ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อิงเงอบอร์กแห่งเดนมาร์ก สมเด็จพระราชินีแห่งนอร์เวย์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Novaskosia (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Novaskosia (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 35:
'''อิงเงอบอร์ก อีริคสด็อทเทอร์''' (ราว ค.ศ. 1244 - 24/26 มีนาคม ค.ศ. 1287) ทรงเป็นเจ้าหญิง[[เดนมาร์ก]] พระนางได้อภิเษกสมรสกับ[[พระเจ้ามักนุสที่ 6 แห่งนอร์เวย์]] จึงได้เป็นสมเด็จพระราชินีแห่ง[[นอร์เวย์]] ต่อมาทรงดำรงเป็นสมเด็จพระพันปีหลวง และทรงมีบทบาทสำคัญทางการเมืองในช่วงที่พระราชโอรสคือ [[พระเจ้าอีริคที่ 2 แห่งนอร์เวย์]] ยังไม่บรรลุนิติภาวะ<ref>[http://www.snl.no/.nbl_biografi/Ingeborg_Eriksdatter/utdypning ''Ingeborg Eriksdatter – utdypning'' (Store norske leksikon)]</ref>
==พระราชประวัติ==
เจ้าหญิงอิงเงอบอร์กเป็นพระราชธิดาใน[[พระเจ้าอีริคที่ 4 แห่งเดนมาร์ก]]กับ[[จัตตาแห่งแซกโซนี]] เจ้าหญิงมีพระชนมายุเพียง 6 พรรษาในช่วงที่พระราชบิดาถูกลอบปลงพระชนม์ สมเด็จพระพันปีหลวงจัตตา พระราชมารดาได้เสด็จกลับ[[รัฐซัคเซิน|แซกโซนี]]และเสกสมรสใหม่กับ[[บูร์ชาดที่ 8 เคานท์แห่งเคอร์ฟูร์ต-โรเซินบูร์ก]] เจ้าหญิงอิงเงอบอร์ก พร้อมพระเชษฐภคินีและพระขนิษฐาอีก 2 พระองค์ ต้องประทับในราชสำนักของ[[พระเจ้าคริสตอฟเฟอร์ที่ 1 แห่งเดนมาร์ก]] ผู้เป็นสมเด็จอา และสมเด็จพระราชินี[[มาร์เกเรเธ ซัมบีเรีย]] พระมเหสีของพระองค์ เจ้าหญิงทั้งสี่เป็นทายาทสืบที่ดินมากมายในเดนมาร์ก ซึ่งจะนำไปสู่การต่อสู้เพื่อเรียกร้องมรดกคืนของพระนางอิงเกอบอร์กซึ่งเป็นสิทธิที่พระนางควรได้รับจากพระราชบิดาที่ถูกปลงพระชนม์ จะทำให้นอร์เวย์เกิดความขัดแย้งกับเดนมาร์กเป็นระยะเวลาหลายทศวรรษต่อมา
 
เจ้าหญิงอิงเงอบอร์กได้รับสัญญาการเสกสมรสจากคณะสำเร็จราชการเดนมาร์ก ที่จะให้เจ้าหญิงเสกสมรสกับเจ้าชายมักนุส องค์รัชทายาทใน[[พระเจ้าโฮกุนที่ 4 แห่งนอร์เวย์]] เจ้าหญิงอิงเงอบอร์กเสด็จมาถึงเมือง[[ทึนแบร์]]ในวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1261 หลังจากเสด็จกลับมาจากการอบรมสั่งสอนของกษัตริย์โฮกุนในอารามที่เมือง[[ฮอร์เซนส์]] ในวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1261 พระนางได้เสกสมรสกับเจ้าชายมักนุสที่เมือง[[บาร์เกิน]] เจ้าชายมักนุสและเจ้าหญิงอิงเงอบอร์กทรงได้รับการสวมมงกุฎทันทีหลังพิธีเสกสมรส เจ้าชายมักนุสทรงได้รับดินแดนศักดินา[[รีฟีลเคอ]]เป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ การเสกสมรสครั้งนี้มีการระบุว่าทั้งสองพระองค์ทรงมีความสุข<ref>[http://runeberg.org/dbl/8/0284.html ''Ingeborg, Dronning af Norge'' (Dansk biografisk Lexikon)]</ref>
 
ในวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1263 [[พระเจ้าโฮกุนที่ 4 แห่งนอร์เวย์]]เสด็จสวรรคตขณะทรงสู้รบกับ[[พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งสกอตแลนด์]]ในกรณีพิพาทหมู่เกาะ[[เฮบริดีส]] และทำให้เจ้าชายมักนุสได้เป็นพระมหากษัตริย์นอร์เวย์ ในขณะที่ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระราชินี พระนางอิงเงอบอร์กไม่ทรงมีส่วนร่วมทางการเมืองมากนัก พระโอรสองค์ใหญ่ 2 พระองค์ คือ เจ้าชายโอลาฟ (ค.ศ. 1262 - 15 มีนาคม ค.ศ. 1267) และเจ้าชายมักนุส (ค.ศ. 1264) สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์ แต่พระราชโอรสองค์เล็กทั้งสองพระองค์ได้เป็นพระมหากษัตริย์สืบต่อมาคือ [[พระเจ้าอีริคที่ 2 แห่งนอร์เวย์]]และ[[พระเจ้าโฮกุนที่ 5 แห่งนอร์เวย์]]
 
ในปีค.ศ. 1280 พระนางทรงตกพุ่มหม้าย สมเด็จพระพันปีหลวงอิงเงอบอร์กทรงเป็นผู้นำประเทศคนสำคัญในช่วงที่กษัตริย์อีริคที่ 2 ยังทรงพระเยาว์ แม้ว่าพระนางจะไม่ทรงดำรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อย่างเป็นทางการ อิทธิพลทางการเมืองของพระนางมีเพิ่มมากขึ้นเมื่อพระราชโอรสทรงบรรลุนิติภาวะใน ค.ศ. 1283 พันธมิตรทางการเมืองหลักของพระนางคือ [[อัลฟ์ เออลิงส์สัน]] ซึ่งเป็นพระญาติของกษัตริย์มักนุสที่ 6 พระสวามีของพระนางและดำรงตำแหน่งผู้ว่าการบอร์การ์ซิสเซลซึ่งปัจจุบันคือ [[เอิตโฟลด์]]
 
ในช่วงรัชกาลของ[[พระเจ้าอีริคที่ 5 แห่งเดนมาร์ก]] พระญาติของพระนาง สมเด็จพระพันปีหลวงอิงเงอบอร์กทรงเริ่มมีกรณีพิพาทในเรื่องพระราชมรดกของพระนาง ซึ่งพระนางไม่ทรงเคยได้รับเลย ความบาดหมางครั้งนี้สร้างความเกลียดชังกันระหว่างนอร์เวย์และสันนิบาตฮันซาในเยอรมัน และความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดกับเดนมาร์ก ขุนนางหลายคนในเดนมาร์ก รวมถึงเคานท์จาค็อบแห่ง[[ฮัลลันด์]] ได้เข้าอยู่ฝ่ายพระนางเพื่อต่อต้านเดนมาร์ก แต่สมเด็จพระพันปีหลวงอิงเงอบอร์กกลับสิ้นพระชนม์เสียก่อนที่เรื่องพิพาทนี้สิ้นสุด
==อ้างอิง==
{{รายการอ้างอิง}}