ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไทม์ (สมุนไพร)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ZilentFyld (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{Infobox food | name = ไทม์ | image = Thyme-Bundle.jpg | image_size = | image_alt = | caption = มัดของไทม์ | alternate_name = | type = | course = | country = | region = | national_cuisine = | creator = <!-- or | creators = --> | year = | mintime = | maxtime = | served = | main_ingredient = | minor_ingredient = | variations = | serving_size = 100 g | calories = 101 | calories_ref = | protein = 6 | fat = 1.7 | carbohydrate =...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:50, 17 ธันวาคม 2564

ไทม์ (อังกฤษ: Thyme, /tm/) เป็นสมุนไพรของพืชบางสปีชีส์ในสกุล Thymus ซึ่งเป็นสกุลของสมุนไพรไม่ผลัดใบหลายปีมีกลิ่นในวงศ์กะเพรา (Lamiaceae) มีประโยชน์ในการทำอาหาร ยา และไม้ประดับ ไทม์เป็นญาติของออริกาโนสกุล Origanum และสปีชีส์ที่มักปลูกเพื่อวัตถุประสงค์ในการทำอาหารคือ Thymus vulgaris

ไทม์
มัดของไทม์
พลังงาน
(ต่อหน่วยบริโภค 100 กรัม)
101 กิโลแคลอรี (423 กิโลจูล)
คุณค่าทางโภชนาการ
(ต่อหน่วยบริโภค 100 กรัม)
โปรตีนกรัม
ไขมัน1.7 กรัม
คาร์โบไฮเดรต24 กรัม

ประวัติ

ไทม์เป็นพืชพื้นเมืองในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน[1] ไทม์ป่าเติบโตในลิแวนต์ซึ่งเป็นที่ที่อาจมีการปลูกครั้งแรก ชาวอียิปต์โบราณใช้ไทม์ในการดองซากศพ[2] ชาวกรีกโบราณใช้ไทม์ในห้องอาบน้ำและเผามเป็นธูปในวัด โดยเชื่อว่าเป็นแหล่งของความกล้าหาญ การแพร่กระจายของไทม์ไปทั่วยุโรปคาดว่าเป็นเพราะชาวโรมัน เนื่องจากชาวโรมันใช้ไทม์เพื่อชำระห้องและ "ให้กลิ่นหอมแก่ชีสและเหล้า"[3] ในยุคกลางของยุโรป ไทม์ถูกวางไว้ใต้หมอนเพื่อช่วยในการนอนหลับและปัดเป่าฝันร้าย[4] ในช่วงเวลานี้ ผู้หญิงมักจะให้ของขวัญที่รวมถึงใบไทม์แก่อัศวินและนักรบ เนื่องจากเชื่อกันว่าจะนำความกล้าหาญมาสู่ผู้ถือ ไทม์ยังใช้เป็นธูปและวางไว้บนโลงศพระหว่างงานศพเชื่อว่าจะรับรองการผ่านไปสู่ชีวิตหน้า[5]

การเพาะปลูก

ไทม์ปลูกได้ดีที่สุดในบริเวณที่ร้อนและมีแดดจัดและมีดินที่ระบายน้ำได้ดี โดยทั่วไปจะปลูกในฤดูใบไม้ผลิและหลังจากนั้นจะเติบโตเป็นไม้ยืนต้น สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด ปักชำ หรือแบ่งส่วนรากของพืช ทนความแล้งได้ดี[6] ไทม์สามารถทนความแช่แข็งได้และพบไทม์ป่าเติบโตบนที่ราบสูงบนภูเขา มันเติบโตได้ดีบนทางลาดที่แห้งและขยายพันธุ์โดยการตัด สามารถตัดแต่งกิ่งได้หลังดอกบานเพื่อไม่ให้เต็มไปด้วยไม้[7]

อ้างอิง

  1. Stahl-Biskup, E; Venskutonis, RP (2012). "27 - Thyme". ใน Peter, K V (บ.ก.). Handbook of Herbs and Spices. Woodhead Publishing Series in Food Science, Technology and Nutrition. Vol. volume 1. of 2 volumes (2nd ed.). University of Hamburg, Germany & Kaunas University of Technology, Lithuania: Woodhead Publishing. pp. 499–525. doi:10.1533/9780857095671.499. ISBN 9780857090393. สืบค้นเมื่อ 17 June 2021 – โดยทาง Microsoft Bing, Science Direct. {{cite book}}: |volume= has extra text (help)
  2. "A Brief History of Thyme - Hungry History". HISTORY.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-13. สืบค้นเมื่อ 2016-06-09.
  3. Grieve, Mrs. Maud. "Thyme. A Modern Herbal". botanical.com (Hypertext version of the 1931 ed.). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 23, 2011. สืบค้นเมื่อ February 9, 2008.
  4. Huxley, A., ed. (1992). New RHS Dictionary of Gardening. Macmillan.
  5. "Thyme (thymus)". englishplants.co.uk. The English Cottage Garden Nursery. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-09-27.
  6. "Herb File. Global Garden". global-garden.com.au. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-12.
  7. Peter, K.V. (2012). Handbook of herbs and spices Volume 2.

แหล่งข้อมูลอื่น

  • S. S. Tawfik, M. I. Abbady, Ahmed M. Zahran and A. M. K. Abouelalla. Therapeutic Efficacy Attained with Thyme Essential Oil Supplementation Throughout γ-irradiated Rats. Egypt. J. Rad. Sci. Applic., 19(1): 1-22 (2006).
  • Flora of China: Thymus
  • Flora Europaea: Thymus
  • Rohde, E. S. (1920). A Garden of Herbs.
  • Easter, M. (2009). International Thymus Register and Checklist.