ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดหน้าพระเมรุ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไทๆ (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 9825265 สร้างโดย 2001:FB1:A0:6733:B584:8321:8AE5:F61E (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 19:
}}
 
'''วัดหน้าพระเมรุ''' หรือ '''วัดพระเมรุราชิการามวรวิหาร''' ตั้งอยู่ที่[[อำเภอพระนครศรีอยุธยา]] [[จังหวัดพระนครศรีอยุธยา]] ริมคลองสระบัวด้านเหนือของคูเมือง (แม่น้ำลพบุรีเก่า) ตรงข้ามกับพระราชวังหลวง มีชื่อเดิมว่า "วัดพระเมรุราชการาม" แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างในสมัยใด พิจารณาได้ว่า น่าจะเป็นวัดสร้างขึ้นตรงที่ถวายพระเพลิงกษัตริย์องค์ใดองค์หนึ่งต้นสมัยอยุธยา<ref>มนู พูลสวัสดิ์ (2556) ประวัติวัดพระเมรุราชิการาม (วัดหน๎าพระเมรุ) ที่ระลึกในพิธีถวายพระกฐินพระราชทานของกองทัพภาคที่ 1 ประจำปี 2556. เจริญวิทย์การพิมพ์.</ref> มีแต่เพียงตำนานกล่าวว่าพระองค์อินทร์ในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ได้สร้างวัดนี้ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 20412046 แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอน<ref>ปิยะภรณ์ ไพทยาภรณ์ (2559) [http://portal5.udru.ac.th/ebook/pdf/upload/18nsb20Vdd2sb72c34s2.pdf ไทยศึกษาเพื่อการท่องเที่ยว] คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี</ref> วัดหน้าพระเมรุเป็นวัดเดียวในกรุงศรีอยุธยาที่ไม่ถูกพม่าทำลาย และยังคงสภาพที่ดีมาก บ้างสันนิษฐานว่าอาจเป็นเพราะพม่าได้ไปตั้งกองบัญชาการอยู่ที่วัดนี้กับวัดหัสดาวาส (ซึ่งปัจจุบันเป็นวัดร้างและยังเหลือสิ่งก่อสร้างที่ไม่ถูกทำลายอยู่บ้าง) พระอุโบสถของวัดหน้าพระเมรุเป็นแบบอยุธยาซึ่งมีเสาอยู่ภายใน แต่น่าจะมาเพิ่มเสารับชายคาที่หลังในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ<ref>งานช่างหลวงแห่งแผ่นดินศิลปะอยุธยา พิมพ์ครั้งที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2560หน้า 122</ref> พระประธานในอุโบสถซึ่งสร้างปลายสมัยอยุธยา หรือได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในช่วงนั้น เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องหล่อสำริดขนาดใหญ่ ด้านหลังพระอุโบสถยังมีอีกองค์หนึ่งแต่เล็กกว่า คือ พระศรีอริยเมตไตรย์
 
==อาคารเสนาสนะและปูชนียวัตถุ==