ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศาลาแดง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dharmadana (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Dharmadana (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:ถนนศาลาแดง Sala Daeng Road 2021 Feb.jpg|thumb|ถนนศาลาแดง]]
'''ศาลาแดง''' คือชื่อของย่านชุมชนเมืองและชื่อถนนใน[[กรุงเทพมหานคร]] ปัจจุบันเป็นหนึ่งในเขตศูนย์กลางธุรกิจของกรุงเทพมหานคร เป็นถนนที่เชื่อมต่อถนนที่สำคัญ 3 สาย คือ [[ถนนสีลม]] [[ถนนพระรามที่ 4]] และ[[ถนนสาทร]] อีกทั้งยังเป็นจุดตัดของระบบขนส่งมวลชน คือ [[สถานีศาลาแดง]] ([[รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม]]) กับ [[สถานีสีลม]] ([[รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล]]) ปัจจุบันพื้นที่บริเวณถนนศาลาแดง มีอาคารสำนักงานขนาดใหญ่เป็นจำนวนมากรวมไปถึงห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สีลมคอมเพล็กซ์ อาคารพักอาศัยหลายขนาด<ref name="ธารรวี">{{cite web |author1=ธารรวี งามศิริอุดม |title=สัณฐานการเปลี่ยนแปลงที่ดินจัดสรรขนาดเล็กในเขตศูนย์กลางทางธุรกิจของกรุงเทพฯ กรณีศึกษาถนนศาลาแดง แขวงสีลม เขตบางรัก |url=http://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/63225/1/5973384225.pdf |publisher=จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์}}</ref>
 
==สภาพทางกายภาพ==
ถนนศาลาแดงเป็นถนนเดินรถ 2 ช่องทางจราจร ความกว้าง 10.40–10.60 เมตร ความยาวประมาณ 0.565 กิโลเมตร เริ่มตั้งแต่ถนนสีลมไปยังถนนสาทรเหนือ ถนนศาลาแดงมีซอยย่อยที่สำคัญ คือ ซอยยมราช เป็นซอยเดินรถ 2 ช่องทางจราจร ความกว้าง 6.60 เมตร ความยาวประมาณ 0.194 กิโลเมตร จากถนนศาลาแดงถึงอาคารอับดุลราฮิม และซอยศาลาแดง 1 เป็นซอยเดินรถ 2 ช่องทางจราจร ความกว้าง 11.80–12.50 เมตร ความยาวประมาณ 0.565 กิโลเมตร จากถนนศาลาแดงถึงถนนพระรามที่ 4
 
พื้นที่บริเวณถนนศาลาแดง มีอาคารสำนักงานขนาดใหญ่เป็นจำนวนมากเช่น อาคารสีลมคอมเพล็กซ์ อาคารอับดุลราฮิม อาคารอื้อจือเหลียง อาคาร Tisco อาคาร Zuellig House เป็นต้น รวมไปถึงห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สีลมคอมเพล็กซ์<ref name="ธารรวี">{{cite web |author1=ธารรวี งามศิริอุดม |title=สัณฐานการเปลี่ยนแปลงที่ดินจัดสรรขนาดเล็กในเขตศูนย์กลางทางธุรกิจของกรุงเทพฯ กรณีศึกษาถนนศาลาแดง แขวงสีลม เขตบางรัก |url=http://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/63225/1/5973384225.pdf |publisher=จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์}}</ref> มีโรงแรมและอาคารพาณิชยกรรมเพื่อการพักอาศัยขนาดเล็ก เช่น โรงแรมดุสิตธานีและโรงแรมโซ โซฟิเทล แบงคอก อาคารพักอาศัยขนาดใหญ่ (อาคารชุด) อาคารพักอาศัยขนาดเล็ก (บ้านแถว และ บ้านเดี่ยว) และชุดอาคารพาณิชยกรรม (ตึกแถว) จากข้อมูลราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน ปี พ.ศ.2559-2562 โดย[[กรมธนารักษ์]] ระบุว่าถนนศาลาแดง มีราคาประเมินที่ดิน 500,000 บาทต่อตารางวา<ref name="ธารรวี"/>
 
==ประวัติ==
เมื่อ พ.ศ. 2434 มีการพัฒนาที่ดินบริเวณถนนศาลาแดงโดยเป็นผลจากการตัดถนนเพิ่มถึง 18 สายในกรุงเทพมหานคร เพื่อขยายความเจริญและส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจ เมื่อ[[เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต)]] ย้ายมาอยู่ที่บ้านศาลาแดงและเริ่มซื้อที่นาและที่สวนในบริเวณใกล้เคียงจนรวมเป็นแปลงใหญ่จึงมีเนื้อที่ทั้งสิ้น 112 ไร่ 1 งาน 84 ตารางวา จึงมีการตัดถนนย่อยเพื่อติดต่อระหว่างถนนสีลมและถนนสาทร เริ่มจาก[[ถนนคอนแวนต์]] รวมถึงถนนศาลาแดง และเชื่อมระหว่างสองถนนด้วยถนนศาลาแดงซอย 2 ในปัจจุบัน<ref>(อรวรรณ ศรีอุดม. ''วันวาน...กับวันนี้ของถนนสีลม''. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พรินติ้งกรุ๊พ จำกัด, 2535: 4–25</ref>
 
จากข้อมูลราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน ปี พ.ศ.2559-2562 โดย[[กรมธนารักษ์]] ระบุว่าถนนศาลาแดง มีราคาประเมินที่ดิน 500,000 บาทต่อตารางวา<ref name="ธารรวี"/>
 
== อ้างอิง ==