→พระราชประวัติ
แอนเดอร์สัน (คุย | ส่วนร่วม) ล (แอนเดอร์สัน ย้ายหน้า สุลต่านอะห์มูอัดซัมชาห์ อาหมัดแห่งปะหัง ไปยัง สุลต่านอะฮ์มัด มูอัซซัม: Ahmad Muʽazzam) |
|||
== พระราชประวัติ ==
แต่เดิมนั้น ปะหังเป็นเพียงส่วนหนึ่งของ[[ยะโฮร์-เรียว]] แต่เมื่อเกิดการแก่งแย่งอำนาจกันภายใน ทำให้เบนดาหะราอาลี บิดาของหวันอาหมัดตั้งตัวเป็นอิสระใน พ.ศ. 2396 เมื่อเบนดาหะราอาลีถึงแก่อนิจกรรมใน พ.ศ. 2400 ได้เกิดสงครามกลางเมืองระหว่างมูตาฮีร์กับหวันอาหมัด โดยฝ่ายของ
หวันอาหมัดปกครองปะหังจนถึง พ.ศ. 2424 ก็สถาปนาตนเองเป็น[[สุลต่าน]]แห่งรัฐปะหัง อังกฤษพยายามเข้ามาเป็นมิตรและแทรกแซงกิจการภายในของปะหังแต่สุลต่านอาหมัดทรงบ่ายเบี่ยงไว้ได้ จนกระทั่งอังกฤษเริ่มดำเนินนโยบายแทรกแซงกิจการภายในของรัฐมลายูอย่างจริงจัง จึงพยายามเข้าไปแทรกแซงในรัฐปะหังอีก
ใน พ.ศ. 2425 มันซูร์ น้องชายของสุลต่านอาหมัดเกิดวิวาทกับสุลต่านอาหมัด มันซูร์หลบหนีไป[[รัฐยะโฮร์]]และคิดรวบรวมไพร่พลมาแย่งชิงอำนาจ ใน พ.ศ. 2427 อังกฤษเข้ามาไกล่เกลี่ย และพยายามเกลี้ยกล่อมให้สุลต่านอาหมัดตกลงทำสนธิสัญญากับอังกฤษแต่กว่าจะสำเร็จก็ล่วงเลยไปถึง พ.ศ. 2430 โดยต้องให้[[สุลต่านอาบูบาการ์แห่งยะโฮร์]]มาเกลี้ยกล่อม โดยข้อความในสนธิสัญญานั้น ระบุให้ปะหังเป็นรัฐที่มีอธิปไตย และค้ำประกันการสืบราชบัลลังก์ให้ตวนกูมะห์มูด โอรสของสุลต่านอาหมัด ต่อมา ใน พ.ศ. 2431 อังกฤษบีบบังคับปะหังอย่างแข็งกร่าวมากขึ้น จนต้องยอมให้มีผู้แทนอังกฤษมาประจำที่ปะหัง มีอำนาจดูแลกิจการภายในและต่างประเทศของปะหัง
หลังลงนามในสนธิสัญญาแล้ว สุลต่านอาหมัดตั้งให้ตวนกูมะห์มูดเป็นผู้สำเร็จราชการ พระองค์เสด็จไปอยู่[[เกาะตาวาร์]] เมื่ออังกฤษเข้ามาเปลี่ยนแปลงระบบราชการ ทำให้ขุนนางท้องถิ่นเสียอำนาจ จึงเกิดการต่อต้านที่เรียกว่า[[กบฏบาฮามัน]]หรือสงครามปะหังใน พ.ศ. 2434 ในช่วงแรก สุลต่านอาหมัดเห็นด้วยกับฝ่ายกบฏ แต่เมื่อถูกบีบจากอังกฤษมากเข้า พระองค์จำต้องแสดงพระองค์อยู่ฝ่ายตรงข้ามกับกลุ่มกบฏ อังกฤษนำทหารชาวสิกข์จาก[[รัฐเซอลาโงร์]]เข้ามาปราบกบฏใน พ.ศ. 2435 ผู้นำกบฏหนีไปกลันตันและตรังกานูซึ่งขณะนั้นยังเป็นประเทศราชของสยาม อังกฤษพยายามเข้ามาจับผู้นำฝ่ายกบฏที่กลันตัน สยามจึงเข้าแทรกแซง โดย
ต่อมาใน พ.ศ. 2436 ปะหังก็ถูกรวมเข้ากับ[[สหพันธรัฐมลายา]]ที่ประกอบด้วย[[ปะหัง]] [[เปรัก]] เซอลาโงร์ และ[[เนอเกอรีเซิมบีลัน]] สุลต่านอาหมัดไม่มีทางเลือก นอกจากต้องยอมรับเพื่อแลกกับการค้ำประกันราชบัลลังก์ให้พระโอรสของพระองค์ พระองค์สิ้นพระชนม์ใน พ.ศ. 2460 รวมพระชนมายุได้ 81 พรรษา
|