ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 36:
เมื่อจบการศึกษา นายประเสริฐเข้ารับราชการเป็นครูสอนหนังสือที่[[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]] จากนั้นจึงลาออกไปสมัคร[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]] จังหวัดสุราษฎร์ธานี แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง จึงย้ายไปเป็นครู[[มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร|โรงเรียนฝึกหัดครูประถมพระนคร (วังจันทร์เกษม)]] และลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งใน[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป สิงหาคม พ.ศ. 2489|การเลือกตั้งเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2489]] และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์<ref>https://pantip.com/topic/31828913/page2</ref> ในสมัยรัฐบาล[[หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์]] ก่อนที่จะลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ ระหว่างดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้มีส่วนในการยกเลิกพระราชบัญญัติการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2476
 
== การร่วมพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ==
เกิด[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490]] ประเสริฐสมัครเข้าร่วม[[พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย]] และได้รับคัดเลือกไปศึกษาสถาบัน[[ลัทธิมาร์กซ์|มาร์กซ์ เลนิน]] ที่[[ประเทศจีน]] ได้รับเลือกเป็นกรรมการกลางของพรรค ระดับล่าง และได้เข้าร่วมการประชุมสันติภาพสากล 3 ครั้งระหว่าง พ.ศ. 2494-95
 
พ.ศ. 2494 เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยไปร่วมการประชุมคณะกรรมการสันติภาพแห่งโลก ที่กรุงเบอร์ลิน
บรรทัด 43:
พ.ศ. 2495 เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการสันติภาพแห่งโลกที่กรุงปักกิ่ง และเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยไปร่วมประชุมสภาสันติภาพแห่งโลกที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย
 
นายประเสริฐ ทราบล่วงหน้าดีว่า จะเกิดเหตุการณ์รุกรานรุกทางการเมืองด้วยกำลังอาวุธ และแนวทางเปลี่ยนแปลงด้วยอาวุธ จากพรรคคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย ด้วยความห่วงใยบ้านเกิด จึงขอเดินทางกลับเมืองไทยเพื่อจะได้มาแก้ปัญหาของชาติไม่ให้ถูกพรรคคอมมิวนิสต์รุกราน เมื่อ พ.ศ. 2501 และถูกจับในข้อหากระทำการอันเป็นคอมมิวนิสต์ ในสมัยรัฐบาลจอมพล[[ถนอม กิตติขจร]] และจอมพล[[สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] ถูกคุมขังอยู่เป็นเวลา 6 ปี ในระหว่างถูกคุมขังได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับการปฏิวัติไทยโดยสันติตาม[[ระบอบประชาธิปไตย]]ที่สมบูรณ์ ตลอดจนยุทธศาสตร์และยุทธวิธีในการต่อสู้เอาชนะ[[คอมมิวนิสต์]] ต่อพนักงานสอบสวน ซึ่งเป็นแนวทางที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์เห็นด้วย และมีคำสั่งให้ยกฟ้อง จากนั้นนายประเสริฐได้มีโอกาสเป็นที่ปรึกษาทางการเมือง ได้รับเชิญให้แสดงปาฐกแก่นักศึกษา[[วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร]]หลายครั้ง
 
== ก่อตั้งพรรคแรงงานประชาธิปไตย ==