ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 5 sources and tagging 1 as dead.) #IABot (v2.0.8.1
Adrich (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มรูปภาพจุดเริ่มต้นทางคู่ขนาน
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Chim Phli, Taling Chan, Bangkok 10170, Thailand - panoramio.jpg|thumb|[[ถนนบรมราชชนนี]]และทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี บริเวณทางขึ้นลงต่างระดับฉิมพลี]]
[[ไฟล์:Boromarajajonani.jpg|thumb|ทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี ทิวทัศน์จากทางวิ่ง[[รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล]]]]
[[ไฟล์:Start Borommaratchachonnani Elevated Highway.jpg|left|thumb|จุดเริ่มต้นทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี ต่อเนื่องจากสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า]]
 
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ '''ทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี''' เป็นทางยกระดับ กว้าง 4-5 ช่องจราจร ระยะทางประมาณ 14 กิโลเมตร คร่อมและคู่ขนานไปกับถนนบรมราชชนนี จากทางแยกอรุณอมรินทร์ถึงย่านพุทธมณฑล สาย 2 สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2538 เพื่อบรรเทาปัญหาจราจรบริเวณสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าฝั่งพระนคร ที่ส่งผลต่อไปถึง[[ถนนราชดำเนิน]]และ[[ถนนหลานหลวง]] รวมทั้งฝั่งธนบุรีที่ส่งผลถึง[[ถนนบรมราชชนนี]]และถนนย่านชานเมือง
 
เส้น 11 ⟶ 10:
'''ช่วงที่หนึ่ง''' อยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร ระยะทาง 4.515 กิโลเมตร จากบริเวณทางแยกอรุณอมรินทร์ถึงทางแยกต่างระดับสิรินธร เป็นทางยกระดับโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก และคอนกรีตอัดแรง บนถนนบรมราชชนนี สูงเหนือผิวจราจรเดิมประมาณ 12.00 เมตร กว้าง 19.45 เมตร มีช่องทางจราจร 5 ช่องทาง (ช่วงทางแยกอรุณอมรินทร์ถึงทางแยกบรมราชชนนี) และ 4 ช่องจราจร (ช่วงทางแยกบรมราชชนนีถึงทางแยกต่างระดับสิรินธร) ช่องทางละ 3.50 เมตร ไหล่ทางข้างละ 1.25 เมตร แบ่งเป็นช่องทางขาออก 2 ช่องทาง และช่องทางขาเข้า 2 ช่องทาง พื้นผิวจราจร คอนกรีตเสริมเหล็กและปูทับหน้าด้วยแอสฟัลท์ผสมร้อนหนา 5 เซนติเมตร พร้อมเกาะกลางเพื่อแยกทิศทางการจราจร<ref>{{Cite web |url=http://arcit.bsru.ac.th/royal9/index.php?option=com_content&task=view&id=37&Itemid=34 |title=โครงการพระราชดำริ ถนนคู่ขนานลอยฟ้า ถนนบรมราชชนนี |access-date=2012-12-04 |archive-date=2010-03-08 |archive-url=https://web.archive.org/web/20100308161856/http://arcit.bsru.ac.th/royal9/index.php?option=com_content&task=view&id=37&Itemid=34 |url-status=dead }}</ref>
 
'''ช่วงที่สอง''' อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง ระยะทาง 9.363 กิโลเมตร ต่อเนื่องกับทางช่วงแรกจากทางแยกต่างระดับสิรินธร-แยกพุทธมณฑล กม.3+386 ถึงถนนทางแยกต่างระดับฉิมพลี กม.13+200 ไปสิ้นสุดโครงการบริเวณเลยจุดข้ามทางแยกพุทธมณฑล สาย 2 ไป 500 เมตร โดยลักษณะโครงการเป็นสะพานยกระดับสูง 15.00 เมตร กว้าง 19.50 เมตร ขนาด 4 ช่องจราจร แยกทิศทางไปกลับข้างละ 2 ช่องจราจร กว้างช่องละ 3.50 เมตร มีทางขึ้นลง 2 แห่ง นอกจากนี้ ยังขยายถนนในระดับพื้นล่างเพิ่มจาก 8 ช่องจราจร แบ่งเป็น 12 ช่องจราจร แบ่งเป็นช่องทางด่วน 6 ช่องจราจร กว้างช่องละ 3.50 เมตร และทางคู่ขนานด้านละ 3 ช่องจราจร กว้างช่องละ 3.00 เมตร พร้อมทั้งก่อสร้างสะพานกลับรถอีก 2 แห่งเพื่อใช้กลับรถด้วย<ref>{{Cite web |url=http://www.doh.go.th/web/kingproject/kpj5.html |title=โครงการในพระราชดำริ โครงการทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนี |access-date=2012-12-04 |archive-date=2014-04-12 |archive-url=https://web.archive.org/web/20140412005229/http://www.doh.go.th/web/kingproject/kpj5.html |url-status=dead }}</ref>[[ไฟล์:Chim Phli, Taling Chan, Bangkok 10170, Thailand - panoramio.jpg|thumb|[[ถนนบรมราชชนนี]]และทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี บริเวณทางขึ้นลงต่างระดับฉิมพลี]]
 
== ประวัติ ==
[[ไฟล์:DSC06465 Art from Royal Crematorium king Rama 9 Photographed by Trisorn Triboon.jpg|thumb|350px|พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไปทรงเปิดทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนี เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2541 (ภาพจิตรกรรมภายในพระที่นั่งทรงธรรม มณฑลพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ ท้องสนามหลวง เมื่อ พ.ศ. 2560)]]