ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทะไลลามะที่ 14"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nattanan49 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
Chainwit. (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนกลับไปรุ่นที่ 8850424 โดย Armonthap (พูดคุย) ด้วยสจห.: การเขียนไม่เป็นไปตาม WP:MoS
ป้ายระบุ: ย้อนด้วยมือ
บรรทัด 14:
|signature = Dalai Lama's Signature.svg
}}
'''ทะไลลามะที่ 14''' ([[ภาษาจีน]]: 第十四世达赖喇嘛, dìshísìshì dálàilǎma; 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 - ปัจจุบัน) พระฉายา '''แตนจิน กยาโช''' ([[ภาษาทิเบต]]: བསྟན་འཛིན་རྒྱ་མཚོ་, /tɛ̃˥˥.t͡sĩ˥˥.ca˩˧.t͡sʰo˥˥/; Bstan-'dzin Rgya-mtsho) เป็น[[ทะไลลามะ]]พระองค์ปัจจุบัน ประสูติเมืองตักเซอร์ ทิเบต ได้รับเลือกเป็น[[ตุลกู]]ของ[[ทะไลลามะที่ 13]] ในปี ค.ศ. 1937 แล้วดำรงตำแหน่งทะไลลามะที่ 14 อย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1939 พิธีอภิเษกจัดขึ้นเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1940 พระองค์ทรงเป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ พระองค์เป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ระดับโลก ทรงสอนธรรมะเกี่ยวกับความสุข ความรัก ความเมตตาเเละสันติภาพ เผยเเพร่คำสอนไปยังนานาประเทศ ทำให้ชาวตะวันตกในหลายประเทศ เริ่มมาสนใจในพระพุทธศาสนา
 
พระองค์ได้รับ[[รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ]]เมื่อปี พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) และเป็นผู้นำจิตวิญญาณและผู้นำสูงสุดของ[[ชาวทิเบต]] ถึงแม้ว่า[[รัฐบาลจีน]]จะไม่ยินยอมก็ตาม พระองค์ทรงเป็นประมุขแห่ง[[ศาสนาพุทธแบบทิเบต|พุทธศาสนาแบบทิเบต]]นิกาย[[เกลุก]]
บรรทัด 26:
}}
{{จบกล่อง}}
 
== ประวัติ ==
พระองค์ทรงประสูติเมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม ค.ศ.๑๙๓๕ (พ.ศ. ๒๔๗๘) ที่ "ตักเซอร์" (Taktser) หมู่บ้านเล็ก ๆ ทางตะวันออกเฉียงเหนือ ของธิเบต และทรงถูกค้นพบ ด้วยวิธีการ ตามประเพณีของธิเบต เมื่ออายุได้ ๒ พรรษากว่า ว่าเป็นองค์ทะไลลามะองค์ที่ ๑๓ กลับชาติมาประสูติ
 
พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ เป็นผู้นำประเทศ ธิเบต เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๙๔๐ (พ.ศ. ๒๔๘๓)
 
เริ่มการศึกษา เมื่อชนมายุได้ ๖ พรรษา ทรงสอบมหาวิทยาลัย เมื่อทรงพรรษาได้ ๒๔ และเมื่ออายุได้ ๒๕ พรรษา ทรงจบปริญญาเอก ทางปรัชญาของธิเบต ชื่อ เกเช ลารามปา (Geshe Lharampa Degree)
 
ทรงได้รับตำแหน่ง และอำนาจทางการเมือง อย่างสมบูรณ์ เป็นผู้นำประมุขของชาติ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. ๑๙๕๐
 
หลังจากที่ กองทหารจีน ได้บุกเข้าโจมตีธิเบต พระองค์ได้เดินทาง ไปปักกิ่งในปี ค.ศ. ๑๙๕๔ (พ.ศ. ๒๔๙๗) เพื่อเจรจาสันติภาพ กับเหมา เจ๋อ ตุง และผู้นำอื่น ๆ ของประเทศจีน เช่น โจว เอินไหล และ เติ้ง เสี่ยว ผิง ๒ ปี ถัดมาได้เดินทาง ไปอินเดียเพื่อเข้าร่วมงาน ฉลอง "๒๕๐๐ ปี พุทธชยันตี" และได้ปรึกษา กับนายกรัฐมนตรีเนรู ถึงสถานการณ์ทิเบต ที่เลวร้ายลง
 
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. ๑๙๕๙ (พ.ศ.๒๕๐๒) ได้เกิด การประท้วงครั้งใหญ่ที่สุด ในประวัติศาสตร์ทิเบต ที่ลาซา เมืองหลวงของธิเบต ผู้ประท้วงชาวธิเบต จำนวนมาก ถูกกองทหารจีน จับกุมและสังหาร องค์ทะไล ลามะได้เดินทางลี้ภัย ไปประเทศอินเดีย โดยมีชาวทิเบต ประมาณ ๘๐,๐๐๐ คนติดตาม พระองค์ไป ตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๕๙ (พ.ศ. ๒๕๐๒) พระองค์ได้พำนักอาศัย ที่ธรรมศาลา ประเทศอินเดีย <ref> https://www.srisangworn.go.th/home/khonnaruk/www.khonnaruk.com/html/means/TB_dalai.html </ref>
 
== อ้างอิง ==