ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระยาพิชัยดาบหัก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Patcha007 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไทๆ (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์โยงหน้ายิบย่อยที่ไม่จำเป็น
บรรทัด 34:
== ประวัติ ==
=== วัยเยาว์ ===
พระยาพิชัยดาบหัก เดิมชื่อ จ้อย เกิดในปี [[พ.ศ. 2284]] ที่บ้านห้วยคา เมือง[[พิชัย]] จังหวัดอุตรดิตถ์ มีพี่น้อง 4 คน แต่เสียชีวิตไป 3 คน เด็กชายจ้อยมีนิสัยชอบชกมวยมาตั้งแต่เยาว์วัย บิดาได้พร่ำสอนเสมอ ถ้าจะชกมวยให้เก่งต้องขยันเรียนหนังสือด้วย เมื่ออายุได้ 14 ปี บิดานำไปฝากกับท่านพระครูวัดมหาธาตุ เมืองพิชัย จ้อยสามารถอ่านออกเขียนได้จนแตกฉานและซ้อมมวยไปด้วย
 
ต่อมาเจ้าเมืองพิชัยได้นำบุตร (ชื่อเฉิด) มาฝากที่วัดเพื่อร่ำเรียนวิชา เฉิดกับพวกมักหาทางทะเลาะวิวาทกับจ้อยเสมอ เขาจึงตัดสินใจหนีออกจากวัดขึ้นไปทางเหนือโดยมิได้บอกพ่อแม่และอาจารย์ เดินตามลำน้ำน่านไปเรื่อยๆ เมื่อเหนื่อยก็หยุดพักตามวัด ที่วัดบ้านแก่ง จ้อย ได้พบกับครูฝึกมวยคนหนึ่งชื่อ เที่ยง จึงฝากตัวเป็นศิษย์แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นทองดี ครูเที่ยงรักนายทองดีมากและมักเรียกนายทองดีว่านายทองดี ฟันขาว (เนื่องจากท่านไม่เคี้ยวหมากพลูดังคนสมัยนั้น) ด้วยความสุภาพเรียบร้อย และขยันขันแข็งเอาใจใส่การฝึกมวยช่วยการงานบ้านครูเที่ยงด้วยดีเสมอมา ทำให้ลูกหลานครูเที่ยงอิจฉานายทองดีมาก จนหาทางกลั่นแกล้งต่างๆ นานา นายทองดี ฟันขาว เห็นว่าอยู่บ้านแก่งต่อไปคงลำบาก ประกอบครูเที่ยงก็ถ่ายทอดวิชามวยให้จบหมดสิ้นแล้วจึงกราบลาครูขึ้นเหนือต่อไป<ref>[http://www.dooasia.com/trips/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%81/ พระยาพิชัยดาบหัก ผู้กล้าแห่งเมืองอุตรดิตถ์] Dooasia</ref>
บรรทัด 45:
=== รับราชการ ===
[[ไฟล์:พระยาพิชัย.jpg|thumb|ภาพเขียนพระยาพิชัยต่อสู้กับพม่าเมื่อครั้งศึกโปสุพลายกทัพมาตีเมืองพิชัยจนดาบหัก]]
เมื่อท่านเดินทางถึงเมืองตาก ขณะนั้นได้มีพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาที่วัดใหญ่เจ้าเมืองตาก [[สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี]]จัดให้มีมวยฉลองด้วย นายทองดี ฟันขาว ดีใจมากเข้าไปเปรียบมวยกับครูห้าวซึ่งเป็นครูมวยมือดีของเจ้าเมืองตากและมีอิทธิพลมาก นายทองดี ฟันขาว ใช้ความว่องไวใช้หมัดศอกและเตะ[[ขากรรไกร]]จนครูห้าวสลบไป เจ้าเมือง[[ตาก]]จึงถามว่าสามารถชกนักมวยอื่นอีกได้หรือไม่ นายทองดี ฟันขาว บอกว่าสามารถชกได้อีก เจ้าเมืองตากจึงให้ชกกับครูหมึกครูมวยร่างสูงใหญ่ ผิวดำ นายทองดี เตะซ้ายเตะขวา บริเวณขากรรไกร จนครูหมึกล้มลงสลบไป<ref name="ET">[http://huexonline.com/knowledge/18/150/ Knowledge : ประวัติทหารเอก ๕ ท่านของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระยาพิชัยดาบหัก] Huexonline First revision: April 14, 2014 Last revision: July 01, 2014</ref>
 
เจ้าเมืองตากพอใจมากให้เงิน 3 [[ตำลึง]] และชักชวนให้อยู่ด้วย นายทองดี ฟันขาว จึงได้ถวายตัวเป็น[[ทหาร]]ของเจ้าเมืองตาก (สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี) ตั้งแต่บัดนั้น เป็นที่โปรดปรานมากและได้รับยศเป็น "หลวงพิชัยอาสา" เมื่อเจ้าเมืองตากได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยาวชิรปราการ ครองเมือง[[กำแพงเพชร]] หลวงพิชัยอาสาได้ติดตามไปรับใช้อย่างใกล้ชิดและเป็นเวลาเดียวที่พม่ายกทัพล้อม [[กรุงศรีอยุธยา]]<ref name="ET"/>
 
พระยาวชิรปราการพร้อมด้วยหลวงพิชัยอาสา และทหารเข้าสู้รบกับทัพพม่าหลายคราวจนได้รับชัยชนะ ได้ช้างม้าอาหารพอสมควร สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้รับการต้อนรับจากประชาชนและยกย่องขึ้นเป็นผู้นำ เมื่อกอบกู้เอกราชได้แล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครอง[[กรุงธนบุรี]]และได้โปรดเกล้าฯ ให้หลวงพิชัยอาสา เป็นเจ้าหมื่นไวยวรนาถ เป็นทหารเอกราชองครักษ์ในพระองค์<ref>[https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_1037479 เปิดประวัติ "พระยาพิชัย" ทหารเอกพระเจ้าตากสู้ข้าศึกจนดาบหัก อีกหนึ่งวีรบุรุษไทย] ข่าวสดออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2561</ref>
 
ในปี [[พ.ศ. 2311]] พม่าได้ยกทัพมาอีก 1 หมื่นคน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีพร้อมด้วยหมื่นไวยวรนาถได้เข้าโจมตีจนแตกพ่าย และได้มีการสู้รบปราบ[[สภาพจลาจลหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง|ก๊ก]]ต่าง ๆ อีกหลายคราว เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จกลับ[[กรุงธนบุรี]] โปรดตั้งเจ้าหมื่นไวยวรนาถเป็น "พระยาสีหราชเดโช" มีตำแหน่งเป็นนายทหารเอกราชองครักษ์ตามเดิม สุดท้ายเมื่อปราบ[[ชุมนุมเจ้าพระฝาง]]ได้แล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงปูนบำเหน็จความชอบให้ทหารของพระองค์โดยทั่วหน้า ส่วนพระยาสีหราชเดโช (จ้อย หรือ ทองดี ฟันขาว) นั้น ได้โปรดเกล้าฯ บำเหน็จความชอบให้เป็นพระยาพิชัยปกครองเมือง[[พิชัย]]อันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนแต่เยาว์วัย<ref>[https://www.banmuang.co.th/mobile/news/region/262759 อุตรดิตถ์เตรียมจัดงานพระยาพิชัยดาบหัก ส่งเสริมการท่องเที่ยว] บ้านเมือง สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2564</ref>
 
ในปี [[พ.ศ. 2313]] - [[พ.ศ. 2316|2316]] ได้เกิดการสู้รบกับกองทัพพม่าอีกหลายคราว พอสิ้นฤดูฝนปีมะเส็ง [[พ.ศ. 2316]] โปสุพลายกกองทัพมาตีเมืองพิชัย "ศึกครั้งนี้พระยาพิชัยจับ[[ดาบ]]สองมือคาดด้าย ออกไล่ฟันแทง[[พม่า]]อย่างชุลมุน ณ สมรภูมิบริเวณ วัดเอกา จนเมื่อพระยาพิชัยเสียการทรงตัว ก็ได้ใช้ดาบข้างขวาพยุงตัวไว้ จนดาบข้างขวาหักเป็นสองท่อน" กองทัพโปสุพลาก็แตกพ่ายกลับไป เมื่อวันอังคาร เดือนยี่ แรม 7 ค่ำ ปีมะเส็ง [[พ.ศ. 2316]] (ตรงกับวันที่ [[7 มกราคม]] [[พ.ศ. 2316]])<ref name="ET"/>
 
=== ถวายชีวิตเป็นราชพลี ===
[[ไฟล์:พระปรางค์ พระยาพิชัยดาบหัก วัดราชคฤห์.jpg|200px|thumb|พระปรางค์วัดราชคฤห์วรวิหาร สถานที่บรรจุ[[อัฐิ]]ของพระยาพิชัยดาบหัก]]
เมื่อปี [[พ.ศ. 2325]] หลังจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชถูกสำเร็จโทษ<ref>''พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา'', กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2548, หน้า 230</ref> [[สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก]]เล็งเห็นว่าพระยาพิชัยเป็นขุนนางคู่พระทัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีที่มีฝีมือและซื่อสัตย์ จึงชวนพระยาพิชัยเข้ารับราชการในแผ่นดินใหม่ แต่พระยาพิชัยไม่ขอรับตำแหน่งด้วยท่านเป็นคนจงรักภักดีและซื่อสัตย์ต่อองค์[[สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช]] และถือคติที่ว่า "ข้าสองเจ้าบ่าวสองนายมิดี" จึงขอให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกสำเร็จโทษตนเป็นการถวายชีวิตตายตาม[[สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช]]<ref>[https://www.komchadluek.net/amulet/113085 วัดหมอนไม้จ.อุตรดิตถ์จัดสร้างเหรียญ-พระกริ่ง'พระยาพิชัยดาบหัก'] ข่าวสดออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2554</ref> ซึ่งทายาทของพระยาพิชัยดาบหัก ก็ได้รับราชการสืบมา โดยท่านเป็นต้นตระกูลของนามสกุล วิชัยขัทคะ วิชัยลักขณา ศรีศรากร พิชัยกุล ศิริปาละ ดิฐานนท์ เชาวนปรีชา<ref>oknation. (2563). '''๗ เมษายน ๒๓๒๕ ● ประหารชีวิต .."พระยาพิชัยดาบหัก ..!!"''''. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : http://oknation.nationtv.tv/blog/wut2013/2020/04/07/entry-3</ref>
 
หลังจากท่านได้ถูกสำเร็จโทษ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่ง[[ราชวงศ์จักรี]]เฉลิมพระนามว่า[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] พระองค์จึงได้มีรับสั่งให้สร้าง[[พระปรางค์]]นำอัฐิของท่านไปบรรจุไว้ ณ วัดราชคฤห์วรวิหาร ซึ่งพระปรางค์นี้ก็ยังปรากฏสืบมาจนปัจจุบัน<ref>[https://www.silpa-mag.com/history/article_6153 “พระนอนหงาย” กับตำนานเรื่อง “พระยาพิชัยดาบหัก” ร่วมปฏิสังขรณ์] ศิลปวัฒนธรรม สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2564</ref>