ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุลต่านสุลัยมาน ชาห์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Anggorn1 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 66:
 
สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมครองกรุงศรีอยุธยาอยู่ 10 ปี ก็สวรรคต ระหว่างนี้กรุงศรีอยุธยาเกิดเหตุการณ์ยุ่งเหยิงด้วยเรื่องแย่งชิงราชสมบัติ
พระราชโอรสของพระเจ้าทรงธรรมยังเล็กๆ สององค์ขึ้นครองราชย์ต่อองค์ใหญ่ ครองอยู่ 1 ปี 7 เดือน องค์เล็กครองอยู่ 6 เดือน ก็โดนเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ จับประหาร แล้วขึ้นครองราชย์เอง ทรงนามว่าสมเด็จพระเจ้าปราสตอนนี้แหละที่ปราสาททอง ชาวต่างชาติทั้งหลายทั้งปวง รวมทั้งหัวเมืองปักษ์ใต้ (หรือปากใต้) พากันแข็งเมือง เพราะส่วนมากเห็นว่า พระเจ้าแผ่นดินโหดร้ายปราศจากศีลธรรม ชาวต่างชาตินั้นก็มี ยามาดะ ชาวญี่ปุ่น ซึ่งในสมัยพระเจ้าทรงธรรมได้เป็นออกญาเสนาภิมุข รวมทั้งสุลัยมานข้าหลวงใหญ่เมืองพัพัทลุง ในที่นี้น่าตั้งข้อสังเกตว่า พระเจ้าทรงธรรมนั้นคงจะ ‘ทรงธรรม’ จริงๆ ตลอดเวลาที่ขึ้นครองราชย์ 26 ปี เพราะดูจะมีคนรักภักดี และซื่อสัตย์ด้วยกันมาก ทั้งๆ ที่ตามพระราชประวัติเคยบวชเป็นพระพิมลธรรมแล้วกบฏจับพระเจ้าศรีเสาวภาคย์ พระราชโอรสพระเอกาทศรฐ ประหารเสีย เมื่อครองราชย์ได้เพียง 1 ปี 2 เดือนเท่านั้นเ
 
กลับมาที่สุลัยมานประกาศแข็งเมืองต่อพระเจ้าปราสาททอง และไม่ขึ้นต่อนครศรีธรรมราชเมืองเอกต่อไป สถาปนาเมืองพัทลุงเป็นรัฐสุลต่านดังนั้น ผู้คนจึงเรียกสุลัยมานว่า สุลต่านสุลัยมาน เพราะปกครองรัฐอยู่ถึง 26 ปี ตลอดระยะเวลาที่พระเจ้าปราสาททองครองราชย์อยู่ โดยทางกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าปราสาททอง ส่งกองทัพมาปราบหลายครั้งก็สู้ไม่ได้พ่ายแพ้ไปทุกครั้ง กลายเป็นไม้เบื่อไม้เมากันเรื่อยมาขณะเป็นสุลต่าน สุลต่านสุลัยมานได้ให้พระอนุชา คือฟาราซี ปลัดเมืองพัทลุง ไปสร้างเมืองใหม่ที่เขาไชยบุรี (พัทลุงปัจจุบันนี้) ส่วนรัฐสุลต่านละความสำคัญจากเมืองพัทลุงท่าที่สทิงพระ มาปักหลักอยู่หัวเขาแดง ครอบครองไปถึงเมืองเก่าสิงขรา หรือสิงขรานัครัม (คือสงขลา) รวมเป็นรัฐสุลต่านด้วยสุลต่านสุลัยมาน ครองรัฐอยู่จนถึงรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระราชโอรสในพระเจ้าปราสาททอง พระโอรสองค์ใหญ่ของสุลต่าน คือ มุสตาฟา ได้เป็นสุลต่านต่อมาจนถึง พ.ศ. 2223 ปลายสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ก่อนเสด็จสวรรคตเพียงปีเดียว รัฐสุลต่านจึงยอมแพ้ (ว่ากันว่าเพราะกลอุบายของพระยารามเดโช เป็นมุสลิมนิกายสุหนี่ หรือสุนี เช่นเดียวกับพวกสุลต่านสุลัยมานซึ่งสมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงส่งมาครองนครศรีธรรมราชเพื่อปราบรัฐสุลต่านเมืองพัทลุง หัวเขาแดงที่มีป้อมแข็งแรงถูกทำลายไปมาก เมืองพัทลุงจึงย้ายไปตั้งที่เขาไชยบุรี ซึ่งฟาราซีหรือเพราซี พระอนุชาสุลต่านสุลัยมานไปสร้างไว้ตามคำสั่งของสุลต่านสุลัยมาน สมเด็จพระนารายณ์ฯ จึงโปรดให้ฟาราซี ดำรงตำแหน่งข้าหลวงใหญ่ผู้สำเร็จราชการ เมืองพัทลุงต่อไป ฟาราซี ถึงแก่อสัญกรรม พ.ศ. 2225 ปีเดียวกับสมเด็จพระนารายณ์ฯ สวรรคต ต่อจากนั้น หากมีเชื้อสายสุลต่านสุลัยมาน รับราชการเป็นผู้ใหญ่พอที่จะดำรงตำแหน่งข้าหลวงใหญ่ หรือเจ้าเมืองได้ ก็มักจะโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนี้ห็นได้ว่าเห็นได้ว่า ตั้งแต่เมืองพัทลุงตั้งที่เขาไชยบุรี ผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าเมือง 8 คน มีเชื้อสายสุลต่านสุลัยมานถึง 4 คน จนถึง พ.ศ. 2310 เจ้าเมืองพัทลุงคนสุดท้ายก่อนกรุงศรีอยุธยาแตก คือพระภักดีเสนา (แขก) เรียกกันว่า ‘แขก’ คงหมายถึงเชื้อสายสุลต่านสุลัยมานผู้เป็นแขกชวานั่นเอง
 
พระภักดีเสนา (แขก) เป็นเหลน (ปู่ทวด) ของสุลต่านสุลัยมาน เป็นลูกพี่ลูกน้องกับพระยาพัทลุง (ขุน หรือ ขุนคางเหล็ก) ได้เป็นเจ้าเมืองพัทลุง ตั้งแต่ พ.ศ. [tel:2306-2310 2306-2310]) เมื่อกรุงศรีอยุธยาถูกพม่าล้อม ถูกเรียกให้ไปรบพม่าป้องกันกรุง ถึงแก่ความตายในการรบ ส่วนพระยาพัทลุง (ขุน) เป็นบุตรชายของพระยาราชบังสัน (ตะตา) พระยาราชบังสัน (ตะตา) เป็นเจ้าเมืองพัทลุงคนที่ 7 พระยาราชบังสัน (ตะตา) เป็นบุตรชายของพระยาจักรีเจ้าเมืองพัทลุง (ดะโต๊ะ ฮูเซน) เจ้าเมืองพัทลุง คนที่ 3 ดะโต๊ะ ฮูเซน เป็นบุตรชายของสุลต่านสุลัยพระยาพัทลุง (ขุน) นั้น มีประวัติว่าเกิดและเติบโตในกรุงศรีอยุธยา จึงพูดภาษาปักษ์ใต้ไม่เป็น เข้ารับราชการเป็นมหาดเล็ก เด็กชาในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่ออายุ 14 ปี ต่อมาเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกได้เข้าถวายตัวช่วยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นครั้งแรก ตามเสด็จลงไปปราบก๊กเจ้านครศรีธรรมราช พ.ศ. 2312 ขณะนั้นอายุ 35 ปี (เกิด พ.ศ. 2277) จึงได้เป็นพระยาภักดีนุชิต นุชิตสิทธิสงคราม ผู้ช่วยราชการนครศรีธรรมราช ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2315 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดฯให้ไปเป็นเจ้าเมืองพัทลุง) ในราชทินนาม พระยาแก้วโกรพพิชัยฯ เช่นเดียวกับบิดา พระยาราชบังสัน (ตะตา) ซึ่งมีราชทินนามว่า พระยาแก้วโกรพพิชัยฯ เช่นกัน ทว่าสร้อยต่างกัน
 
ภายหลังกรุงศรีอยุธยาแตก พระยาพัทลุง (ขุน) กับพี่น้องญาติๆ ได้พากันอพยพมาอยู่หมู่บ้านบริเวณใกล้ๆ วัดหนัง (วัดราชสิทธาราม) ไม่ห่างไกลกันนักกับพวกญาติๆ เชื้อสายเดียวกัน ซึ่งตั้งเคหสถานอยู่ใกล้วัดหงส์รัตนาราม ในคลองบางกอกใหญ่ หรือคลองบางหลวง พระยาพัทลุง (ขุน) ได้คุณหญิงแป้น น้องร่วมบิดามารดากับท้าวทรงกันดาล(ทองมอญ)เป็นภรรยา สกุลแขกเชื้อสายสุลต่านสุลัยมาน สกุลมอญ สกุลไทยชาวสวนบางเชือกหนัง จึงพัลพันพัวพันไปมาหาสู่สนิทคุ้นเคยกัน
 
ผู้สืบตระกูล [[พระยาพัทลุง (ขุน)]] ได้รับพระราชทานนามสกุลในรัชกาลที่ 6 ว่า ‘[[ณ พัทลุง]]’