ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไจอันตส์คอสเวย์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ZilentFyld (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{Infobox historic site | name = ไจแอนท์สคอสเวย์และชายฝั่งคอสเวย์ | native_name = Clochán an Aifir/Clochán na bhFomhórach<ref>{{cite web|url= http://www.logainm.ie/en/118031 |publisher= Placenames Commission |title=Clochán an Aifir / Giant's Causeway – Placenames Database of Ireland |access-date=8 September 2014}}</ref> | native_language = ไอริช | native_name2 = Tha Giant's Causey<ref>[...
ป้ายระบุ: ลิงก์แก้ความกำกวม
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:40, 20 ธันวาคม 2564

ไจแอนท์สคอสเวย์ (อังกฤษ: Giant's Causeway) เป็นพื้นที่ที่มีเสาหินบะซอลต์ประสานกันประมาณ 40,000 เสา ซึ่งเป็นผลมาจากการปะทุตามรอยแยกของภูเขาไฟในสมัยโบราณ[3][4] ตั้งอยู่ในเทศมณฑลแอนทริมบนชายฝั่งทางเหนือของไอร์แลนด์เหนือ ห่างจากเมืองบุชมิลส์ประมาณ 3 ไมล์ (4.8 กิโลเมตร) ทางตะวันออกเฉียงเหนือ

ไจแอนท์สคอสเวย์และชายฝั่งคอสเวย์
ชื่อในภาษาท้องถิ่น

ไอริช: Clochán an Aifir/Clochán na bhFomhórach[1]
อัลสเตอร์สกอต: Tha Giant's Causey[2]
ไจแอนท์สคอสเวย์
ที่ตั้งเทศมณฑลแอนทริม
พิกัด55°14′27″N 6°30′42″W / 55.24083°N 6.51167°W / 55.24083; -6.51167
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนไจแอนท์สคอสเวย์และชายฝั่งคอสเวย์
ประเภทธรรมชาติ
เกณฑ์VII, VIII
ขึ้นเมื่อ1986 (ครั้งที่ 10)
เลขอ้างอิง369
ประเทศสหราชอาณาจักร
ภูมิภาคยุโรป
ไจอันตส์คอสเวย์ตั้งอยู่ในไอร์แลนด์เหนือ
ไจอันตส์คอสเวย์
สถานที่ตั้งของไจแอนท์สคอสเวย์และชายฝั่งคอสเวย์

ไจแอนท์สคอสเวย์ได้รับการประกาศให้เป็นแหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก ในปี 1986 และเป็นเขตอนุรักษ์ธรรมชาติแห่งชาติในปี 1987 โดยกรมสิ่งแวดล้อมของไอร์แลนด์เหนือ ในการสำรวจความคิดเห็นของผู้อ่าน Radio Times ในปี 2005 พบว่าไจแอนท์สคอสเวย์เป็นสิ่งมหัศจรรย์ทางธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสี่ในสหราชอาณาจักร[5] ยอดของเสาก่อตัวเป็นบันไดหินที่ทอดลงมาจากตีนผาไปยังใต้ทะเล เสาส่วนใหญ่เป็นทรงหกเหลี่ยม แต่ก็มีบางเสาที่มีรูปร่างเป็น สี่ ห้า เจ็ด หรือแปดเหลี่ยมด้วย[6] เสาที่สูงที่สุดมีความสูงประมาณ 12 เมตร (39 ฟุต) และลาวาที่แข็งตัวในหน้าผามีความหนา 28 เมตร (92 ฟุต)

องค์การอนุรักษ์แห่งชาติเป็นเจ้าของและจัดการแหล่งมรดกโลกไจแอนท์สคอสเวย์และชายฝั่งคอสเวย์เป็นส่วนใหญ่ พื้นที่ส่วนที่เหลือเป็นของคราวน์เอสเตทและเจ้าของที่ดินเอกชนอีกหลายคน ไจแอนท์สคอสเวย์เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในไอร์แลนด์เหนือ[7]และต้อนรับผู้เยี่ยมชมมากกว่า 998,000 ในปี 2019[8] นักท่องเที่ยวสามารถเข้าถึงไจแอนท์สคอสเวย์โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ไม่จำเป็นต้องผ่านศูนย์บริการนักท่องเที่ยวซึ่งคิดค่าธรรมเนียม[9]

อ้างอิง

  1. "Clochán an Aifir / Giant's Causeway – Placenames Database of Ireland". Placenames Commission. สืบค้นเมื่อ 8 September 2014.
  2. The Crack: Yin giant step for mankind The News Letter. Retrieved 16 October 2011.
  3. "Giant's Causeway and Causeway Coast". UNESCO World Heritage Centre. สืบค้นเมื่อ 21 June 2009.
  4. Jack Challoner, John Farndon, Rodney Walshaw (2004). Rocks, Minerals and the Changing Earth. Southwater. p. 19. ISBN 9781842159750.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  5. Report of poll result BBC.co.uk Retrieved 10 December 2006.
  6. Meng, Qingxiang; Yan, Long; Chen, Yulong; Zhang, Qiang (9 November 2018). "Generation of numerical models of anisotropic columnar jointed rock mass using modified centroidal Voronoi diagrams". Symmetry. 10 (11): 618. doi:10.3390/sym10110618.
  7. "Giant's Causeway remains Northern Ireland's Top Attraction" (Press release). Northern Ireland Tourist Board. 18 August 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 July 2011. สืบค้นเมื่อ 19 March 2009.
  8. "ALVA – Association of Leading Visitor Attractions". alva.org.uk. สืบค้นเมื่อ 23 October 2020.
  9. "Giant's Causeway: Public right of way to be protected". BBC News Online. 14 March 2018.