวนมากฝ่ายจับเป็นเชลยไปได้พันเศษคน ฝ่ายไทยยังมีกำลังเนื่องด้วยหัวเมืองฝ่ายเหนือยัง "บริบูรณ์"<ref name=":1">พระราชพงษาวดารกรุงเก่า (ฉบับหมอบรัดเล).</ref> มั่งคั่งไปด้วยผู้คนและทรัพยากร จึงขอพระราชทานยกทัพไปตีหัวเมืองเหนือให้ได้เสียก่อน ฝ่ายสยามจึงจะอ่อนกำลังลง พระเจ้ามังระทรงเห็นชอบด้วย มีพระราชโองการให้อะแซหวุ่นกี้ยกทัพเข้าโจมตีหัวเมืองเหนือให้ราบคาบยับเยินให้จงได้ พระเจ้ามังระประทับเมืองย่างกุ้งอยู๋สามเดือน หลังจากสมโพชเฉลิมฉลองพระมหาเจดีย์เกตุธาตุแล้ว จึงเสด็จกลับเมืองอังวะ
 
อะแซหวุ่นกี้จัดทัพ ให้แมงแยยางูผู้เป็นน้องชายของตน กับกละโบ่ ปันญีแยข่องจอ<ref name=":2">Phraison Salarak (Thien Subindu), Luang. Intercourse between Burma and Siam as recorded in Hmannan Yazawindawgyi. Bangkok; July 25, 1919.</ref> (Pyanchi Yegaung Kyaw) และปันญีตจวง เป็นทัพหน้า ยกกำลังพม่า 20,000 คน ตัวอะแซหวุ่นกี้เป็น''โบชุก''หรือแม่ทัพ กับตะแคงมระหน่อง และเจ้าเมืองตองอู ยกทัพหลวงจำนวน 15,000 คน ออกจากเมืองเมาะตะมะในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2318 ผ่านด่านแม่ละเมาเข้าเมืองตาก
 
==สงครามตีกรุงธนบุรี==
===สงครามปกป้องเชียงใหม่ (บุกเป็นทัพแรก)===
แผนการขั้นต่อไปของ[[อะแซหวุ่นกี้]]คือส่ง[[เนเมียวสีหบดี]] แม่ทัพใหญ่ฝ่ายเหนือเมื่อคราวมาตี [[กรุงศรีอยุธยา]] ซึ่งได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็น โปสุพลา และโปมะยุง่วน นำทัพจากเมืองเชียงแสนยกมาตีเมืองเชียงใหม่ ทางด้านพระเจ้ากรุงธนบุรีเมื่อทราบข่าวจึงได้ส่ง[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช|เจ้าพระยาจักรี]] รวมถึง[[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท|เจ้าพระยาสุรสีห์]]ที่ยกกองทัพจากหัวเมืองเหนือขึ้นไปช่วยเชียงใหม่ก่อนแล้ว ครั้นไปถึงกองทัพพม่ากลับไม่สู้ โดยแสร้งตั้งทัพดูเชิง พอทัพไทยจะสู้ก็ถอย ทำอย่างนี้อยู่หลายครั้งจากนั้นจึงถอนกำลังกลับไปยังเมืองเชียงแสน เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์จึงเตรียมทัพเพื่อหมายจะพิชิตเมืองเชียงแสน ในระหว่างที่กำลังเตรียมทัพมุ่งไปยึดเชียงแสนนั้นเองสงครามตีเมืองพิษณุโลกก็เกิดขึ้นพร้อมๆกัน โดยอะแซหวุ่นกี้นำทัพใหญ่ 30,000 นายเข้าทางด่านแม่ละเมาไปเมืองตาก มุ่งต่อไปยังเมืองสุโขทัยแล้วให้กองทัพหน้าลงมาตั้งที่บ้านกงธานี ส่วนทัพหลวงตั้งพักที่เมืองสุโขทัย เมื่อ[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช|เจ้าพระยาจักรี]] และ[[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท|เจ้าพระยาสุรสีห์]]ทราบข่าว ก็รู้ในทันทีว่าเป็นแผนของอะแซหวุ่นกี้ที่ดึงกองทัพของฝ่ายกรุงธนบุรีเอาไว้แถวเชียงใหม่ แล้วมุ่งไปยึดเมืองพิษณุโลกในขณะที่การป้องกันอ่อนแอที่สุด เจ้าพระยาจักรี และเจ้าพระยาสุรสีห์ จึงเร่งนำกองทัพที่จะไปตีเชียงแสน มุ่งหน้าสู่พิษณุโลกในทันที เพราะหากเสียเมืองพิษณุโลกอันเป็นหัวเมืองใหญ่แห่งสุดท้ายไปนั้น กองทัพมหาศาลของพม่าจะไหล่บ่าลงมาได้พร้อมๆกัน ซึ่งกรุงธนบุรีไม่มีกำแพงเมืองและปราการธรรมชาติที่เหมาะแก่การตั้งรับเท่ากรุงศรีอยุธยา <ref name=app-207>Phayre, pp. 207-208</ref><ref>Damrong Rajanubhab, pp. 491-492</ref>