ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วลาดีมีร์ เลนิน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
Muytfrc (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 42:
เลนินเกิดในเมือง[[อุลยานอฟสค์|ซิมบิร์สค์]]ของรัสเซีย เป็นบุตรชายของ อีลิยา นีโคเลวิช อุลยานอฟ (2374 - 2429) ข้าราชการรัสเซียผู้ที่ทำงานเพื่อประชาธิปไตยและโอกาสการศึกษาที่ทั่วถึงในรัสเซีย และมารดาของเลนินคือ มาเรีย อเล็กซานดรอฟนา บลังก์ ผู้ที่มีหัว[[เสรีนิยม]] เลนินมีเชื้อสายคาลมิก (รัฐริมทะเลสาบแคสเปียน) ผ่านทางบิดา และมีเชื้อสายชาว[[เยอรมนี]]ที่อาศัยอยู่ริม[[แม่น้ำวอลกา]]ผ่านทางยาย (ยายของเลนินนับถือศาสนาคริสต์นิกายลูเธอรัน) และเชื้อสายยิวผ่านทางตา (ตาของเลนินภายหลังเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์) ส่วนตัวเลนินเองได้รับพิธีล้างบาปในนิกายรัสเซียนออร์ธอดอกซ์
 
วลาดีมีร์ทำให้ตัวเองแตกต่างกับคนอื่นด้วยการศึกษาภาษาละตินและกรีก ชีวิตวัยเด็กของเขามีเหตุการณ์น่าเศร้า 2 อย่าง คือ ในปี พ.ศ. 2429 พ่อของเขาเสียชีวิตด้วยโรคเลือดออกในสมอง และในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2430 พี่ชายของเขา [[อะเลคซันดร์ อุลยานอฟ]] ถูกแขวนคอในข้อหามีส่วนร่วมในการวางแผนลอบปลงพระชนม์[[ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3|ซาร์อะเลคซันดร์ที่ 3]] เหตุการณ์หลังนี้ทำให้วลาดีมีร์เริ่มมีความคิดอย่าง ''ถึงราก (Radical)'' (ผู้เขียนประวัติของเลนินได้เขียนว่าเหตุการณ์นี้เป็นศูนย์รวมของความกล้าหาญในการปฏิวัติของเลนิน) ต่อมาในปีนั้น วลาดีมีร์ก็ถูกจับกุมและไล่ออกจาก[[มหาวิทยาลัยคาซาน]]ด้วยข้อหาที่ว่าวลาดีมีร์เข้าร่วมในการประท้วงของนักศึกษา เขาได้ศึกษาต่อด้วยตัวเองและได้รับใบอนุญาตให้ประกอบอาชีพทางกฎหมายได้ในปี พ.ศ. 2434
 
== การปฏิวัติ ==
แทนที่วลาดีมีร์จะประกอบอาชีพทางกฎหมาย วลาดีมีร์กลับมีส่วนรวมในความพยายาม[[โฆษณาชวนเชื่อ]]เพื่อ[[การปฏิวัติ]] และการศึกษา[[ลัทธิมาร์กซ]]มากขึ้นเรื่อย ๆ วลาดีมีร์ทำกิจกรรมต่าง ๆ ของเขาใน[[เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก]]เป็นส่วนมาก ต่อมา ในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2438 วลาดีมีร์ก็ถูกจับกุมและคุมขังเป็นเวลา 1 ปี หลังจากนั้นก็ถูกเนรเทศไปที่หมู่บ้านชูเชนสโกเยใน[[ไซบีเรีย]]ดังกล่าวมาแล้ว
 
ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2441 วลาดีมีร์แต่งงานกับ [[นาเดชด้า ครุปสกายา]] ซึ่งเป็นนักเคลื่อนไหว[[สังคมนิยม]] ต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ. 2442 เขาได้พิมพ์หนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า ''พัฒนาการของระบบทุนนิยมในรัสเซีย'' ต่อมาในปี พ.ศ. 2442 การเนรเทศของเขาก็ได้สิ้นสุดลง วลาดีมีร์ได้เดินทางทั้งภายในรัสเซียและไปยังส่วนต่าง ๆ ของยุโรป และได้พิมพ์หนังสือพิมพ์อิสกรา เช่นเดียวกับสิ่งพิมพ์และหนังสืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติ
 
[[ไฟล์:Lenin.gif|thumb|left|เลนินขณะปราศรัย]]
บรรทัด 54:
 
ในวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2460 เขาได้ออกจากสวิตเซอร์แลนด์กลับไปยังเมือง[[เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก]] (เปโตรกราด) ในรัสเซียหลังจากที่[[ซาร์นิโคลัสที่ 2]] ถูกโค่นล้ม และมีบทบาทสำคัญในขบวนการบอลเชวิก เขาได้พิมพ์เมษาวิจารณ์ (April Theses) ต่อมาหลังจากความล้มเหลวในการประท้วงของคนงาน เลนินได้หนีไปยัง[[ฟินแลนด์]]เพื่อความปลอดภัย เขากลับมาในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน และได้ปลุกระดมทหารให้ลุกขึ้นปฏิวัติโดยมีคำขวัญว่า “อำนาจทั้งหมดเพื่อโซเวียตทั้งหลาย” (คำว่า โซเวียต แปลว่า สภา) เพื่อต่อต้านรัฐบาลชั่วคราวที่นำโดย [[อเล็กซานดร์ เคเรนสกี้]] ความคิดของเลนินเกี่ยวกับรัฐบาลนั้นเขียนอยู่ในบทความเรื่อง “รัฐและการปฏิวัติ” ซึ่งเรียกร้องให้มีระบบการปกครองใหม่ที่มีรากฐานมากจากสภาของคนงานหรือโซเวียต
[[ไฟล์:Lenin V I 1921 by Parkhomenko.jpg|thumb|ภาพของเลนินในปี 1921]]
 
== ประมุขของรัฐโซเวียต ==
เส้น 74 ⟶ 75:
สุขภาพของเลนินนั้นได้เสียหายอย่างรุนแรง เนื่องจากความเครียดที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จากการปฏิวัติและสงคราม ความพยายามที่จะสังหารเลนินเมื่อก่อนหน้า ก็ยังช่วยซ้ำเติมปัญหาสุขภาพของเลนิน ลูกกระสุนในคราวนั้นก็ยังฝังอยู่ที่คอของเลนินบริเวณที่ใกล้เส้นประสาทมาก เกินกว่าเทคโนโลยีในสมัยนั้นจะช่วยผ่าตัดออกได้โดยไม่กระทบเส้นประสาท ในเดือนพฤษภาคม [[พ.ศ. 2465]] เลนินมีอาการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมองเป็นครั้งแรก เขากลายเป็นอัมพาตที่บางส่วนในซีกขวาของร่างกาย ทำให้เลนินมีบทบาทน้อยลงในรัฐบาล หลังจากการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมองครั้งที่สองในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน เลนินก็ได้วางมือจากกิจกรรมทางการเมืองทุกชนิด ในเดือนมีนาคม [[พ.ศ. 2466]] เลนินมีอาการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมองครั้งที่สาม ทำให้เขาต้องนอนอยู่กับเตียงและไม่สามารถพูดได้
 
เลนินเสียชีวิตในวันที่ [[21 มกราคม]] [[พ.ศ. 2467]] ข่าวลือที่ว่าเลนินเสียชีวิตด้วย[[โรคซิฟิลิส]]นั้นแพร่กระจายไปไม่นานหลังจากที่เขาตาย แต่สาเหตุการเสียชีวิตของเลนินอย่างเป็นทางการคือ เลนินเสียชีวิตจากการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมองครั้งที่ 4 แต่ว่านายแพทย์ประจำตัวของเลนิน 8 คนจาก 27 คนเท่านั้น ที่ลงนามในผลสรุปการชันสูตรศพ ดังนั้น ทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับการเสียชีวิตของเลนินก็ยังมีการนำเสนออยู่เรื่อย ๆ ตัวอย่างเช่น การวินิจฉัยหลังการเสียชีวิตโดยจิตแพทย์ 2 คนและนักประสาทวิทยา 1 คน ที่มีรายงานลงตีพิมพ์ในวารสารประสาทวิทยาของยุโรป อ้างว่าเลนินเสียชีวิตจากโรคซิฟิลิส
 
ในปี [[พ.ศ. 2466]] เลนินได้รับการรักษาจากแพทย์ด้วยตัวยาซัลวาซาน ที่เป็นตัวยาเดียวในสมัยนั้นที่ใช้รักษาโรคซิฟิลิส และตัวยาโพแตสเซียมไอโอดีน ที่เป็นวิธีปฏิบัติในการรักษาโรคนี้ในขณะนั้นเช่นกัน
เส้น 82 ⟶ 83:
เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กนั้นได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นเมือง "เลนินกราด" เพื่อเป็นเกียรติแก่เลนิน เมืองนี้ยังคงชื่อเลนินกราดไว้จนกระทั่งการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี [[พ.ศ. 2534]] จึงเปลี่ยนชื่อกลับเป็นเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
 
หลังจากที่เลนินมีอาการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมองครั้งแรก เลนินได้เขียนงานหลายฉบับที่กำหนดแนวทางของรัฐบาล ที่มีชื่อเสียงที่สุดในบรรดางานเหล่านี้ คือ พันธสัญญาของเลนิน ส่วนหนึ่งของงานชิ้นนี้ได้วิจารณ์สมาชิกระดับสูงของ[[พรรคคอมมิวนิสต์]] เช่น [[เลออน ทรอตสกี|ลีออน ทรอตสกี้]] และ[[โจเซฟ สตาลิน]] สำหรับสตาลิน ผู้ที่ได้เป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ตั้งแต่เดือนเมษายน [[พ.ศ. 2465]] เลนินกล่าวว่า เขามี “อำนาจล้นเหลือที่รวมอยู่ในมือของเขา” และแนะนำให้ “สหายจงคิดหาวิธีทำให้สตาลินพ้นจากตำแหน่งนั้น” ภรรยาของเลนินได้ค้นพบงานชิ้นนี้ในห้องทำงานของเลนิน และอ่านให้คณะกรรมการกลางของพรรคฟัง ส่วนหนึ่งของคณะกรรมการฟัง เชื่อ แต่ไม่ได้ซึมซับคำพูดเหล่านี้เอาไว้ ทำให้การวิจารณ์ภายในพรรคครั้งนี้ ไม่ได้เปิดเผยออกมากว้างขวางนัก
 
ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1920 (ประมาณ [[พ.ศ. 2464]]- [[พ.ศ. 2469]]) การเคลื่อนไหวเกี่ยวกับลัทธิพลังจักรวาลในรัสเซียค่อนข้างเป็นที่นิยม ทำให้มีความพยายามที่จะแช่แข็งร่างของเลนินไว้ เพื่อจะทำให้เขาฟื้นคืนชีพขึ้นมาในอนาคต อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นได้รับการซื้อเข้ามาในรัสเซีย แต่ด้วยเหตุผลหลายประการทำให้แผนนี้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ โดยร่างของเลนินได้ถูกนำไปดอง และตั้งไว้ในอนุสาวรีย์เลนินในกรุง[[มอสโก]]