ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การรุกรานญี่ปุ่นของมองโกล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Genkō=Genkou
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 38:
ในปี ค.ศ. 1266 กุบไลข่านส่งคณะทูตไปยังญี่ปุ่น โดยมีผู้รับสาส์นคือ[[โฮโจ โทกิมูเนะ]] ผู้สำเร็จราชการแทนโชกุน (มีการถวายต่อราชสาส์นไปยัง[[พระราชวังหลวงเกียวโต]]เช่นกัน) โดยมีเนื้อความในราชสาสน์ว่า:
 
{{quotation|ขอน้อมนำ[[อาณัติแห่งสวรรค์]] ข่านแห่งมหาจักรวรรดิอาณาจักรมองโกลมีราชสาส์นนี้ถึงพระเจ้าแผ่นดินกรุงอาทิตย์อุทัย เราดำริเห็นว่านับแต่โบราณกาลมาแล้ว บรรดาพระเจ้าแผ่นดินจุลประเทศทั้งหลาย ต่างพยายามมีปฏิสันถารต่อกันในทางไมตรีไม่มากก็น้อยเมื่อขอบขัณฑสีมาอยู่ชิดติดกัน แลนับแต่บรรพบุรุษบรรพชนแห่งเรารับบัญชาฟ้าให้ครองพิภพจบหล้า ประเทศต่างด้าวแดนไกลทั้งหลายที่เกรงกลัวอำนาจเราเดชานุภาพแลต่อต้านธรรมการย์เรานั้นมีนับไม่ถ้วน
 
เมื่อเราขึ้นเถลิงราชย์ ชาวโครยอผู้บริสุทธิ์ต่างเหน็ดเหนื่อยการข้างศึกสงครามได้หยุดล้มเลิกการทิ้งขว้างชีวิต เราจึงยกดินแดนแว่นแคว่นโครยอนั้นคืนเสียแลปล่อยให้คนหนุ่มคนแก่เหล่านั้นคืนสู่บ้านเมืองที่ว่า เจ้าประเทศราชโครยอได้มาเยือนเพื่อแสดงความซาบซึ้งศรัทธาเป็นอันมาก แม้ความซื่อสัตย์เป็นดั่งเจ้าประเทศราช แต่สัมพันธ์ไมตรีดุจดั่งพ่อลูก เรื่องนี้พระองค์ท่านเองคงทรงทราบดีอยู่แล้ว
 
กรุงโครยอเป็นประเทศราชทางบูรพาของเรา กรุงอาทิตย์อุทัยก็อยู่ใกล้ชิดโครยอเป็นอันมาก ประเทศของท่านนับตั้งแต่ถือกำเนิดมาได้มีทางสัมพันธ์กับกรุงจีนเป็นบางครั้ง แต่ทว่า นับตั้งแต่เราขึ้นเถลิงราชย์ กรุงอาทิตย์อุทัยไม่เคยส่งผู้ถือสารมาเลยแม้แต่ครั้งเดียว อาณาจักรท่านสมควรที่จะทราบเรื่องนี้ได้แล้ว ดังนั้นเราจึงส่งคณะทูตพร้อมกับสาส์นของเราเพื่อแสดงความปรารถนาของเราเป็นพิเศษอันจะนำไปสู่ความสัมพันธ์อันดีงามระหว่างกันและกันนับแต่บัดนี้ไป เราคาดหวังว่าชาติทั้งปวงจะเป็นครอบครัวหนึ่งเดียว เราต่างมีหนทางที่เหมาะสม ยกเว้นในกรณีที่เข้าใจกัน ไม่มีใครปรารถนาที่จะใช้ความรุนแรง<ref>ข้อความดั้งเดิมเป็นอักษรจีน: 上天眷命大蒙古國皇帝奉書日本國王朕惟自古小國之君境土相接尚務講信修睦況我祖宗受天明命奄有區夏遐方異域畏威懷德者不可悉數朕即位之初以高麗無辜之民久瘁鋒鏑即令罷兵還其疆域反其旄倪高麗君臣感戴來朝義雖君臣歡若父子計王之君臣亦已知之高麗朕之東藩也日本密邇高麗開國以來亦時通中國至於朕躬而無一乘之使以通和好尚恐王國知之未審故特遣使持書布告朕志冀自今以往通問結好以相親睦且聖人以四海為家不相通好豈一家之理哉以至用兵夫孰所好王其圖之不宣至元三年八月日</ref>}}
 
ผู้สำเร็จราชการโทกิมูเนะได้นำเรื่องนี้ปรึกษาหารือและพิจารณาอย่างรอบคอบ เขาตัดสินใจที่จะไม่ให้คำตอบใดกลับไป ฝ่ายมองโกลไม่ลดละความพยายาม ได้ส่งคณะทูตชุดที่สองมาญี่ปุ่นในปี 1268 และก็คว้าน้ำเหลวเหมือนครั้งแรก ต่อมาทางมองโกลได้ส่งราชทูตอีก 4 ครั้ง (มีนาคม 1269, กันยายน 1269, กันยายน 1271, พฤษภาคม 1272) พร้อมผู้ติดตามจากโครยอ การมาเยือนแต่ละครั้งก็ไม่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นบก ทางราชสำนักในเกียวโตมีคำแนะนำมาถึงโทกิมูเนะให้ยอมรับข้อเสนอของโครยอ เนื่องจากราชสำนักในเกียวโตเกรงแสนยานุภาพของมองโกล โทกิมูเนะยังคงทำเช่นเดิมคือไม่ตอบกลับใด ๆ ในขณะเดียวกันก็สั่งการขุนนางและกลุ่มซามูไรใน[[เกาะคีวชู]] ซึ่งอยู่ใกล้กับโครยอมากที่สุดให้เตรียมรับมือภัยสงครามที่อาจมาถึง
 
 
== การรุกรานครั้งแรก ==